บรรษัทภิบาลกับบลจ.
เมื่อเร็วๆนี้
ข่าวที่เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนทั่วไป คือ
การที่ผู้บริหารระดับสูงสุดหลายท่านของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ถูกกล่าวหาว่ามีการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการหาผลประโยชน์ในการซื้อขายหุ้น
จนถูกสั่งปรับโดย กลต. ซึ่งสังคมนักลงทุนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเป็นบทลงโทษที่เบาเกินไป จนล่าสุด
กลต ได้เขียนบทลงโทษให้หนักหนาขึ้นคือ นอกจากการปรับเป็นตัวเงินแล้ว
ยังต้องให้กรรมการที่ไม่มีบรรษัทภิบาลที่ดีต้องลาออกจากการเป็นกรรมการด้วย
ไม่นานมานี้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทดังกล่าว เพิ่งประชุมเสร็จ แล้วมีความเห็นสรุปได้ว่า
" การกระทำดังกล่าวของผู้บริหารระดับสูงดังกล่าว
เกิดจากการกระทำที่ไม่รอบคอบโดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ในกฏเกณฑ์ กลต. และได้ยอมรับการปรับตามบทลงโทษของกลต ไปแล้ว อีกทั้งที่ผ่านมา
กรรมการบริษัทดังกล่าวไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการขาดธรรมาภิบาล
จึงเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ใช่เจตนาของบุคคลดังกล่าว
ดังนั้นการชำระเบี้ยปรับและบทลงโทษของกลต. ถือเป็นบทเรียนสำคัญแล้วรวมทั้งได้กำชับตัดเตือนถึงการกระทำดังกล่าว"
นอกจากนี้บอร์ดเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ
ที่ควรให้โอกาสแก่คณะกรรมการดังกล่าว
และให้แต่งตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลเพื่อเพิ่มความรัดกุมมากขึ้นทางด้านจริยธรรม
และธรรมาภิบาลในทุกๆด้าน
อ่านจบแล้วนึกถึงคำพูดใครบางคนที่ว่า
" บกพร่องโดยสุจริต " ยังไงไม่รู้
และหวังว่าหลักสูตรทางด้าน Good Governance ของ COD จะเน้น CG มากขึ้น
อนึ่งการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายของกรรมการบริหารบริษัทดังกล่าวครั้งนี้สร้างความสนใจไม่เพียงนักลงทุนเท่านั้น
สังคมก็เกิดคำถามขึ้นมามากมาย
นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่คนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการมีบรรษัทภิบาลที่ดี
บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่หลายๆบริษัทมีการตื่นตัวในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ฝั่งสถาบันภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นสมาคม
บลจ. คปภ. บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต
กองทุนประกันสังคม รวมตัวกันเหนียวแน่น เพื่อกดดันบริษัทต่างๆที่ไม่มี CG ที่ดี โดยวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นี้ สมาคม บลจ.จะมีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางของสมาคมเพื่อให้สมาชิกปฏิบัตต่อกรณีดังกล่าว
ผมเองในฐานะเป็นทั้งนักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์
และผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนต่างๆ อยากให้ทาง บลจ.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รวบรวมเงินจากนักลงทุน
ผู้ออมเงินทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ควรจะต้องทำตัวเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุน
และสังคมในการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้บริหาร
และผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ให้เอาเปรียบนักลงทุนและผู้ออมเงิน ไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดๆดังต่อไปนี้
1. Insider Trading
2. ให้ข่าวหรือให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง
3.ซื้อหรือขายสินทรัพย์สูง
หรือต่ำกว่าราคาตลาด หรือราคาที่เหมาะสม เป็นจำนวนมาก
4. การออก
ESOP ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมากและหรือจำนวนหุ้นที่ออกมากเกินไป
5.การออกหุ้นขาย
PP ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมากๆให้กับกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถแสดงเหตุผลได้ชัดเจนว่า
จะสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทได้อย่างไร
6. การผ่องถ่ายกำไรให้กับบริษัทในเครือ
จากการที่มีรายการซื้อขายกับบริษัทในเครือในราคาที่ไม่ใช่ราคาตลาด 7.การทำ Treasury Stock โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ซื้อหุ้นไว้ในตลาดก่อนหน้าแล้วมาขออนุมัติการทำ
Treasury Stock แล้วเอาเงินบริษัทมาซื้อหุ้นตัวเองในตลาด
8. การบิดเบือนผลประกอบการ
เพื่อผลประโยชน์ของการสร้างราคาหุุ้นทั้งขึ้นและลง
ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมาต่อนักลงทุนที่ลงเชื่อตามงบการเงิน
และเหตุผลประกอบการงบการเงินที่บิดเบือน 9.การ
Takeover บริษัทอื่นๆในราคาที่ไม่สมเหตุสมผล ฯลฯ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมวันที่
18 กุมภาพันธ์ นี้ ของสมาคม บลจ. คงจะสร้างความเป็นบรรษัทภิบาลที่ดีในสังคมการลงทุน
เพราะว่าถ้า บลจ.ทุกบริษัทจับมือให้ความร่วมมือกันเหนียวแน่นที่จะไม่ลงทุนทั้งตราสารทุน
และตราสารหนี้ ของบริษัทที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
น่าจะทำให้บริษัทต่างๆคงต้องระมัดระวังพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายการไม่มี Good
Governance มิฉะนั้นราคาหุ้นก็จะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
หุ้นกู้ก็ต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ
กิติชัย เตชะงามเลิศ
17/2/59
17/2/59
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com และ http://money.sanook.com/kitichai/
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า A10 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
3.นิตยสาร Condo Guide ทุกเดือน
4.นิตยสาร คนรวยหุัน Me(Market Evolution) และ วารสารเภตรา ทุกไตรมาส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น