สมาคมโบรคเกอร์คิดผิด
?
จริงๆแล้ว
บทความสัปดาห์นี้ผมตั้งใจจะเขียนเรื่องผลตอบแทนจากหุ้นตอนที่3
ซึ่งจะพูดถึงกลุ่มสื่อสาร
แต่อดรนทนไม่ไหวกับมาตรการในการปฎิบัติงานของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแบบใหม่ที่เกี่ยวกับเรื่องช่องทางการรับเงินจากลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
ซึ่งแต่เดิม
เมื่อลูกค้าจะนำเงินฝากเข้าบัญชีของตนเองที่เปิดไว้กับทางบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ลูกค้าก็เพียงแต่นำเงินเข้าบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ที่ตนเองเป็นลูกค้าอยู่
แล้วแจ้งให้กับมาร์เก็ตติ้งที่ดูแลบัญชีของลูกค้ารายนั้นๆ
แล้วมาร์เก็ตติ้งก็จะแจ้งกับฝ่ายปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องเพื่อเครดิตเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากที่ลูกค้าเปิดบัญชีไว้กับ
บล ดังกล่าว อาจจะมีการให้ลูกค้ายืนยันโดย FAX SLIP เงินโอนดังกล่าวให้บล.นั้นๆ
หรือส่งผ่าน EMAIL เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่ลูกค้าโอนมาจริง
ซึ่งเราใช้แนวทางปฏิบัติแบบนี้มานานหลายสิบปี แต่ล่าสุดทางสมาคม บล.
ได้มีแนวทางปฏิบัติแบบใหม่กับทุกบล.ให้แจ้งแก่ลูกค้าได้ทราบถึงแนวทางปฏิบัติแบบใหม่สำหรับช่องทางการฝากเงินของลูกค้าเพื่อป้องกันการทุจริตแอบอ้างเป็นเงินของบุคคลอื่น
โดยมีเนื้อความดังนี้ “ทางบริษัทขอแจ้งให้ทราบว่าตั้งแต่วันที่
1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป บริษัท
จะรับเงินลูกค้าโดยวิธีการหักผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมมัติเท่านั้น (Automated
Transfer System /ATS) หรือการหักจากบัญชีแคชบาลานซ์ของลูกค้า (
CASH BALANCE) เท่านั้นยกเว้นลูกค้าที่เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่กับทางบริษัท
และอยู่ระหว่างรอผลการหักบัญชีอัตโนมัติจากธนาคาร
จะสามารถชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ได้โดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีบริษัท(ไม่เกิน 1 เดือนตามข้อบังคับตลาด)
หมายเหตุ 1)
การหักบัญชีเงินฝากธนาคารของลูกค้าดังกล่าวให้แจ้งภายในเวลา 17.00 น. เท่านั้น
2)
กรณีที่ลูกค้าไม่ดำเนินการตามวิธีที่กล่าวข้างต้น
แต่ใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของบริษัท ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการดำเนินคืนเงินโอนดังกล่าวให้แก่ลูกค้า
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย
โดยลูกค้าจะได้รับเงินคืนภายในวันทำการถัดไป (T+1) และบริษัท
จะไม่รับผิดชอบกรณีที่เกิดความเสียหายจากความล่าช้าในการคืนเงินดังกล่าว”
ผมเห็นว่าแนวทางปฏิบัติการดังกล่าว
สมาคม บล.คิดถึงแต่ตัวเองฝ่ายเดียว ผมเข้าใจว่า คงเกิดความผิดพลาดหลายครั้งจนสมาคม
บล. ต้องออกแนวทางใหม่ดังกล่าวมา แทนที่จะแก้ที่ต้นเหตุว่าความผิดพลาดเกิดจากอะไร แต่มาแก้ที่ปลายเหตุซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุใหม่ที่จะเกิดความผิดพลาดอีกแบบหนึ่งขึ่นมาได้
โดยคราวนี้ ความผิดพลาดที่เกิดขึ่น จะเป็นความเสียหายของลูกค้าโดยตรง
ผมยกตัวอย่างดูให้เห็นภาพความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
สมมติว่า บล. A
มีลูกค้าอยู่ 30,000 ราย มีการทำรายการคำสั่งฝากเงินจากลูกวันละ
10% เท่ากับ 3,000 ราย/วัน 1
ปีมีประมาณ 240 วันทำการ นั่นหมายความว่ามีรายการที่เจ้าหน้าที่ของ บล.
ที่จะต้องทำการหักบัญชี ATS ปีละ 720,000
รายการ ซึ่งนั่นหมายถึง โอกาสที่จะเกิดการผิดพลาดย่อมสูงตามไปด้วย เช่น ลูกค้าสั่งฝากเงิน
1 แสนบาทโดยเงินในบัญชีของลูกค้ามีอยู่ 1 ล้านบาท
โดยเงินส่วนที่เหลือในบัญชีของลูกค้าเหลือไว้เพื่อจะใช้ส่วนตัว ซึ่งอาจจะมีการตัดค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต
และค่าผ่อนดาวน์บ้าน
รวมทั้งเงินที่จะโอนไปบัญชีกระแสรายวันสำหรับเช็คที่ลูกค้าตีออกไป
ซึ่งบังเอิญเป็นวันเดียวกันกับที่จะฝากเงินเข้ากับ บล. แต่บังเอิญเจ้าหน้าที่ บล.
ส่งคำสั่งตัดเงินผิดไปเป็น 1 ล้าน (เลข 0 ต่างกันแค่ตัวเดียว)
กรณีนี้ทำให้เงินในบัญชี ATS มีไม่พอที่จะโอนไปบัญชีกระแสรายวันสำหรับเช็คที่ลูกค้าตีออกไป
รวมทั้งรายการบัตรเครดิตและค่าผ่อนดาวน์อสังหาก็ไม่สามารถตัดบัญชีได้
เช็คของลูกค้าเด้ง เสียเครดิตที่เคยมีกับธนาคารและผู้รับเช็ค ซ้ำยังต้องเสียค่าธรรมเนียมเช็คเด้ง
ลูกค้าต้องเป็นคนจ่าย ขอถามว่าใครจะรับผิดชอบ ถึงแม้ บล.จะโอนเงินกลับคืนให้ลูกค้า
วันรุ่งขึ้น แต่เช็คก็เด้งไปเสียแล้ว ระบบแบบนี้ไม่รู้คิดขึ้นมาได้อย่างไร
ที่ให้อำนาจ บล มีสิทธิมาหักบัญชีเงินฝากลูกค้าโดยตรง ถ้าเป็นการชำระหนี้ยัง ok
แต่นี่เป็นการฝากเงิน ที่ใช้ๆกันมีแต่การหักเพื่อชำระหนี้เท่านั้น
ไม่ว่าหนี้สินเชื่อต่างๆ ไม่เคยเห็นมีการตัดบัญชีเพื่อฝากเงินเลย
คิดผิดคิดใหม่ได้นะครับ
กิติชัย เตชะงามเลิศ
2/2/59
2/2/59
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
หรือ
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B8หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, และ Me(Market Evolution)
ทุกเดือน
ถ้าท่านชอบบทความผม
ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา
แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่
ท่านก็จะทราบทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น