ธนาคาร นี่โคตรเอาเปรียบ(ตอนที่ 2)
บทความที่แล้วผมพูดถึง
ภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่
ที่มีช่องทางในการหาเงินทุนอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้บริการของธนาคาร
รวมทั้งธุรกิจที่เป็น STARTUP และ ANGEL INVESTOR แล้วยังจะไปถึงฟินเทค
และอนาคตของห้างสรรพสินค้า ผมเชื่อว่า ในอนาคตห้างสรรพสินค้าที่อยู่รอดได้จะกลายเป็นศูนย์รวมของร้านอาหารและร้านขายเครื่องดื่มต่างๆ
สถานคลินิกต่างๆโดยเฉพาะคลินิกเสริมสวย
รวมทั้งศูนย์ให้บริการทางด้านสุขภาพและความงาม ไม่ว่าจะเป็นฟิตเนส
ศูนย์ลดความอ้วน สถาบันกวดวิชา ฯลฯ สินค้าแบรนด์เนมที่เป็น Hi end และเมื่อธุรกิจขายเครื่องไฟฟ้าในห้างสรรพสินค้าอยู่ไม่ได้จนต้องถูกยุบไป บริษัทที่ขายของออนไลน์ต่างๆเช่น Lazada
ที่เคยอาศัย Power Buy หรือ Power Mall หรือห้างต่างๆ เป็นโชว์รูมฟรีมาตั้งนาน
คงต้องมาเช่าพื้นที่ห้างสรรพสินค้าเอง เพื่อนำสินค้าบางประเภท ที่จำเป็นต้องสาธิตการใช้หรือทดลอง
รวมทั้งสินค้าที่ลูกค้าอยากจะสัมผัสตัวสินค้า ก่อนการตัดสินใจซื้อ มานำเสนอ
โดยเจ้าของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ต้องส่งพนักงานมาประจำเพื่อให้บริการดังกล่าว
แถมยังต้องเสียค่าเช่าช่วงพื้นที่กับ Lazada อีกด้วย เจ้าของผลิตภัณฑ์ซึ่งแต่เดิม เคยมีค่าใช้จ่ายจากการส่งพนักงานไปประจำที่ห้างสรรพสินค้า
และค่า GP ที่ถูกทางห้างหักออกไปจากค่าขายสินค้า
ค่าใช้จ่ายอันหลังก็จะเปลี่ยนเป็น
ค่าเช่าช่วงพื้นที่จาก Lazada เป็นต้น
นอกเรื่องมาเสียตั้งนาน
กลับมาที่เรื่องการเอาเปรียบของธนาคารกันต่อนะครับ ธุรกิจธนาคารก็เหมือนธุรกิจอื่นๆที่แสวงหาผลกำไรให้ได้มากที่สุด
ยิ่งไปกว่านั้นธนาคารยังได้เปรียบที่เป็นธุรกิจกึ่งผูกขาด
เพราะว่ามีจำนวนใบอนุญาตที่จำกัด ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันที่สมบูรณ์
นี่ถ้าหากธนาคารแห่งประเทศไทย อนุญาตให้ธนาคารต่างชาติมาเปิดสาขาอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย(ซึ่งผมเชียร์เต็มที่เลย) เชื่อได้เลยว่าค่าบริการต่างๆ
รวมทั้งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ
คงจะลดลงกว่าในปัจจุบันนี้เป็นอย่างมาก เพราะว่าจะเกิดการแข่งขันจากผู้เข้ามาใหม่
ซึ่งต้องการที่จะขยายฐานลูกค้า และแย่งชิงลูกค้าจาก LOCAL BANK ส่วน LOCAL BANK ก็พยายามที่จะรักษาฐานลูกค้าของตน
ก็คงจะต้องลงมาแข่งขันในด้านบริการต่างๆมากขึ้น แล้วในที่สุดประชาชนก็จะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น
หลังจากถูกมัดมือชกมานานแสนนาน จริงๆแล้วอุตสาหกรรมธนาคารไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
5 โดยมี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรก ของไทย
ก่อตั้งในปี 2449 มีอายุมายาวนานถึง 111
ปีแล้ว
แต่อุตสาหกรรมธนาคารไทยก็ยังทำตัวเป็นเฒ่าทารก
ที่ต้องอาศัยธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นเกราะกำบังไม่ให้ธนาคารต่างชาติ เข้ามาขยายกิจการในประเทศไทยได้โดยง่าย ทำให้สามารถคิดค่าบริการในอัตราที่แพงเกินควร หรือค่าบริการที่ไม่เหมาะสม
รวมทั้งการคิดส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ข้างต้นที่สูงเกินไป โดยที่ธปท.
ก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่เสียด้วย
ผมขอยกตัวอย่างค่าบริการที่ไม่เหมาะสม
ที่นอกเหนือจากค่านับเหรียญที่ผมพูดถึงในบทความที่แล้ว ให้ดูกันเพิ่มเติม เช่น เวลาท่านไปขอสินเชื่อบ้านกับธนาคาร
ค่าธรรมเนียมต่างๆที่ท่านเตรียมตัวจะต้องเสียให้กับธนาคาร มีดังต่อไปนี้
1. ค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้
อาจจะมาในรูปแบบค่าธรรมเนียมแรกเข้า
หรือค่าธรรมเนียมยื่นกู้ อัตราสูงสุดที่ธนาคารคิดกันในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 0-1%
ของวงเงินที่ขอกู้ แต่ละธนาคารกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่เท่ากัน
บางธนาคารคิดเป็นตัวเลขคงที่ ตามสัดส่วนของวงเงินกู้ เช่น วงเงินกู้ไม่เกิน 3
ล้านบาท คิดค่าธรรมเนียม 1,500
บาท แต่ก็มีบางธนาคารที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมส่วนนี้
2. ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ และประเมินหลักประกัน อยู่ระหว่าง
0-0.5% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน โดยจะเริ่มต้นที่ 2,500
บาท ขึ้นไป
ขึ้นอยู่กับราคาประเมินหลักประกัน ค่าเดินทางเพิ่มเติมกรณีต่างจังหวัด 1,500
- 6,000 บาท
3. เบี้ยประกันอัคคีภัย ส่วนใหญ่จะเป็นภาคบังคับแล้วจะกำหนดให้ประกันอัคคีภัยกับบริษัทประกันภัยในเครือของธนาคารหรือบริษัทประกันภัยที่ธนาคารกำหนดไว้
ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำประกันภัยผ่านธนาคารผู้ให้กู้
4. ค่าปรับที่จะต้องจ่ายให้กับธนาคารเดิม
กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ที่ 3 ปี อย่างไรก็ตามก็ขึ้นกับนโยบายของแต่ละธนาคาร
5. เบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินกู้ ซึ่งเป็นการทำประกันกับบริษัทประกันภัย
เผื่อไว้ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อมีเหตุอันใด ที่ทำให้ไม่สามารถจะชำระค่าผ่อนงวดกับธนาคารได้
ข้อนี้ส่วนใหญ่จะเป็น Option โดยที่ถ้าผู้ขอสินเชื่อเลือกที่จะทำประกันประเภทนี้
ก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยจ่าย ที่ต่ำกว่าอัตราปกติ
ก็เหมือนเป็นการบังคับกลายๆนั่นเอง
นี่ยังไม่นับส่วนที่จ่ายให้กับกรมที่ดิน ซึ่งประกอบด้วย
1. ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินที่ขอกู้
2. ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน
3. ค่าอากร จำนวน 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่
1. ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินที่ขอกู้
2. ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน
3. ค่าอากร จำนวน 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่
4. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามระเบียบของกรมที่ดิน
บทความหน้าผมจะมาแจกแจงความเอารัดเอาเปรียบของธนาคารที่มีต่อลูกค้ากันต่อครับ
อ่านบทความ 1. ธนาคารนี่โคตรเอาเปรียบ(ตอนที่ 1) ได่ที่ http://kitichai1.blogspot.com/2017/07/1.html
2. ธนาคารนี่โคตรเอาเปรียบ(ตอนจบ) ได่ที่ http://kitichai1.blogspot.com/2017/07/blog-post_21.html
2. ธนาคารนี่โคตรเอาเปรียบ(ตอนจบ) ได่ที่ http://kitichai1.blogspot.com/2017/07/blog-post_21.html
กิติชัย เตชะงามเลิศ
13/7/60
ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
3.นิตยสาร Be Link ทุกเดือน
4.นิตยสาร GQ เดือนเว้นเดือน
5.นิตยสาร Me(Market Evolution) วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส
หาอสังหาทั้งถูกและดีเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ได้ที่ http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty
ขายดาวน์คอนโด ไฮด์ สุขุมวิท 11(Hyde
Sukhumvit 11) 3 ยูนิตสุดสวย ราคาพิเศษ เดิน 5 นาทีจากสถานี
BTS นานา
Hyde Sukhumvit 11 : ไฮด์
สุขุมวิท 11 คลองเตยเหนือ วัฒนา เนื้อที่ทั้งหมด:
2-1-58 ไร่ ประมาณ 478 ยูนิต ที่จอดรถ 276 คัน
คอนโด High Rise 2 อาคาร: A 39 ชั้น,
B 9 ชั้น พื้นที่โครงการ:
3,918 ตรม.แล้วเสร็จ 04/2561 เป็นคอนโดมิเนียมสูง 39 ชั้น บนที่ดินขนาด 2-1-58 ไร่ งานออกแบบอาคารทางโครงการเลือกใช้สถาปนิก A49 ซึ่งเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงแนวหน้าของไทยมาออกแบบในสไตล์
Modern Luxury สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ภายในโครงการถือว่าจัดเต็มตามลักษณะคอนโดมิเนียมหรูใจกลางเมือง
ทั้งพื้นที่ล็อบบี้เพดานสูงโปร่งเลือกใช้ผนังกระจกสูงเต็มบานเพื่อให้พื้นที่ภายในอาคารได้รู้สึกถึงพื้นที่สวน
lanscape
ที่โอบล้อม
พื้นที่สวนพักผ่อนพร้อมกำแพงน้ำตกสร้างความสดชื่นเป็นธรรมชาติ ห้องเอนกประสงค์ ห้อง Theater ห้อง Golf
Simulator Game room และห้องสมุดภายในโครงการ
เพื่อรองรับความต้องการใช้พื้นที่เพื่อพักผ่อนภายในโครงการของเจ้าของห้อง ภายในโครงการจะประกอบด้วยอาคารพักอาศัย
2 อาคาร โดยอาคาร A เป็นอาคารพักอาศัยหลัก ส่วนอาคาร B
เป็นพื้นที่พักอาศัยและที่จอดรถอัตโนมัติ ลักษณะการออกแบบแปลนโครงการจะวางอาคาร
B ไว้ส่วนหน้าติดกับถนนสุขุมวิท 11 จากนั้นจะคั่นด้วยพื้นที่สวนส่วนกลางถัดไปจะเป็นตัวอาคารหลัก
สำหรับการออกแบบแปลนลักษณะนี้จะทำให้สวนส่วนกลางอาคารพักอาศัยที่โอบล้อมทำให้พื้นที่สวนเป็นส่วนตัวดูน่าพักอาศัย
ได้ร่มเงาจากตัวอาคารช่วยบังแดด
·
Fitness
·
Sky Garden
·
Digital Door Lock
·
Golf Simulator
Room
·
Automatic Parking
·
Key Card Access
·
24 hours Security
Guards
·
Sinking fund =
600/sqm., Common fee = 60 baht/sqm.
·
No contract
transfer fee.
ห้องที่จะขาย:
1).0302 TYPE 1B อาคาร A ชั้น 3
พื้นที่ 34.50 ตรม. 1ห้องนอน 1 ห้องน้ำ เฟอร์นิเจอร์ครบครัน
ตกแต่งสวยมาก หันไปทางทิศใต้ ลมเย็นตลอดปี ไม่ใกล้ลิฟต์ ไม่ใกล้ห้องขยะ วิวสวย
ไม่โดนบล็อกวิว ราคา 5,600,000 บาท
2).0402 TYPE 1B อาคาร A ชั้น 4
พื้นที่ 34.50 ตรม. 1ห้องนอน 1 ห้องน้ำ เฟอร์นิเจอร์ครบครัน
ตกแต่งสวยมาก หันไปทางทิศใต้ ลมเย็นตลอดปี ไม่ใกล้ลิฟต์ ไม่ใกล้ห้องขยะ วิวสวย
ไม่โดนบล็อกวิว ราคา 6,000,000 บาท
3).0911 TYPE 2B อาคาร A ชั้น 9
พื้นที่ 58.00 ตรม. 2 ห้องนอน
2 ห้องน้ำ เป็นห้องมุม เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก หันไปทางทิศตะวันออก
ไม่ใกล้ลิฟต์ ไม่ใกล้ห้องขยะ วิวสวย ไม่โดนบล็อกวิว ราคา 10,000,000 บาท
คาดว่าจะแล้วเสร็จ
เมย. 2561 ค่าส่วนกลางและกองทุน 60 บาท/ตร.ม.และ 600 บาท/ตร.ม. ตามลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น