จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

ธุรกิจ HEALTH CARE ดีจริงหรือ (ตอนจบ)

ธุรกิจ HEALTH CARE ดีจริงหรือ (ตอนจบ)

•ออมเงินเพียงเดือนละหลักพัน ก็เป็นเศรษฐี 100 ล้าน ก่อนอายุ 50 ปี!
รายละเอียดอยู่ในหนังสือ"ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน"ซึ่งวางจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป(ร้านนายอิน ซีเอ็ด B2S คิโนะคุนิยะ)แล้วครับ



          บทความ 4 ตอนที่ผ่านมาที่ผมพูดเกี่ยวกับธุรกิจ Health care สวนใหญ่จะเป็นการมองในภาพรวมของทั้งโลก ส่วนบทความสัปดาห์นี้ผมจะเน้นถึงธุรกิจนี้ที่อยู่ในประเทศไทยครับ ธุรกิจ Health care ในประเทศมีมาตั้งนานแล้ว ผมขอเริ่มตั้งแต่สมัยที่มีเริ่มตั้งโรงพยาบาลเป็นเรื่องเป็นราวสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ที่พระองค์ได้เล็งเห็นถึงการขาดสถานพยาบาลเพื่อดูแลรักษาพสกนิกรที่เจ็บป่วย จึงมีพระราชดำริก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นเป็นครั้งแรกในราชอาณาจักรสยาม แต่ในสมัยนั้นมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาขน ไม่ได้หวังค้ากำไร เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลของรัฐ ต่อมาคนไทยที่มีรายได้สูงเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงเริ่มมีธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมาตอบสนองความต้องการในบริการที่ดีขึ้น และต่อมาเริ่มมีการแตกขยายสาขาเป็น Hospital chain หรือ hospital network เริ่มมีการนำโรงพยาบาลเอกชนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น จนปัจจุบันมีมากกว่า 10 บริษัทแล้วและยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) เป็น Chain ที่ใหญ่ที่สุดมี Market cap มากถึง 300,000 ล้านบาทเลยทีเดียวจนทำให้กลุ่มการแพทย์ ซึ่งเมื่อย้อนหลังไป 7-8 ปีที่แล้ว กลุ่มนี้นับว่าเป็นกลุ่มที่เล็ก Market cap ทั้งกลุ่มมีมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ Market cap รวมของตลาด ต่อมาหลังจากเริ่มได้รับความนิยมจากนักลงทุน ทำให้กลุ่มการแพทย์มี P/E ที่สูงขึ้น จนถึงปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ 20-30 กว่าเท่า เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตของรายได้และกำไรค่อนข้างสูง ประเทศไทยเรายังมีจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งสถานพยาบาลค่อนข้างน้อย ยิ่งต่างจังหวัดแล้วยิ่งน้อยใหญ่ ทำให้โอกาสของธุรกิจนี้ยังมีอีกมากมาย นี้ยังไม่รวมผลกระทบจาก AEC ซึ่งทำให้ Hospital chain ของไทยไม่ว่าจะเป็น Chain ใหญ่หรือเล็ก มีโอกาสสอดแทรกเข้าไปตั้งคลีนิคหรือโรงพยาบาลที่ประเทศในกลุ่ม ASEAN โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, และ Vietnam) ซึ่งยังขาดแคลนโรงพยาบาลชั้นนำอย่างมาก นอกจากการไปตั้งสถานพยาบาลในประเทศเหล่านี้แล้ว ยังสามารถที่จะรับบริหารจัดการโรงพยาบาลอื่นๆ โดยรับรู้เป็นค่าจ้างบริหารจัดการ อย่างเช่น ที่กลุ่ม IHH ของมาเลเซียทำอยู่ในหลายๆ ประเทศ ทำให้บริษัทมีโอกาสได้เรียนรู้ตลาดในประเทศนั้นๆ ว่ามีความต้องการบริการในรูปแบบไหน และประเภทของโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้สามารถตั้งเป็นศูนย์รักษาโรคเฉพาะทางได้อีกด้วย ซึ่งการรับบริหารเป็นหนึ่งในนโยบาย Asset light ทำให้กลุ่มโรงพยาบาลที่รับบริหารไม่ต้องลงทุนมากมายเหมือนการลงทุนแบบ Green field ที่ใช้การลงทุนที่มากและใช้เวลาในการก่อสร้างโรงพยาบาลหรืออาจจะเข้าไป Takeover โรงพยาบาลทั้งในต่างจังหวัด และโรงพยาบาลในกลุ่ม ASEAN ด้วยกัน ยิ่งเครือข่ายที่ใหญ่มากขึ้นเท่าไร Economy of scale ก็จะมากขึ้นเท่านั้น อำนาจในการต่อรองทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการสั่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ผมยังสงสัยว่าทำไมกลุ่มโรงพยาบาลต่างๆ ไม่เข้ามาสนับสนุนสถานศึกษาต่างๆ ให้สามารถรับนิสิตนักศึกษาเข้ามาเรียนได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น และให้ทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนดี โดยอาจจะมีข้อผูกพันว่าจะต้องมาทำงานใช้ทุนที่โรงพยาบาลที่ให้ทุนการศึกษาต่อจากการใช้ทุนของรัฐ คิดแล้วโรงพยาบาลเอกชนที่ให้ทุนน่าจะได้ประโยชน์ เพราะว่าบุคลากรทางการแพทย์นี้จบใหม่เหล่านี้ ในช่วงการใช้ทุนของรัฐ ก็เปรียบเสมือนได้ฝึกงานไปในตัว พอเริ่มทำงานใช้ทุนให้กับโรงพยาบาลเอกชน ก็จะมีประสบการณ์มากขึ้นแล้ว ผมอยากให้ BGH เป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ ปัจจุบัน BGH มีโรงพยาบาลในเครือทั้งหมด 3 แห่งและกำลังก่อสร้างอีก 9 แห่ง และล่าสุดก็ได้ควบรวมกับกลุ่มโรงพยาบาลสนามจันทร์ซึ่งมีโรงพยาบาลอีก 3 แห่งเมื่อเร็วๆ นี้ รวมเป็น 43 แห่ง แล้วยังตั้งเป้าหมายจะเพิ่มอีก  7 แห่งในปีหน้ารวมเป็น 50 แห่ง ทำให้มีจำนวนเตียง รวมเป็น 8,000 เตียง นับว่ามากที่สุดในประเทศไทย รีบๆ ทำเถอะครับ เพราะว่าโครงการดีๆ แบบนี้ถือเป็น CSR ที่ตรงกับลักษณะธุรกิจและดีมากๆ ครับ และยังจะได้บุคลากรทางการแพทย์มาร่วมงานมากขึ้นด้วย

กิติชัย เตชะงามเลิศ
                                                                                          10/09/57


ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่ 

Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter     : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog         : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9 
Google+  : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin   : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest   : http://www.pinterest.com/kitichai/


 หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6  และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, L'Optimum และ Me(Market Evolution) ทุกเดือน
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น