จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Greece, Spain & Ireland by LGT.

   The ties that bind the Eurozone’s tottering banking system to its weakest governments are growing ever-tighter. That’s because the Spanish government is attempting to give Bankia, its third largest bank, EUR19bn in government bonds to help shore up its capital base. Spanish banks tumbled on Monday, the 10-year Spanish government bond yield gave up +16bps to 6.42% (for fear of missing their fiscal targets) while the EUR-USD fell back too. It is clear that the region would be clearly better off if its banks owned no government debt however.
But they do. In fact, the banks are the biggest owners of government debt (accentuated by the ECB’s LTRO) and governments are slowly becoming the biggest owners of the banks.
   Spanish PM Rajoy claims that Spain is not like Greece. And it is not. At this stage, Spain is still in a position where it can give its banks its own debt in an effort to restore confidence. Greece is currently locked out of debt markets and has to rely on the rest of the Eurozone and bonds issued by the European Financial Stability Fund. But with Spanish sovereigns yielding ~6.42% (record spread of ~514bps over German Bunds) and edging perilously close to the 7% danger level, it may only be a matter of time before Spain follows suit.

• We see a lot of similarities between Ireland and Spain where banking insolvency becomes a government one as the latter agrees to bail out the former. Initially, their problems were not one of government debt but one of household debt. Since Ireland joined the Eurozone and its monetary union, household debt to income ratio has risen dramatically from 93% to 220% (there are similar trends in Spain too). But it was only when we saw government intervened in a heavily indebted banking system (the Irish government kept Anglo Irish bank from insolvency by giving it a promissory note) did the situation turn south for the sovereign. Bond investors largely shut off Ireland’s access to markets, not because it threatened to default but because it was determined not to.
   Spain and its banks seem to be in a similar position today to what Ireland was in a couple of years ago. The deteriorating environment for residential mortgages in Spain is somethings which still needs to be – first – acknowledged and then – secondly - addressed. Recall that Bankia was given a clean bill of health only three weeks ago. 


         Delinquencies on Spanish mortgages are still less than 3% and well below the peak in Ireland or the USA. This is a remarkable outcome for a country which has more than 25% of its workers out of work (although part of this may be due to Spain’s relatively large underground economy where the official jobless may still be earning an income). So there is clear denial amongst the Spanish banks and no doubt, why the government has asked them to increase provisioning against those mortgages which are underwater. Banks are reluctant  to do so given that they need additional recapitalisation, which is next to impossible under current market conditions……and reason why the government is now providing capital….and reason why the government debt-to-GDP ratio is heading for 100%. 

        What happens now? Well, we understand there is enough money from IMF, EFSF and ESM (European Stability Mechanism) to bail-out Spain if need be. But there is currently not enough firepower to bail out both Italy and Spain should contagion take effect. That’s why we believe the ECB will react with a -50bps rate cut. The market will rise initially but will soon realise this is lame before demanding something more meaningful; that might include buying EU peripheral sovereign bonds in the secondary market but until the ECB explicitly targets a cap of say 6%, will equity investors begin to breathe a little easier. 

    • The Irish voters will vote (Thursday) on whether to accept the EU’s new ‘fiscal compact‘. There is a critical article of current EU policy of austerity and why voting ‘yes ’ will condemn Ireland to more economic hardship. This is the fourth year of austerity in Ireland and it is clear the economy is weakening further, says economist, David McWilliams (source: FT). Albert Einstein once said, ‘the definition of insanity is doing the same thing over and over again and expecting different results.’ Austerity does not work in restoring public finances to more sustainable levels without growth to counter-balance. 

         Irish balance sheets are broken; they own houses, land and apartments on the asset side and debts on the other - the former is falling in value and the debt side is fixed. So while incomes fall, the debt burden becomes more problematic for Irish households, the banks they borrow from and ultimately the government, who keeps them alive. Maybe EU policy-makers will work something out before it reaches Spain (if it has not done already). Still, it begs the question; if Ireland is often seen as the poster boy of EU austerity, why are Irish CDS spreads trading where they are and why are the sovereign bonds still at ~7%? EU leaders might be impressed with themselves but the bond market thinks austerity is a dumb deal. 


ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่ 
https://www.facebook.com/VI.Kitichai , http://twitter.com/value_talk , http://www.youtube.com/user/wittayu9 และ http://kitichai1.blogspot.com

หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน
     
สนใจซื้ออสังหาเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ลองเข้า http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty

กิติชัย เตชะงามเลิศ

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หากกรีซจะต้องออกจากกลุ่มยูโรโซน ?


§  จำนวนนักวิเคราะห์ที่ทำนายว่ากรีซจะต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนมีมากขึ้นเมื่อผู้นำประเทศในกลุ่ม EU ยังคงประกาศความต้องการให้กรีซทำตามแผนรัดเข็มขัดต่อไป

§  Willem Buiter หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ของ Citi’s ชี้ว่า หากกรีซจะออกจากกลุ่มยูโรโซน กรีซต้องออกกฏหมายใหม่เรื่องสกุลเงินที่จะใช้และอัตราแลกเปลี่ยนเสียก่อน นอกจากนี้ กรีซจะต้องออกกฏหมายเพื่อป้องกันมิให้เงินฝากไหลออกจากธนาคารต่างๆ ในกรีซ อันจะทำให้เกิดหายนะในระบบการเงิน ทั้งนี้ Financial Times รายงานว่า เฉพาะ 2 วันแรกของสัปดาห์ก่อน มีเงินฝากไหลออกไปจากธนาคารต่างๆ ในกรีซไปแล้วถึง 1,200 ล้านยูโร ซึ่ง Willem Buiter คาดว่า กรีซคงจะออกมาตรการควบคุมเงินทุนเข้าออกที่เข้มงวด (Capital Control) แม้จะขัดต่อกฏ Treaty (Art. 63) ที่กลุ่มสมาชิกยูโรโซนกำหนดก็ตาม

§  หากกรีซใช้เงินตราของตนเอง ตลาดก็ยังไม่อาจให้ความเชื่อมั่นในสกุลเงินใหม่ของกรีซได้ ดังนั้น จึงเป็นไปได้สูงที่ธุรกิจกรีซที่กระทำผ่านตลาดมืดเพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษีให้รัฐตามที่รัฐบาลกรีซเคยประมาณการว่ามีถึง 25% ของธุรกิจโดยรวมนั้นจะยิ่งเพิ่มขึ้น และจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินใหม่ในตลาดมืดจะยิ่งแตกต่างจากที่ธนาคารกลางของกรีซกำหนด

§  นอกจากนี้ ในขณะที่ใช้สกุลเงินใหม่ (เช่น กลับไปใช้ Drachma เหมือนก่อน) และลดค่า Drachma ลงไปเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลกในระยะยาว แต่ก็ยากที่กรีซจะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดในระยะสั้นได้ อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้น และทำให้ชาวกรีกต้องปรับมาตรฐานการดำรงชีวิตลงเมื่อเผชิญกับราคาสินค้าและบริการที่จะพุ่งขึ้นสูง จนทำให้เงินที่ออมมาชั่วชีวิต (หากมีเหลืออยู่) แทบจะไร้ค่าไปในชั่วข้ามคืน

§  กุญแจสำคัญในการควบคุมสถานการณ์ช่วงที่เงิน Drachma จะดิ่งค่าลงคือ ต้องบริหารจัดการปริมาณเงินอย่างระมัดระวังที่สุด แต่การพิมพ์เงินออกมาช่วยอัดฉีดระบบเพื่อประคองให้ทุกอย่างยังดำเนินไปได้(เช่น ยังจ่ายเงินเดือนข้าราชการเพื่อจะได้ให้บริการสาธารณชนตามปกติได้)  ก็จะนำไปสูภาวะเงินเฟ้อรุนแรงได้

§  ความคลั่งแค้นของฝูงชนที่ทุกข์ยากมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากกรีซออกจากยูโรโซนแล้วเศรษฐกิจในระยะสั้นจะดิ่งเหวลง อาจนำไปสู่สงครามกลางเมือง ทำให้เกิดรัฐบาลใหม่จากกองทัพที่ต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์ 

§  เนื่องจากสหภาพการเงินของยุโรป (European Monetary Union) ถูกออกแบบมาให้เป็นถาวร จึงไม่มีการเตรียมกระบวนการไว้รองรับหากมีประเทศสมาชิกใดจะออกไปจากกลุ่ม ดังนั้น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งมีภาระกิจในการรักษาระดับค่าเงินยูโรที่ใช้ร่วมกันในทุกประเทศสมาชิกให้มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ จึงจะตกอยู่ในภาวะยากลำบากที่สุดหลังจากกรีซออกไปจากกลุ่ม

§  ที่น่ากังวลก็คือ เงินกู้ที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และแบงค์ชาติต่างๆ ของประเทศสมาชิก ได้เคยปล่อยกู้ไปช่วยกรีซนั้นมีไม่น้อย และจะทยอยกันครบกำหนด ซึ่งเป็นไปได้สูงมากที่กรีซจะปฏิเสธที่จะจ่าย หรือต้องลดหนี้ให้ และธนาคารกลางต่างๆ เหล่านี้อาจต้องขาดทุนจนทำให้ฐานะการเงินสั่นคลอนและขาดความน่าเชื่อถือได้ อนึ่ง BNP Paribas รายงานว่า ปริมาณเงินกู้ที่ปล่อยให้กรีซไปแล้วในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะครบกำหนดในปีนี้จนถึงปี 2037 มีรวมกันประมาณ 56,700 ล้านยูโร โดยจะทยอยครบกำหนดในปีนี้กว่า 11,000 ล้านยูโร

§  ในภาพรวม UBS เคยคาดไว้ในปีก่อนว่า GDP ของกรีซในปีแรกจะดิ่งลง 50% หากออกจากกลุ่มยูโรโซน ทำให้เกิดกิจการที่ล้มละลายจำนวนมาก ระบบการเงินและธนาคารจะทรุดตัวลงอย่างหนักและควบคุมได้ยาก การทำการค้าหว่างประเทศก็จะยากลำบากในช่วงแรกด้วย ทั้งนี้ UBS คาดว่า ต้นทุนในการออกจากกลุ่มยูโรจะอยู่ที่ 9,500 ถึง 11,500 ยูโรต่อประชากรหนึ่งคนของประเทศที่ออกจากกลุ่มในปีแรก  และเป็น 3,000 ถึง 4,000 ยูโรต่อหัวสำหรับปีต่อๆ ไป

§  ขณะนี้จำนวนนักวิเคราะห์ นักลงทุน และนักการเมืองที่เชื่อว่ากรีซจะต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้มีเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งกรีซยิ่งไม่มีทางกู้เงินใครมาใช้หนี้ได้ไปอีกนาน ดังนั้น ทั้งธนาคารกลางธนาคารเอกชน รวมถึงผู้กู้ทุกราย ที่ปล่อยกู้ให้กรีซจะต้องเข้ามาสู่โหมดการเจรจาประนอมหนี้ จัดโครงสร้างหนี้(ลดหนี้ ลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาจ่ายคืนหนี้ออกไป) กันอีก 

§  แต่ผลกระทบจะไม่หยุดอยู่แค่กรีซเท่านั้น เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการแพร่เชื้อของความหวั่นกลัวไปทั่วยุโรปซึ่งจะเกิดผลร้ายต่อเสถียรภาพของธนาคารกับรัฐบาล และจะส่งผลกระทบต่อสเปน กับ โปรตุเกส เพราะจะยิ่งหาเงินกู้มาซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ตนเองจะออกให้ประมูลยากขึ้น เนื่องจากผู้ลงทุนกังวลว่า 2 ประเทศนี้จะเป็นอย่างกรีซ ดังนั้น หากต้องรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น ทั้งสเปน และ โปรตุเกส ก็ต้องจ่ายผลตอบแทนพันธบัตรให้สูงขึ้นจนผู้ซื้อพอใจ ซึ่งก็ไม่ดีต่อฐานะการเงินของประเทศทั้ง 2

§  นักวิเคราะห์ของ Societe Generale ทำนายว่า ถ้ากรีซออกจาก EU จะทำให้เงินฝากหนีออกจากธนาคารในสเปนกับอิตาลี 20% ถึง 30% ถ้า ECB ไม่เข้าไปช่วยอย่างจริงจัง ทั้งนี้Mujtaba Rahman (Eurasia Group)  แนะนำให้ ECB ใช้โอกาสที่กรีซจะออกจากยูโรโซนในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเงินของกลุ่มยูโรโซนให้มั่งคงยั่งยืน (ทั้งที่ควรทำมานานแล้วแต่ไม่ได้ทำ) และควรช่วยประคองระบบธนาคารของกรีซไว้ไม่ให้พังทลายลง พร้อมทั้งประกาศว่า ECB รับรองว่าจะเป็นผู้ให้กรีซกู้หากกรีซหาแหล่งเงินกู้ไม่ได้แล้ว (The lender of the last resource) ทั้งนี้ เพื่อมิให้ระบบการเงินธนาคารของกรีซล้มลงจนระบาดไปทั่วยุโรป 

§  ในระยะสั้น เงินยูโรน่าจะลดค่าลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก เช่น อเมริกันดอลลาร์ สวิสฟรังซ์ เยน ปอนด์เสตอลิงก์ เพราะคนจะกลัวผลกระทบจากการเกิด Grexit  ว่าจะลามไปที่อื่นๆ

§  Nouriel Rubini ระบุว่า การขาดทุนของธนาคารในยุโรปจะอยู่ในวิสัยที่จัดการได้ถ้ามีการเพิ่มทุนอย่างจริงจัง แต่การมิให้ระบบการเงินธนาคารของกรีซพังทะลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษเข้ามาช่วย เช่น การควบคุมเงินทุนไหลเข้าออก (Capital Control) หรือให้ธนาคารกรีซหยุดทำการระยะหนึ่งเป็นการชั่วคราว โดยกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินของยุโรป (EFSF/ESM) ควรจะมีบทบาทในเรื่องนี้ด้วยการอัดฉีดเงินทุนให้แบงค์ในกรีซ ซึ่งเท่ากับชาวยุโรปจะเป็นเจ้าของกิจการธนาคารของกรีซในทางอ้อม เป็นการชดเชยในการที่ต้องขาดทุนเพราะรัฐบาลของเขาเข้าไปอุ้มกรีซด้วยการปล่อยกู้ซื้อพันธบัตรกรีซในช่วงที่ผ่านมา และขาดทุนจากการที่กรีซออกจากยูโรโซนหันไปใช้เงินของตนเองแทนเงินยูโร  

§  อย่างไรก็ตาม Barclays วิเคราะห์ว่า ต้นทุนในการออกจากกลุ่มยูโรของกรีซจะแพงเกินผลดีที่จะได้รับเป็นอย่างมาก เว้นแต่กลุ่มยูโรโซนจะใช้โอกาสนี้เร่งปฏิรูปโครงสร้างการเงินของกลุ่ม แต่ Karel De Gucht (Belgian Trade Commissioner ของ EU) บอกว่าทั้ง European Commission กับ ECB จะจัดการได้เพราะมันไม่เสี่ยงเท่ากับจะเกิดขึ้นเมื่อ 1-1.5 ปีที่แล้ว  และมั่นใจว่าจะไม่ลามไปที่อื่น ดังนั้น การออกจากยูโรโซนของกรีซจึงจะไม่ทำให้กลุ่ม EU แตกสลาย ซึ่งสอดคล้องกับที่ รมต.คลังเยอรมนี กล่าวว่า มีการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และมั่นใจว่าสเปนจะรับมือเรื่องธนาคารของตนเองที่มีปัญหาอยู่ได้

§  Bank of America คาดว่า ราคาน้ำมันดิบจะลดลงสู่ระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากปัจจุบันที่ 107 ดอลลาร์ ถ้ากรีซออกจากกลุ่มยูโร ในขณะที่ Citi คาดว่า ECB อาจต้องใช้เงินอีก 800,000 ล้านยูโรเพื่อช่วยพยุงระบบธนาคารในกลุ่มลูกหมูที่เหลือ

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ยัยเอเธนส์ สกุลกา จะต้องโดนเฉดหัวออกไปจาก

สกุลหงส์ ณ ยูโร (หาอ่านบทความเดิมๆ ที่เขียนเกียวกับเรื่องนี้ประกอบด้วยค่ะ)

เกิดอะไรขึ้นกับกรีซและยุโรป ?

FT Alphaville เขียนสรุปว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ที่กรีซเรียกว่า Bank Jogซึ่งหมายถึงผู้ฝากเงินกรีซกำลังเอาเงินฝาก (ซึ่งก็เป็นสกุลยูโรนั่นแหละ) ออกจากแบงค์ต่างๆ อย่างรวดเร็ว แต่ไม่เร็วมากพอที่จะเรียกว่า Bank Run”  แค่จ๊อกกิ้ง ยังไม่ใช่รันนิ่ง

เออ  แล้วเจ้ายูโรที่ใช้ร่วมกันนี่น่ะ มันมาจากไหนล่ะ

โดยปกติ ธนาคารต่างๆ จะกู้ยูโรมาจากธนาคารกลางกรีซ (ไม่ได้เสกได้เองอย่างของ ลุงเบน เบอร์นานเก้ ที่แบงค์ชาติอเมริกัน) ซึ่งธนาคารกลางกรีซก็ต้องไปกู้มาจากธนาคารกลางยุโรป ที่เรียกย่อว่า ECB อีกต่อหนึ่ง

น้า Paul Krugman มีคำถามที่ดีในเรื่องนี้

น้าพอล  ถามว่า ECB จะเต็มใจหรือทำใจให้ธนาคารกลางของกรีซกู้ได้อีกนานแค่ไหนล่ะ  จะยอมให้กู้มากพอที่จะพยุงธนาคารทุกธนาคารทั้งระบบในกรีซได้ไหมล่ะ  ทั้งๆ ที่รู้ว่า Sector ธนาคารของกรีก จะล้มละลายไปแทบจะในทันทีที่กรีซผิดนัดชำระหนี้ (Default)

และหาก ECB ไม่ให้ธนาคารกลางของกรีซกู้ ระบบธนาคารกรีซก็จะหยุดเดินทันที ซึ่งก็ยากที่จะนึกภาพออกว่าจะกลับมาเดินต่อไปยังไง นอกจากเลิกใช้สกุลยูโรแล้วหันไปใช้สกุลอื่นแทน

อืม ..... ถ้าเป็นอย่างนี้ ผู้ฝากเงินในประเทศอื่นๆ ในยุโรปก็จะเริ่มอาการวิ่งเหยาะๆ  หรือ Bank Jog ในประเทศตนเช่นกัน

BBC รายงานว่า ให้ระวังเรื่องคนแห่ถอนเงินฝากถ้ากรีซไม่มีเงินจ่ายคืนหนี้ทันเวลา (Default)

นั่นละ สัญญาณกระตุ้นที่ BBC เรียกว่าเป็น Political Trigger ให้กรีซออกจากกลุ่มยูโร

แต่อย่าลืมว่ามนุษย์พันธุ์ผู้ฝากเงินมักมีสัญชาตญาณเอาตัวรอดได้อย่างน่าพิศวง เพียงแค่ข่าวที่เห็นกันทุกนาที มันก็มากพอที่จะเร่งปฏิกิริยาให้เกิดได้ก่อนจะถึงวันนั้น

นั่งดูหนังในโรงหนัง เห็นควันโฉ่อยู่มุมนึง ใครจะนั่งรอ ?

ส่วนนึงจะเดินเร็วๆ หันไปมองควันไปด้วย แบบ Bank Jog  แล้วก็วิ่งดิ เมื่อควันมาคุขึ้นทุกที 
ใครจะนั่งพับเพียบรอจนเปลวเพลิงโหมกระหน่ำ นอกจากพวก เผาเลย... เพ่น้อง

แต่ตอนนี้ผู้เล่นในตลาดกำลังรอดูเหตุการณ์อย่างอื่น

เหตุการณ์อะไร ?

ก็การที่ผู้ฝากแห่ถอนเงินจากแบงค์ต่างๆ ในกรีซ แล้วเอาไปฝากในแบงค์ประเทศอื่นๆ ของยุโรปไง


BBC บอกว่า ระบบการชำระเงินตามกลไกปกติที่ใช้กันทั่วกลุ่มยูโรโซน เรียกว่า Target 2  จะเป็นสัญญาณกระตุ้นที่เรียกได้ว่าเป็น Economic Trigger ให้กรีซออกจากกลุ่มยูโร

BBC เขาเล่าว่า มันทำงานอย่างนี้นะ

สมมติว่าชาวกรีกคนนึงชื่อ Louk ต้องการส่งเงิน 1000 euros  ในบัญชีของเขาที่กรีซ ไปให้ตา Gomez ในสเปน

ตา Louk ก็เอาเงินใส่บัญชีเงินฝากตัวเองที่ธนาคาร A 1000 euros (หรือมีเงินอยู่ในนั้นแล้ว แต่ไปแจ้งว่าจะโอนชำระออกไป 1000 euros ให้ตา Gomez ในซึ่งมีบัญชีกับแบงค์ B ในสเปน)

Bank A ก็จะแจ้งแบงค์ชาติกรีซ (ธนาคารกลางของกรีซ) ว่าเงินจำนวนนี้ชำระโดยผ่านระบบ Target 2

อย่ามาถามว่า Target 2 คืออะไรเป็นอันขาด เพราะไม่รู้เหมือนกันแหละ เอาแค่อ่าน Concept ให้เข้าใจภาพกว้างเข้าไว้

บัญชีเงินสำรองของ Bank A ที่มีกับแบงค์ชาติกรีซจะมีเงิน 1000 euros ขึ้นมาจากเงินที่ตา Louk ชำระ เพื่อให้เอาไปไว้ที่ธนาคารสเปน

ที่นี้ แบงค์ชาติกรีซ ก็จะต้องจ่ายเจ้า 1000 euros ให้กับระบบ Eurosystem ของแบงค์ชาติต่างๆ ในกลุ่มยูโร 1000 euros ซึ่งแบงค์ชาติกรีซจะลงบัญชีเป็นหนี้ระบบ Eurosystem เอาไว้  ส่วนแบงค์ชาติสเปนซึ่งเป็นผู้รับก็จะเป็นเจ้าหนี้ 1000 euros ของระบบ Eurosystem  เนื่องจากการทำธุรกรรมไม่ทำตรงๆ ระหว่างสเปนกับกรีซ แต่ต้องผ่านระบบกลางของกลุ่มสมาชิกยูโรโซนที่เรียกว่า Eurosystem ของแบงค์ชาติต่างๆ ในกลุ่ม

นี่ก็เพราะใช้สกุลเงินยูโรเดียวกัน

แล้วแบงค์ชาติสเปน ก็จะเพิ่ม 1000 euros ให้กับแบงค์ B ซึ่งเป็นแบงค์ในสเปนแห่งหนึ่งที่อีตาผู้รับโอนชื่อ Gomez ใช้บัญชีอยู่

ประเด็นก็คือ แบงค์ชาติต่างๆ ที่ว่านั้น ไม่ได้ทำธุรกรรมกันโดยตรง แต่ทำธุรกรรมทั้ง 2 ด้าน คือเจ้าหนี้และลูกหนี้กับ ทั้งระบบ  ซึ่งหมายถึงตัวเลขเงินในบัญชีของแบงค์ชาติทั้ง 2 แห่งกับระบบกลาง Target 2  จะเปลี่ยนไป

ถ้า Bank A ในเอเธนส์ ไม่มีเงินสำรองที่แบงค์ชาติกรีซพอ  ก็จะต้องยื้มแบงค์ชาติกรีซก่อนใช่ไหม  และแบงค์ชาติกรีซก็ต้องไปยื้มจากธนาคารกลางยุโรปที่เรียกว่า ECB อีกต่อตามระบบไง

ทีนี้ถ้าแบงค์ชาติกรีซรู้ว่าเจ้า Bank A กำลังโดนผู้ฝากถอนเงินออกอย่างรวดเร็วล่ะ

ยังไม่มีปัญหา ยังให้กู้ได้ โดยแบงค์ชาติกรีซไปยืมมาจาก ECB โดยวางหลักประกัน (ที่ด้อยคุณภาพแล้ว ?)  ซึ่ง ECB เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ได้จนถึงเพดานตามกฏที่กำหนด

เรื่องหลักประกันนี่ละที่เป็นประเด็น

แบงค์ชาติกรีซจะได้รับอนุมัติเงินกู้จาก ECB บนหลักประกัน (ที่ด้อยคุณภาพ ?)  ได้จนถึงเพดาน

ถ้าหลักประกันจะเกินเพดานที่กำหนด ก็ต้องขอให้ ECB พิจารณาเพื่อเพิ่มเพดานให้ ซี่งการโหวตของ ECB ก็คือการอนุมัติให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกิดขึ้นได้

แต่ถ้าไม่ผ่านอนุมัติ  Bank A ของกรีซก็จะล้มละลายลงทันที และเป็นจุดกระตุ้นให้เกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายครั้งใหญ่ (ถ้าคนส่วนใหญ่ทำตัวเป็นไทยมุงดูไฟในโรงหนัง ไม่ยอมหนีไฟแต่แรก)

ตอนนั้นละที่แบงค์ชาติกรีซจะต้องออกกฏควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital Control) แล้วทุกคนที่มีเงินยูโรในธนาคารทุกแห่งในกรีซก็จะโดนแช่แข็งเงินในบัญชี 


ทำได้อย่างเดียวคือ นั่งรอ นอนรอ ถ่างตารอดูค่าเงินในบัญชีเงินฝากของตัวเองดิ่งเหว  ตอนที่กรีซออกจากยูโร

ปัจจุบันนี้ มีเงินฝากประมาณ 170,000 ล้านยูโรในแบงค์ต่างๆ ในกรีซ  ถึงแม้ค่าเงินในกรีซจะหดไปสักครึ่งหลังกรีซออกจากยูโร มันก็คงไม่ทำให้ระบบยูโรพังทลายไปได้ เพาะจำนวนเงินมันไม่มาก

เขาว่ากันว่า ที่จริงตอนนี้ถือว่ากรีซ Default แล้วสำหรับหนี้ภาครัฐ และนับตั้งแต่เลือกตั้งใหม่จนถึงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีคนถอนเงินแบบ Bank Jog ไป 700 ล้านยูโร 

แต่แค่ 2 วันแรกของสัปดาห์นี้ มีการถอนเงินออกไป 1,200 ล้านยูโรแล้ว

ที่น่าห่วงก็คือ มันจะลามไปที่ สเปน กับ อิตาลี หรือไม่

2 ประเทศรวมกัน มีเงินฝาก 3 ล้านล้านยูโร มีพันธบัตรรัฐบาลที่ต่างชาติถืออยู่ 800,000 ล้านยูโร มีตราสารหนี้เอกชนที่ต่างชาติถืออีก 600,000 ล้านยูโร  กับมีหุ้นที่ต่างชาติถือครองอยู่อีก 300,000 ล้านยูโร

ผู้ลงทุนต่างชาติใน 2 ประเทศ จะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับข่าวในกรีซ จะกังวลว่าจะลามมายังอิตาลีกับสเปนไหม และจะตัดสินใจอย่างไรกับเงินฝาก และเงินลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่มหาศาลในตลาดทั้ง 2 ประเทศนี้

และสิ่งที่ต่างชาติไม่ชอบเลยก็คือ Capital Control  

หากเขากลัวจะโดนแช่แข็งเงินในอนาคต กลัวรัฐบาลกับแบงค์ชาติอิตาลีและสเปนไม่ให้เขานำออกนอกประเทศ เขาก็จะรีบนำเงินออกเสียแต่ในเร็ววัน ใช่ไหมล่ะ

ตรงนี้ละ ที่บอกไปแล้วว่าทางแก้ระยะสั้นคือ ยุโรปต้องเร่งประกาศให้ทุกคนมั่นใจว่าเงินฝากจะได้รับการคุ้มครอง 100% จาก EU (Whoever they are หรือจะเป็น Pan-European Depositor Insurance )  เพราะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญสุดๆ สำหรับเหตุการณ์แบบนี้คือ Trust

ต้องทำให้เขามั่นใจได้ว่า มันจะได้รับความคุ้มครองจริงๆ และเต็มจำนวน และไม่มี Capital Control  หรือถ้ามีก็จะไม่กระทบส่วนของเขา

เห็นไหม เวลาเกิด Crisis สถาบันคุ้มครองหรือประกันเงินฝากจะไร้ความหมายไปเลย เพราะไม่มีที่ไหนมีเงินประกันพอสำหรับความตื่นตระหนกทั้งระบบ

จะว่าไปแล้ว อนาคตของกรีซไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้งหรือรัฐบาลกรีซหรอก  มันอยู่ในมือของผู้ฝากเงินตะหากเล้า

เรื่องกรีซนี่ ดร.กอบศักดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ เขียนไว้น่าสนใจว่า ……….. 

ณ ปัจจุบัน กรีซมีทางเลือกแค่ 2 ทาง

1. กัดฟันอยู่กับกลุ่มสหภาพยุโรปต่อไป  ทำตามที่ทางสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดไว้ รัดเข็มขัดต่อไป ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพื่อให้ได้เงินมาคืนหนี้ที่ตนเองไปกู้มาใช้อย่างเกินตัว และปฏิรูปโครงสร้างของเศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันได้อีกครั้ง

2. ประกาศออกจากการใช้เงินยูโรตามที่หลายคนออกมาให้คำแนะนำ (ตรงนี้ ดร กอบศักดิ์ เขียนประชดได้อย่างน่ารักจริงจริ๊ง) ซึ่งหมายความว่าหลังจากนี้กรีซก็จะมีค่าเงินเป็นของตนเอง ลดค่าเงินของตนเองได้ ทำให้สามารถกระตุ้นภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ทำให้คนมีงานทำ และสามารถออกจากวิกฤตได้


ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล


ท่านสรุปว่าเป็นทางเลือกที่แย่ทั้งคู่  มีความยากลำบากเกิดขึ้นมาก ต้องอดทนสูงที่จะเดินไปให้ตลอดรอดฝั่ง โดยเฉพาะทางที่ 2 ที่ตลาดกำลังกลัวกันว่ากรีซจะตัดสินใจเลือกทางนี้

แล้วท่านก็ชี้ว่า ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คนออกมาชวนเชื่อกัน”  เพราะถ้าเดินไปตามทางที่ 2 กรีซจะต้องขอมติประชาชนที่จะออกจากยูโร และนำไปสู่การใช้เงินของตนเอง ซึ่งในกระบวนการดังกล่าว ต้องตอบคำถามสำคัญว่า ในสัญญาต่างๆ ที่เขียนกันไว้นั้น (1) เงินฝากในธนาคารของประชาชนจะเป็นสกุลอะไร ถ้าเป็นยูโรเช่นเดิมแบงก์ก็จะล้มได้ แต่ถ้าจะเป็นเงินสกุลใหม่คนคงไม่รอให้มีการประชามติ คงมีการแห่ถอนเงินเพื่อนำไปฝากไว้ที่แบงก์ในประเทศเพื่อนบ้านแทน แบงก์กรีซก็จะล้มเช่นกัน  (2) เงินกู้จะคิดเป็นสกุลอะไร ถ้าให้คิดเป็นยูโร บริษัทที่ทำธุรกิจภายในประเทศก็จะล้มลงเป็นจำนวนมาก แบงก์ก็อยู่ไม่ได้ (และดูเหมือนกับว่าจะไม่ยุติธรรม) แต่ถ้าเป็นเงินสกุลใหม่ก็จะมีบางบริษัทได้ประโยชน์ โดยเฉพาะคนที่กู้ออกไปใช้ลงทุนในต่างประเทศ  และ (3) เงินที่ธนาคารกรีซปล่อยกู้ให้ธนาคาร/บริษัทในต่างประเทศจะเป็นเงินสกุลไหน

ท่านบอกว่า คำถามเหล่านี้ มีนัยยะได้เสียกับทุกคน ยากที่จะตอบง่ายๆ  และยิ่งไปกว่านั้นหลังจากออกจากยูโรมาแล้วกรีซจะอยู่อย่างไรโดยที่ไม่มีคนช่วยเหลือ ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลกรีซก็จะต้องรัดเข็มขัดอยู่ดี เพราะหลังจากนั้นจะไม่มีใครมาให้กู้ยืมไปใช้เกินกว่าภาษีที่เก็บมาได้อีกต่อไป (กระทั่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศก็คงไม่ให้กู้) ทั้งยังต้องเข้าไปอุ้มแบงก์และบริษัทที่ล้มลงด้วยกำลังของตนเองเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่า ทางออกนี้ ไม่ง่ายอย่างที่คิดและโฆษณากันไว้

ท่านจบท้ายว่า ....

ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าใครที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลของกรีซ แม้ตอนแรกจะอิดออดแค่ไหนแต่เมื่อมองลงไปที่หุบเหวของความหายนะที่ไม่รู้ว่าจะจบอย่างไร ท้ายสุดก็จะต้องพยายามกลับไปเดินทางเลือกที่ 1 จนถึงที่สุด  และทางสหภาพยุโรปก็คงต้องช่วยโดยยอมโอนอ่อนให้อีกบางส่วน กอดหัวร่วมท้ายกันไป ฝ่าความลำบากของทางเลือกที่ 1 ไปด้วยกัน ท่านจึงได้แต่หวังว่ากรีซจะมีปัญญาพอที่จะเลือกทางที่เสียหายน้อยที่สุดกับตนเอง 


วรวรรณ ธาราภูมิ
17 พฤษภาคม 2555


Nouriel Roubini  ผู้มีฉายาว่า Dr. Doom หรือ ดร.มหาโลกาวินาศ”  ให้สัมภาษณ์ล่าสุดเมื่อวานนี้ว่า หมดหวังเรื่องลูกหมูกรีซแล้ว  มันถึงเวลาที่เจ้าหมูน้อยจอมซ่าต้องโยนผ้าขาวรับสภาพผิดนัดชำระหนี้  ไม่เบี้ยว ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ได้แล้ว แล้วก็ถึงเวลาที่ต้องเชิญออกไปจากบ้านใหญ่หลังนี้ที่ชื่อว่า EU เสียด้วย

แน่ละ ที่วันหนึ่งพวกพี่ๆ เขาต้องถึงขีดจำกัดความอดทน ที่จะอุ้มหมูน้อยเข้ากะเอว ครอบครัวของพวกพี่ๆ ใน EU เขาไม่ยอมทนกับการสุรุ่ยสุร่าย แต่ขี้เกียจทำงานของพวกแกเต็มทนแล้วนะไอ้หมูจอมขี้เกียจ ไม่มีใครช่วยอุ้มแกแล้ว สมน้ำหน้า  คนอื่นเขาทำงานหนัก กว่าจะมั่งมีขึ้นมาได้ แล้วเรื่องอะไรที่แกจะแบมือขอเงินอย่างเดียว แบบนี้ทำนาบนหลังคนนี่หว่า

น้ารู (บินี) บอกว่าหากกรีซยังคงห้อยโหนถ่วงตุ้ม EU ปัญหาของเจ้าลูกหมูตัวนี้ก็จะตามมาหลอกหลอนอีกเป็นระยะๆ แล้วจะทำให้ EU ทั้งกลุ่มเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Depression)  กับภาวะเงินฝืด (Deflation)  ไปเป็นหลายๆ ปี  ซึ่งต่อให้ปรับโครงสร้างหนี้ ลดหนี้ ฯลฯ ยังไง กรีซก็ไม่รอดแล้ว  เพราะกรีซไม่สามารถแข่งขันกับใครได้ภายในกลุ่ม EU และเศรษฐกิจกรีซก็จะไม่สามารถโตได้เลย เพราะแข่งกับคนอื่นไม่ไหว  ดังนั้น ทางเดียวที่จะทำได้ก็คือทำให้ค่าเงินอ่อนลง ซึ่งทำไม่ได้หากยังอยู่ในกลุ่ม EU

ใช่สิ  เพราะการอยู่ในระบบ EU ด้วยกัน ใช้เงินสกุลเดียวกัน  ในขณะที่ตัวเองอ่อนแอกว่าคนอื่นเขา มันก็เหมือนจับคนขาพิการไปวิ่งบนสายพานนั่นแหละ ไปไม่ไหว

หากไม่ได้ใช้สกุลเงินเดียวกันแล้ว กรีกยังลดค่าเงินตัวเองเหมือนที่ไทยเคยทำได้ในช่วงต้มยำกุ้ง ทำให้ข้าวของของเราขายได้ในราคาถูกลงเนื่องจากลดค่าเงิน  ซึ่งของไทยนั้น ทำไปไม่นานก็ฟื้นขึ้นมาได้ อย่างน่าชื่นชมในความฮึดสู้ของนักธุรกิจไทยทั้งหลาย  ช่างน่าอัศจรรย์ใจจริงๆ

นี่ละ ที่เขาว่า นักธุรกิจสร้างชาติ ในขณะที่นักการเมือง ....... ชาติ
(เติมกันเองตามอัธยาศัยนะคะ ..... ฮี้วววววว)

ความจริงไอ้การชักดาบเนี่ยะ รัฐบาลบางประเทศก็ทำกันมาหลายครั้งแล้วในอดีต
ไม่ว่าจะกรีซ สเปน หรืออาร์เจนตินา ฯลฯ  เขาเรียกกันว่า Debt Moratorium ซึ่งแปลว่า เลื่อนชำระหนี้

ภาษาชาวบ้านเราเรียกว่า ผลัดหนี้ นั่นแหละ

นึกถึงนิยายไทยๆ ที่ชอบพล็อตเรื่องว่า พ่อแม่เป็นสิงห์พนันตัวยง มีหนี้พนันท่วมหัว ต้องเอาลูกสาวไปใช้หนี้มาเฟียเจ้าของบ่อน แล้วก็ต้องมีการข่มขืนกัน ทั้งๆ ที่พระเอกแสนหล่อ

เรื่องแบบนี้มันเป็นไปไม่ได้ เพราะหากหล่อขนาดที่บรรยาย  ลูกหนี้น่าจะข่มขืนเจ้าหนี้มากกว่า




มีคนถามว่าทำไมกรีซไม่เอาวิหารพาธินอนไปขายใช้หนี้ล่ะ   

อืม ... เข้าใจคิด  คงคล้ายๆ เทศบาลท้องถิ่นในอเมริกา เอาสัมปทานที่จอดรถแบบหยอดเหรียญไปขายให้พวก Wall Street กับ พวกเศรษฐีตะวันออกกลาง เพื่อหาเงินเข้าเทศบาลนั่นแหละ

เป็นแนวคิดที่ดีทีเดียว เอาสมบัติที่มีไปขายซะ เพราะหากไม่ทำก็ไม่มีวันฟื้น

จะขายหรือให้เช่าวิหารต่างๆ  ขายกิจการรัฐวิสาหกิจ โรงไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ฯลฯ ขายให้หมดจนหมดหนี้ เลย  ใช้วิธีให้เช่าสัมปทานระยะยาวก็ได้  ยังไงๆ ก็ดีกว่าจมหนี้ตาย

น้ารู (บินี) แนะนำให้กรีซประกาศหยุดชำระหนี้คืนชั่วคราวทันที 
แล้วออกจาก EU ไปซะ เพื่อไม่ต้องตายยกเข่งอียู

แน่ละ จะต้องเกิดการแตกตื่นกันครั้งใหญ่ในระบบการเงิน  ทุกคนจะแห่แหนกันไปถอนเงินออกจากกองทุนออกจากธนาคาร  และออกจากทุกอย่างที่มีกับกรีซ ซึ่งนั่นก็เป็นปฏิกิริยาของคนที่ต้องเอาตัวรอดในยามไฟไหม้
และน่าจะเกิดไม่เฉพาะที่กรีซเท่านั้น  

แน่นอน อาการนี้มันจะลุกลามไปทั่ว

แต่จะลามมาก ลามน้อย ขึ้นอยู่กับความมั่นใจของคนที่มีต่อประเทศนั้นๆ  มาดูตารางนี้กัน มันแสดงตัวอย่างของธนาคารในยุโรปที่มีการปล่อยกู้ และซื้อพันธบัตรกลุ่มลูกหมู (PIISG .. Protugal, Italy, Ireland, Greece และ Spain) โดยเปอร์เซ็นต์ที่แสดงนั้นเขาเอาตัวเลขยอดหนี้กลุ่ม PIIGS ที่แต่ละธนาคารมีอยู่  เอามาหารด้วยทุนของธนาคารนั้น 




ตัวอย่างเช่น Credit Agricole (France) มีสัดส่วนถึง 293% แปลว่าธนาคารปล่อยกู้ให้กลุ่ม PIIGS ไป 293 ยูโร ในขณะที่มีทุน 100 ยูโร แสดงว่าส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมดรองรับหนี้กลุ่ม PIGGS ที่ปล่อยกู้ไม่ครบ
หากหนี้พวกนี้เกิดชักดาบขึ้นมาละก็

..... แถ่น แทน แท้น ..... บุ๋ง บุ๋ง ....  จ๋อม  ....  (คิดอะไรอยู่ ....  รู้นะ)

ถึงจะเพิ่มทุน ใครหน้าไหนจะกล้าเอาเงินไปใส่ตอนนี้  นอกจากรัฐบาลเอาเงินภาษีประชาชนไปอุ้มตามสูตรสำเร็จที่แหกคอกทุนนิยมเสรี  ซึ่งเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดแบบทุนนิยม 

ดังนั้น ทั้งกรีซ ยูโร และทุกประเทศที่เกี่ยวข้องกับ PIGGS และธนาคารในตาราง  ต้องมีมาตรการป้องกันคนฝากเงินแห่กันถอนเงิน ไม่อย่างนั้นจะพินาศทั้งระบบเลย   ตัวอย่างมาตรการในอดีตของประเทศที่มีการชักดาบก็คือ อาร์เจนตินา

อย่างเท่ห์เลย อาร์เจนตินา ใช้วิธี Freeze เงินฝาก ไม่ให้ใครถอนออก !!!!

แล้วยังเพิ่มโปรโมชั่นนาทีทองด้วยมาตรการ Capital Control  นั่นก็คือควบคุมการนำเงินหรืออื่นๆ เช่น ทองคำ ออกนอกประเทศอีกด้วย นี่คือตัวอย่างของคำว่า บูรณาการ

ใช่แล้ว ผลกระทบของมาตรการชักดาบของ อาร์เจนตินา  ทำให้เกิดระส่ำระสายไปทั้งระบบ แต่เงินไม่ไหลออกไปไหน โดนแช่แข็งอยู่ในธนาคารและในประเทศ 

แม้ว่าราคาสินทรัพย์กับหลักประกันต่างๆ จะลดลงฮวบฮาบ ความเสียหายจะเกิดขึ้นไปทั่ว  แต่สถานการณ์ต่างๆ ยังควบคุมได้ และสามารถจำกัดวงความเสียหาย

แล้วพระเอกเจ้าเก่า บทเก่าๆ ก็จะเข้ามาเป็นซุปเปอร์แมน
นั่นก็คือ รัฐและธนาคารกลางก็เข้าไปเพิ่มทุนโดยเอาเงินซื้อหุ้นของธนาคารเหล่านั้น  

แม้ว่าการใส่เงินเข้าไปช่วยอุ้มแบงค์เป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะหรือหนี้ภาครัฐของประเทศเข้าไปอีก แต่แนวคิดแบบนี้มักได้รับการสนับสนุน ถ้าหากว่าการยอมโยนผ้าขาวไม่จ่ายคืนหนี้ชั่วคราวนั้น ทำให้เจ้าหนี้ยอมลดหนี้ให้มากๆ

ผู้สนับสนุนมองว่าลดหนี้แล้วทำให้ลูกหนี้มีจ่าย ย่อมเหมือนกับ กำขี้ย่อมดีกว่ากำตด นั่นแล เพราะการมีกากๆ ในมือ ย่อมดีกว่ามีแต่อากาศ  แม้จะเหม็นพอกันก็เหอะ




แต่มองที่ตารางข้างต้นอีกที ก็เสียวๆว่าประเทศอื่นๆในกลุ่มยูโร จะกล้าปล่อยให้กรีซโยนผ้าขาวไหม 

และเมื่อวันก่อน น้ารู (บินี) ก็ออกมาประกาศเสียงแจ้วๆ ว่า

“(ขอแสดงความยินดีด้วย ชาวอเมริกันที่รัก) เรากำลังเข้าสู่ Recession แล้ว  ไม่เชื่อก็ดูตัวเลขจ้างงานในเดือนสิงหาคมนี้สิ มันเป็น 0 ไม่มีเพิ่มเลย  ยอดขายปลีกก็เป็น 0 ไม่ขยายสักนิด และเชื่อได้เลยว่าเดือนกันยายนนี้ก็จะแย่ยิ่งกว่าเดิม

อาการเศรษฐกิจสหรัฐช่างสมฉายานามของทั่นประธานาธิบดีจริง  ที่เขาเรียกว่า President Zero น่ะ  ฮ่าๆๆๆๆ  Zer_0_Bama

ใครจะตื่นเต้นตกใจก็ว่ากันไป เพราะพวกเรารู้มานานแล้วว่ามันจะเป็นเช่นนี้ จริงไหม

นอกจากนี้ น้ารู (บินี) ยังบอกด้วยว่า อย่าถามว่าจะเกิด Recession อีกครั้งหรือเปล่า  ให้ถามว่า Recession รอบใหม่นี้ เราจะตกบ่วงถลำลึกขนาดไหน น่าจะเหมาะกว่า  ซึ่งคำตอบของน้ารู (บินี) ก็คือ มันอยู่ที่นโยบายรัฐ กับสถานการณ์วิกฤติในยูโร

ก็ขอเอาใจช่วยให้ทุกคนในฝั่งตะวันตกรอดพ้นจากทอร์นาโดทางเศรษฐกิจกัน

ส่วนคนไทยอย่างเราก็ควรเอาเป็นตัวอย่างไว้
ทั้งเรื่องการรวมกลุ่ม EU ที่มีข้อเสียมากมาย ไม่น้อยกว่าข้อดี

และจงระวังไว้ว่าการเอาแบบอย่างพวกตะวันตกโดยไม่ยอมใช้หัวคิดตนเองนั้น
อาจนำพาความล่มจมมาสู่ประเทศชาติได้เหมือนกัน

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

SSI, the turnaround stock.

-SSI,The nature of the TURNAROUND stock is the gap between the bottom n the peak is so wide.And the handsome gain will go to the bravehearts.I don't know where the exact bottom is, but I know we r already in the bottom area.Don't try to catch @ the bottom,or u will miss the chance.
-When look @ the gap between the peak & the bottom,I wonder y the most of investors try to fish the bottom, then miss the trains.
-I am also the one that used to b like that when I waited CPALL to b lower than 7 baht in 2008, then I missed the flight.I kave never forgiven myself till now.

-The smart investors will buy the stocks which full of bad news & fully discounted, n sell to the other people when a lot of good news pour in.That 's we call, the smart Contrarian.



ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่ 
https://www.facebook.com/VI.Kitichai , http://twitter.com/value_talk , http://www.youtube.com/user/wittayu9 และ http://kitichai1.blogspot.com

หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน
     
สนใจซื้ออสังหาเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ลองเข้า http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty

กิติชัย เตชะงามเลิศ


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

SSI, 09-05-12.

The effect of SSI 's convertible bond(CB),
1.1.The convert price won't b less than 1 baht while SSI 's market price is only 0.74 baht. If they want the CB to fully subscribe, then, the market price should b 0.9x baht, so it will attract the investors.
2.The increment of the new shares is minimal compare to its existing shares.
3.The interest rate of the CB is less than the rate that SSI paid now.

QE3.

Pacific Investment Management Co.’s Bill Gross and Jan Hatzius at Goldman Sachs Group Inc. say investors should prepare for additional bond purchases by the Federal Reserve to combat a slowing U.S. economy.
A decision to buy more debt is “getting closer,” Gross, who runs Pimco's Total Return Fund, the world’s largest mutual fund, wrote on Twitter yesterday. Hatzius, the chief economist at New York-based Goldman Sachs, predicted in a report the same day that the Fed will announce additional monetary easing when it meets in June.
Prospects for a third round of central bank asset purchases, known as quantitative easing, or QE, increased after a Labor Department report May 4 showed U.S. employers added 115,000 jobs in April, the smallest gain in six months. Europe’s debt crisis is threatening to slow global growth. Ten-year Treasury yields fell to 1.81 percent yesterday, approaching the record low of 1.67 percent set Sept. 23.
“In such an uncertain environment, taking out a bit more insurance still looks like the sensible choice for U.S. monetary policy makers,” Hatzius wrote. “We have stuck with our forecast of some additional monetary easing” at the Fed’s policy meeting June 19 to June 20.
Bond Purchases
The central bank bought $2.3 trillion of bonds in two rounds of quantitative easing, known as QE1 and QE2, from December 2008 to June 2011. The Fed is also replacing $400 billion of short-term Treasuries in its holdings with longer- term debt to keep borrowing costs down, under a program scheduled to end next month.
Policy makers have pledged to keep the target for overnight bank lending as low as zero until at least late 2014.
Two Fed officials have questioned whether additional easing will work.
Fed Bank of Dallas President Richard Fisher said yesterday that a drop in equity prices is no reason for the central bank to intervene.
“Markets are manic depressive, they come and go,” Fisher told reporters when asked if slumping markets and slower-than- expected employment gains had changed his outlook for Fed policy. “The key to success here is not further monetary accommodation.”
Shares Slumping
The Standard & Poor’s 500 Index fell to its lowest level in two months yesterday.
Fed Bank of Richmond President Jeffrey Lacker said May 7 that much of U.S. unemployment results from structural weaknesses such as inadequate training that can’t be fixed by Fed stimulus. The U.S. jobless rate of 8.1 percent is the lowest in three years.
“Some commentators are urging the Fed to take additional action as long as the unemployment rate remains elevated,” Lacker said. “But if elevated unemployment reflects largely fundamental factors rather than insufficient spending, such stimulus might have little impact on unemployment and instead just raise the risk of pushing inflation up.”
Lacker votes on monetary policy this year while Fisher does not.
The U.S. economy is “dreary,” Hatzius wrote.
Gross domestic product slowed to an annual rate of 2.2 percent in the first quarter from 3 percent in the prior three months, the Commerce Department reported April 27.
Greece Struggling
Politicians in Greece struggled to form a new government, raising concern the nation will abandon the euro as its currency.
Benchmark 10-year Treasury notes yielded 1.82 percent today as of 8:17 a.m. in London, according to Bloomberg Bond Trader prices. The average over the past decade is 3.83 percent. The 2 percent security due in February 2022 changed hands at 101 18/32.
Low government rates have led investors to look for more attractive yields outside the sovereign bond market.
Treasuries have returned 0.6 percent this year, eclipsed by a 4.8 percent rally for an index of U.S. investment grade and high-yield company debt, according to Bank of America Merrill Lynch data.
“Risk markets need more ammo if they are to stay up,” Gross, who is based in Newport Beach, California, wrote on Twitter.
Gross’ Total Return Fund has returned 4.8 percent this year, beating 98 percent of its peers, according to data compiled by Bloomberg. Pimco is a unit of the Munich-based insurer Allianz SE.



ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่ 
https://www.facebook.com/VI.Kitichai , http://twitter.com/value_talk , http://www.youtube.com/user/wittayu9 และ http://kitichai1.blogspot.com

หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน
     
สนใจซื้ออสังหาเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ลองเข้า http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty

กิติชัย เตชะงามเลิศ