ภาษีที่ว่าบานตะไท
จริงๆแล้วสัปดาห์นี้ผมควรจะเขียนเรื่อง
“ออมน้อยเป็นร้อยล้าน ตอนที่ 2” แต่ทนหงุดหงิดใจเรื่องภาษีของรัฐบาลที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทุกครั้งที่มีกระแสวิจารณ์
ต้องขออนุญาติเขียนเรื่องภาษีในสัปดาห์นี้แล้วจะมาต่อตอนที่ 2 ในสัปดาห์หน้าครับ
ช่วงนี้ท่านผู้อ่านหลายๆท่านคงจะมีความรู้สึกว่า
รัฐบาลมีมาตรการจะเก็บภาษีจากประชาชนในหลายๆด้าน
เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ ที่นอกจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ทำให้รายได้ฝืดเคือง แล้วยังต้องหาสตางค์มาจ่ายภาษีในรูปแบบใหม่ๆ ที่กำลังจะถูกนำมาใช้ เราลองมาดูกันครับว่า มีภาษีอะไรบ้าง
1.
ภาษีเหล้าและบุหรี่
โดยมีการเรียกเก็บในอัตราที่สูงขึ้น
คงทำให้คอสุรา และนักดูด
คงจะต้องเจียดเงินในกระเป๋ามากขึ้น
ถ้าจะยังสูบบุหรี่และดื่มสุราอยู่อีก
ภาษีตัวนี้ผมขอสนับสนุนเต็มที่เลยครับ เพราะว่าเป็นสินค่าที่ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่แย่ลง หลายๆท่านที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง
หรือตับแข็งก็เนื่องมาจากการบริโภคสินค้าเหล่านี้
ใจจริงผมอยากให้เก็บภาษีสินค้าไม่ว่าจะเป็นขนมและเครื่องดื่มในรูปแบบต่างๆ
ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล และเกลือ ในอัตราที่สูงเกินไป เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้วว่า
การบริโภคน้ำตาลและเกลือในสัดส่วนที่มากเกินกำหนดต่อวัน
จะมีผลเสียต่อสูขภาพ
2.
ภาษีมรดก ซึ่งเรียกเก็บจากผู้รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินที่มีการจดทะเบียน เช่น
อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ หุ้น ฯลฯ
รวมกันแล้วเกิน 50ล้านบาท สมมุติว่าเจ้าของมรดกมีทรัพย์สินมูลค่า 140 ล้านบาท เป็นทรัพย์สินที่มีการจดทะเบียนรวมแล้ว 100 ล้านบาท
เป็นทองคำ 20 ล้านบาท เครื่องเพชร
10 ล้านบาท และเงินสด 10 ล้านบาท มีบุตร 2 คน
คู่สมรส และบิดามารดา
เสียชีวิตแล้ว
และไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้
ดังนั้น บุตร 2 คน จะได้รับมรดกคนละครึ่ง เป็นทรัพย์สินที่จดทะเบียน คนละ 50 ล้านบาท
ทองคำคนละ 10 ล้านบาท เครื่องเพชรและเงินสด คนละ 5
ล้านบาท (สมมติว่าทุกอย่างสามารถแบ่งกันได้คนละครึ่งพอดี) ดังนั้น ทายาทโดยธรรมที่เป็นบุตร ทั้ง 2 คน ไม่ต้องเสียภาษีเลยแม้แต่บาทเดียว ดังนั้นจะเห็นได้เลยว่ากระทั่งเศรษฐีร้อยล้านบางราย
ก็ยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาษีมรดกเลย
3.
ภาษีรถยนต์ใหม่ ที่จะประกาศใช้ในปี 2559
โดยจากเดิมที่พิจารณาจากขนาดของเครื่องยนต์( cc ) และแรงม้า
แต่โครงสร้างภาษีใหม่จะเน้นไปที่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์
( cu ) ตามมาตรฐานยูโรป
เพื่อการสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะทำให้รถรุ่นนี้สามารถเข้าไปตีตลาดในประเทศที่มีมาตรฐานสูงๆ อย่าง EU และยังลดมลภาวะภายในประเทศอีกด้วย ซึ่งมาตรการนี้ คงส่งผลให้รถตามมาตรฐานเก่าๆ
ถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ขณะที่รถมาตรฐานใหม่จะเสียภาษีต่ำลง คงส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ ปลายไตรมาสที่ 3 จนถึงสิ้นปีดีขึ้น เนื่องจากคนที่จะซื้อรถอยู่แล้วรีบตัดสินใจเร็วขึ้น
4.
โครงสร้างภาษีพลังงาน
มีการปรับเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีสรรพสามิต
และเงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในน้ำมันและก๊าซเชื้อเพลิง ทุกชนิด
เพื่อให้เกิดสมดุลและเป็นธรรมต่อผู้ใช้
จากเดิมที่เคยทำให้คนหันมาใช้น้ำมันดีเซล ก๊าซ LPG และ NGV มาก โครงสร้างการใช้พลังงานไม่สมดุล
5.
ภาษีที่ดินและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นตัวภาษีที่โดนวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด จนมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง เรามาดูกันครับว่าภาษีนี้สร้างภาระจริงหรือไม่ โดยผมจะยึดแนวคิดล่าสุดของกระทรวงการคลัง
5.1
ที่ดินเพื่อการเกษตร จะเรียกเก็บที่ 0.05% จากเพดาน
0.25 % สมมติว่า
ชาวนาชาวสวนที่มีที่ดิน มูลค่า 500,000
บาท จะโดนเก็บเพียง 250 บาท ต่อปี ตกแล้วเดือนละประมาณ 20 บาท ผมมองไม่ออกเลยว่าภาระ ภาษีแค่นี้จะทำให้ชาวนาเดือดร้อนได้อย่างไร
5.2 ที่อยู่อาศัย ราคาต่ำกว่า 1.50
ล้านไม่ต้องเสียภาษี สมมติว่า ท่านมีบ้านราคา 3 ล้านบาท ผมขอ แบ่งเป็น
2 กรณี
5.2.1 รัฐบาลคิดตั้งแต่บาทแรก ท่านต้องเสียภาษี 0.1% ( จากเพดานที่ 0.5% ) ดังนั้น
ภาษีที่ ท่านต้องจ่าย =
3,000 บาท
ตกเดือนละ 250 บาทเท่านั้น ผมยังดูว่าไม่เป็นภาระอะไรเลย ลอง มาดูอีกกรณีครับ
5.2.2 รัฐบาลคิดส่วนที่เกิน 1.50 ล้านบาท
(แบบนนี้คนส่วนใหญ่จะรู้สึกมีความเป็นธรรมมากว่า ) ท่าจะเสียภาษีเพียง 1500 บาท
ตกเดือนละ 125 บาท เท่านั้น ดูแล้วไม่เห็นจำเป็นต้องออกมา โวยวายอะไรกันเลย
5.3 ภาษีเพื่อการพาณิชย์ เรียกเก็บ
0.2% จากเพดาน
2% ซึ่งภาษีตัวนี้ก็จะมาเก็บแทนภาษีโรงเรือน รวมๆ แล้วอาจจะจ่ายเพิ่มอีกหน่อยจากตอนที่เก็บเต็มเพดาน แต่ผมก็เห็นด้วยกับรัฐบาล
5.4 ที่ดินที่ว่างเปล่า เรียกเก็บ
0.5% จากเพดาน 2%
โดยเฉลี่ยราคาที่ดินในแต่ละปี จะขึ้นไปมากกว่าอัตรา ที่เพดานที่รัฐบาลเรียกเก็บเสียด้วยซ้ำ ยิ่งทำเลดีๆ ราคาขึ้นไปเป็น 100% ในเวลาไม่กี่ปีเสียด้วยซ้ำ ภาษีตัวนี้ จะเป็นการกระตุ้นให้มีการใช้ที่ดินให้เกิดประโยขน์ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนครับ
สรุป กว่าจะเริ่มเก็บจริงก็ปี 2560ครับ ผมชู2มือสนับสนุน ภาษีต่างๆ ของรัฐบาลชุดนี้อย่างเต็มที่ ผมคิดว่าน่าจะเป็นการอ่อนประชาสัมพันธ์ ของหน่วยงานรัฐ ถ้ามีการอธิบายให้เข้าใจตามนี้ตั้งแต่แรก ประชาชนคงจะไม่โวยวาย และถ้าชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า รายได้ส่วนนี้ จะนำไปพัฒนาให้ชุมชนต่างๆ
มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างไร
ยิ่งชี้แจงละเอียด
ยิ่งจะมีแต่คนสนับสนุนครับ
กิติชัย เตชะงามเลิศ
18/03/58
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B8หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, และ Me(Market Evolution) ทุกเดือน ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที หาอสังหาทั้งถูกและดีเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ได้ที่ http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น