ธุรกิจ
Health
care ดีจริงหรือ ตอนที่ 4
สัปดาห์นี้ เรามาต่อกันที่เรื่องธุรกิจ Health
care ที่ค้างไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน
สำหรับท่านที่ พลาดตอนที่ 1 – ตอนที่ 3 ท่านสามารถอ่านได้จากบล็อกของผมที่ http://kitichai1.blogspot.com
เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา
ธุรกิจ Health
care จัดแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทดังนี้
1) PHARMA
เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยารักษาโรค
ซึ่งรวมทั้งอาหารเสริมที่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่นิยมทานกันเพื่อสุขภาพ
และเพื่อลดโอกาสที่จะเป็นโรคต่างๆ ธุรกิจยาเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้มหาศาล ลองดูตัวอย่างยารักษาโรคต่างๆ
ช่วงที่มีการออกยาตัวใหม่ๆ มา ราคาจะแพงมากเม็ดหนึ่งอาจจะตกถึง 200-300 บาท เนื่องจากได้จดลิขสิทธิ์ไว้ พอลิขสิทธิ์หมดอายุ บริษัทยาอื่นๆ
สามารถผลิตได้ ราคาบางครั้งเหลือเม็ดละไม่ถึง 1 บาท Margin
มหาศาลเพียงไหน ถึงแม้พอจะเข้าใจได้ว่า ค่าใช้จ่ายในการทำ LAB
วิจัย เพื่อค้นคว้าผลิตยาเพื่อรักษาโรคร้ายต่างๆ จะมีมากก็จริง
แต่กำไรก็ยังมหาศาลอยู่ดี ลองดูจากงบการเงินของบริษัทยาข้ามชาติใหญ่ๆ ดูสิครับ
2) BIOTECH
เป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีทางชีวภาพ
พัฒนาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษยชาติ ช่วยลดการติดเชื้อของโรคต่างๆ
เช่นวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ หรือการค้นพบวิธีการผลิตและใช้ STEM CELL เพื่อบำบัดโรคหรือ อาการผิดปกติต่างๆ ทางร่างกาย เป็นต้น
ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคน
3) HEALTH
CARE EQUIPMENT อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการรัก
4) HEALTH
CARE SERVICES ก็คือสถานพยาบาลนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นคลินิก โรงพยาบาล
ฯลฯ เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างได้เปรียบ เพราะว่าไม่มีลูกค้า (คนไข้) กล้าต่อราคา
ทั้งๆ ที่ค่าบริการและค่ายาที่โรงพยาบาลเอกชนจะคิดราคาสูงลิบลิ่ว
ค่ายาที่คุณหมอจ่ายคิดเป็นประมาณ 3 เท่าของราคาตามร้านขายยาทั่วไป
แต่ผู้ป่วยก็ต้องยอมจ่ายอยู่ดี
ผมเองยังสงสัยอยู่เลยว่าทำไมกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพาณิชย์ ทำไมไม่เข้ามาดูแลตรงจุดนี้
ค่า Doctor fee หรือค่าบริการอื่นๆ
จะคิดแพงก็พอทำใจได้แต่ค่ายาที่ชาร์จแพงเป็น 2-3 เท่าอันนี้ไม่ยุติธรรมกับผู้ป่วย
การคิดราคาที่แพงกว่าร้านขายยาสัก 50% ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
เราจึงเห็นกำไรของกลุ่มโรงพยาบาลพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
ทำให้นักลงทุนชื่นชอบกลุ่มนี้เป็นพิเศษ ดูจาก P/E กลุ่มโรงพยาบาลบ้านเรา
ส่วนใหญ่จะซื้อขายกันที่ P/E >30 เท่า เนื่องจาก CAGR
(Compound Average Growth Rate) ย้อนหลังหลายๆ ปี
ของหุ้นในกลุ่มนี้หลายๆ ตัวอยู่ที่ประมาณ 20% บวกลบ คิดเป็น PEG>1
เท่า ซึ่งธุรกิจนี้ในหลายๆ ประเทศก็ซื้อขายกันที่ P/E สูงๆ เช่นกัน ถ้าเราดู P/E BAND ของ Forward
P/E S&P ในธุรกิจ Health care services จะซื้อขายกันที่
P/E ประมาณ 8-23 เท่า ในช่วง 10
ปี ที่ผ่านมา (ช่วงปี 2008 ที่เกิด Hamburger
crisis กลุ่มนี้ซื้อขายกันที่ P/E เพียง 8
เท่า เท่านั้น) ปัจจุบันกลุ่มนี้ซื้อขายกันที่ P/E ประมาณ 16-17 เท่า สาเหตุที่ P/E ต่ำกว่ากลุ่มโรงพยาบาลบ้านเรา
เพราะว่าอัตราการเจริญเติบโตของรายได้และกำไรต่ำกว่าของบ้านเรา ที่น่าปลื้มใจก็คือ
เรามีกลุ่มโรงพยาบาลที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ใน ASIA
PACIFIC เลยทีเดียว คือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ (BGH) เป็นรองก็แต่เพียงกลุ่ม IHH ของมาเลเซียเท่านั้น
และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ก็เป็นโรงพยาบาลไทยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ
ทั้งยังเคยออกทางช่อง CNN เสียด้วย สัปดาห์หน้าเรามาต่อกันที่กลุ่มโรงพยาบาลบ้านเราว่าจะมีแนวโน้มดีต่อเนื่องหรือไม่กันครับ
กิติชัย เตชะงามเลิศ
03/09/57
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, L'Optimum และ Me(Market Evolution) ทุกเดือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น