ทำไมปลาใหญ่ชอบกินปลาเล็ก
จากประสบการณ์การลงทุนของผมที่ต่อเนื่องมานานร่วม
20
ปี ผมสังเกตเห็นพฤติกรรมของ บริษัทขนาดกลางและใหญ่หลายรายที่นิยมการเข้าครอบครองบริษัทที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันหรือธุรกิจที่
แตกต่างกันทั้งที่มีความต่อเนื่องของธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Supplier
หรือลูกค้าของตน หรือธุรกิจ ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลยก็มี
เพื่อเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ผมขอสรุปบริษัทเป็นเป้าหมายของการถูก ครอบครองไว้เป็นดังนี้ครับ
1.บริษัทขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีอัตราการเจริญเติบโต
แต่อาจจะขาดหรือไม่ขาดสภาพ คล่อง มีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการจำกัด
โดยเฉพาะบริษัทที่ขาดสภาพคล่อง ยิ่งเป็นที่น่าสนใจเพราะว่า อำนาจในการต่อรองของบริษัทที่จะเข้า
Takeover (ปลาใหญ่) จะมีสูงกว่าบริษัทที่เป็นเป้าหมายการ Takeover (ปลาเล็ก)
หลังจากปลาใหญ่เติมสภาพคล่องให้ปลาเล็กหลังครอบครอง ธุรกิจก็วิ่งฉิวเลย
2.บริษัทที่มีการเปลี่ยน
Generation ของเจ้าของ แล้วรุ่นถัดไปไม่อยากจะสานต่อกิจการ แต่ยัง
เป็นกิจการที่ดี
3.บริษัทที่มี
Logistics ที่ครอบคลุมทั้งประเทศ ยกตัวอย่างเช่น
กลุ่มไทยเบฟที่ Takeover บริษัท เสริมสุข (SSC) เพราะว่า SSC
เป็นธุรกิจที่มีระบบการจัดจำหน่ายและขนส่งได้ครอบคลุมยี่ปั๊วและ
ซาปั๊วทั้งประเทศได้เป็นอย่างดี
4.บริษัทที่เป็นเจ้าของ
Knowhow เด่นๆ หรือมีความรู้เฉพาะด้วยที่โดดเด่น อย่างเช่น
คราวที่ MFEC ไปเทคบริษัทหลายๆ
บริษัทในช่วงที่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ตัวบุคลากรที่มีความสามารถมากมาย หรือ อย่างที่
Google ประกาศซื้อบริษัทสกายบ็อกซ์อิมเมจจิ้ง
ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างดาวเทียม และศูนย์ข้อมูล ทางอวกาศที่มีจุดเด่นในเรื่องของการพัฒนาภาพและ
VDO ที่ถ่ายจากดาวเทียม ซึ่งสามารถนำไปต่อยอด กับ Google
map ได้ในอนาคต
5.บริษัทที่มีร้านค้าครอบคลุมทั่วประเทศ
อย่างเช่น เมื่อคราว MINT ไป Takeover The Coffee Club
ของออสเตรเลียน่าจะมีจุดประสงค์จะนำมาแตกขยายสาขาในประเทศไทยและภายในกลุ่มประเทศ
ASEAN เพื่อรองรับ AEC แต่ยังไม่ค่อยเห็นความคืบหน้าเรื่องจำนวนสาขาแม้กระทั่งในประเทศไทยเองก็
ตาม
6.บริษัทที่มีสินทรัพย์บางอย่างซ่อนอยู่ไม่ว่าจะเป็น
Tangible asset เช่นที่ดินผืนงามหรือ intangible
asset เช่น ลิขสิทธิ์ เพลง ละคร ภาพยนตร์ ฯลฯ ที่ฮิตติดตลาดหรือเป็น
All time collection ซึ่งเมื่อคำนวณมูลค่าแล้ว
ราคาที่ซื้อกิจการนั้นๆ ได้ส่วนลดที่น่าสนใจ ถึงแม้จะซื้อกันที่ Price per
book value (PBV) = 1 ก็ตาม แต่ถ้า Book value ยังไม่ได้รวมมูลค่าที่แท้จริงของทั้ง Tangible และหรือ
Intangible asset ดังกล่าว
7.บริษัทคู่แข่งที่กำลังอ่อนแอ
เนื่องจากประสบปัญหาทางธุรกิจหรือการเงินอย่างรุนแรง เช่น ถูกตีกลับสินค้าที่มีปัญหาเป็นจำนวนมากหรือดำเนินธุรกิจผิดพลาดต่างๆ
ประโยขน์ที่ปลาใหญ่อาจได้รับในการกินปลาเล็กคือ
1.กรณี Take over บริษัทคู่แข่ง
คือทำให้กำจัดคู่แข่งทางการค้าลงไปเป็นการลดการแข่งขันรวมทั้งได้ฐานลูกค้าและการตลาดของปลาเล็กติดมาด้วยทันที
อย่างเช่นกรณี BIGC takeover CARREFOUR
2.กรณี Take
over ปลาเล็กที่เป็น Supplier หรือบริษัทที่เป็นลูกค้าทำให้
ปลาใหญ่มีธุรกิจที่ครบวงจรมากขึ้น ทำให้การวางแผนธุรกิจได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น
ทำให้เพิ่มลูกเล่นทางการตลาดได้อย่างเต็มที่
3.กรณี Take
over ปลาเล็กที่มี Asset ที่ดีๆ
อาจนำไปพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้น อย่างเช่น นำที่ดินผืนงามไปพัฒนาโครงการต่างๆ หรือนำลิขสิทธิ์ต่างๆ
ไปขยายช่องทางธุรกิจหรือ Converge กับผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมของปลาใหญ่
4.ได้ Knowhow
ของปลาเล็ก เพื่อต่อยอดธุรกิจของปลาใหญ่
5.ส่วนใหญ่
P/E ของปลาใหญ่จะสูงกว่า P/E ของปลาเล็กค่อนข้างมาก
การ Take over จะทำให้ Market value ของปลาใหญ่มากขึ้นมากกว่าเงินที่จ่ายไปเพื่อการ
Take over เพราะว่าตัว E (EPS) ของปลาเล็กเมื่อมารวมกับของปลาใหญ่แล้วจะถูกคำนวณด้วย
P/E ของปลาใหญ่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กลยุทธ Take
over ของ BGH จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเราจึงเห็น
Deal การ Take over อยู่บ่อยๆ
แต่ข้อควรระวังของนักลงทุนรายย่อย คือควรตรวจสอบความเหมาะสมสของราคาในการ Take
over ถ้าทั้งปลาใหญ่และปลาเล็กต่างก็เป็นบริษัทจดทะเบียน ราคาการ Take
ไม่ควรแพงเกิน 20% ของราคาซื้อขายในตลาด ถ้าเกินกว่านั้น
ควรจะสอบถามไปที่ปลาใหญ่ ว่าทำไมถึงยอมจ่ายเงินค่า Take over ไปในราคาสูง ปานนั้น
กิติชัย เตชะงามเลิศ
18/06/57
ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Youtube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
Instagram : Gid_Kitichai
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Me(Market Evolution), และ Glow ทุกเดือน
สนใจซื้ออสังหาเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ลองเข้า http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty