TRUE....อีกแล้วเหรอ?(ตอนอวสาน)
บทความตอนที่แล้วผมพูดถึงกรณี
California wow ที่ปิดไปเมื่อ 6
ปีที่แล้ว ตามมาด้วยกรณีของกลุ่มทรูที่เพิ่งปิดบริการทุกประเภท ที่ให้บริการในประเทศไทยไปเมื่อวันที่
9 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยไม่มีการแถลงว่าจะรับผิดชอบและเยียวยาสมาชิกที่ยังมีสมาชิกภาพและบริการต่างๆ
ที่ได้ชำระเงินไว้ล่วงหน้าแล้ว คือปิดสถานบริการไปแบบหน้าตาเฉย โดยที่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้ากับสมาชิก
ตามหลักการของธุรกิจที่ดี ขนาดที่ว่าเจ้าของสถานที่ ที่กลุ่มทรูได้ไปเช่าพื้นที่ยังต้องติดป้ายประกาศว่า
"ทางอาคารไม่ได้รับการแจ้งจากกลุ่มทรู ว่าจะไม่เปิดให้บริการในวันนี้
ทางฝ่ายอาคารกำลังพยายามติดต่อกับทางกลุ่มทรู เพื่อฟังเหตุผลที่เป็นทางการ" การรับผิดชอบต่อลูกค้าอย่างทันท่วงที
ถือว่าเป็นคุณลักษณะของธุรกิจที่ดี มีจรรยาบรรณและมีบรรษัทภิบาลที่ดี แต่กลับไม่พบคุณสมบัติเช่นนี้จากกลุ่มทรู
ซึ่งในบทความที่แล้วผมได้เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของความรับผิดชอบของกลุ่มทรูที่มาเลเซียกับของไทย
ที่ต่างก็ปิดกิจการไปไล่ๆกัน ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทำให้เห็นถึงความใส่ใจที่แตกต่างกัน
ลองมาดูรายได้ของทรูฟิตเนสกันครับ
เมื่อปี 2556 บริษัทมีรายได้ 379 ล้านบาท หลังจากนั้นก็มีรายได้ก็ลดลงมาโดยตลอด ปี
2557 รายได้ 308 ล้านบาท ต่อมาปี 2558 รายได้ลดลงเหลือ 276 ล้านบาท คงเป็นเหตุผลที่ทำให้มีการปิด True Fitness ที่ Zen เมื่อปีที่แล้ว ส่วนรายได้ของ True Spa เมื่อปี 2556 มีรายได้รวม 231 ล้านบาท ต่อมาปี 2557
มีรายได้รวม 188 ล้านบาท ปี 2558
รายได้ลดลงเหลือเพียง 149 ล้านบาท ( หมายเหตุ : บริษัททรูฟิตเนสจำกัด ดำเนินธุรกิจ
True Fitness ส่วนบริษัททรูสปาจำกัด
ดำเนินธุรกิจ True Spa และ True
Est) โดยบริษัททรูสปาจำกัด ถึงแม้จะมีรายได้ลดลงก็ตาม
แต่ก็มีกำไรมาตลอด โดยปี 2556 มีกำไรสุทธิ 30.4 ล้านบาท ปี 2557
มีกำไรสุทธิลดลงเหลือ 6.6 ล้านบาท แล้วมาขาดทุนในปี 2558 โดยขาดทุนถึง 28 ล้านบาท คงเป็นเหตุผลที่ทำให้มีการปิด
True Spa และ True
Est ที่ Zen เมื่อปีที่แล้วเช่นกัน
การปิดให้บริการของกลุ่มทรู
ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับสมาชิกและผู้ที่ซื้อบริการ จึงมีสมาชิกกลุ่มหนึ่ง
ได้ไปร้องเรียนกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยนางนฤมล
เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค กล่าวว่า
การปิดดำเนินการโดยไม่แจ้งสมาชิกล่วงหน้า พร้อมทั้งไม่มีมาตรการเยียวยา
เข้าข่ายผิดสัญญา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค 2521
ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ “ธุรกิจนี้ถือเป็นธุรกิจสัญญา โดยมีการเรียกเก็บเงินผู้บริโภคล่วงหน้า
การจะปิดปรับปรุงก็ต้องแจ้งให้สมาชิกทราบและมีแผนรองรับสมาชิกว่าจะไปใช้บริการที่ไหน
มีกำหนดเปิดหลังการปรับปรุงที่แน่นอน ไม่ใช่ปิดหายเงียบไป
ติดต่อผู้ประกอบการก็ไม่ได้ สร้างความเดือดร้อนให้ผู้บริโภค
ซึ่งผู้บริโภคบางรายเพิ่งซื้อคอร์สและใช้งานไปเพียงไม่กี่ครั้ง ขอให้บริษัททรู สปา
ฯ ออกมารับผิดชอบรวมถึงเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
หรือไม่ก็คืนเงินส่วนที่เหลือให้กับผู้บริโภคก่อน
เมื่อปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเปิดรับสมาชิกใหม่อีกครั้ง”
หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคกล่าว
นอกจากนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าหากทางบริษัททรู
สปา ยังไม่ยอมออกมาเยียวยาผู้บริโภคโดยปิดตัวเงียบหายไปนั้นอาจเข้าข่าย
ฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 นั่นคือกระทำด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จต่อประชาชน
หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้บริโภคที่มีปัญหาดังกล่าวสามารถร้องเรียนเข้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ด้วยตัวเองโดยเตรียมเอกสารต่างๆ เช่นสัญญาการเป็นสมาชิก
หลักฐานการจ่ายเงิน และเพื่อความรวดเร็วเขียนลำดับสถานการณ์ตั้งแต่วันสมัคร
การใช้งานคอร์สต่างๆ จนถึงวันเกิดปัญหา เป็นต้น
หรือร้องเรียนปรึกษาทางโทรศัพท์หมายเลข 02-2483737 เวลา 09.00
– 17.00 น ร้องทุกข์ที่ complaint@consumerthai.org หรือร้องทุกข์ออนไลน์
https://goo.gl/lESHRR
นอกจากนั้นยังมีการรวมตัวของกลุ่มผู้เสียหาย จากการที่กลุ่มทรูปิดการให้บริการ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกประมาณ 500 คน ได้มีการสร้าง LINE Group และ Facebook Page(https://www.facebook.com/TrueFitnessTrueSpaTrueEst/ รวมคนที่ได้รับผลกระทบจาก True Fitness True Spa True Est)
เพื่อให้ผู้เสียหายได้มารวมตัวกัน และติดตามความคืบหน้าว่า
ทางกลุ่มทรูจะรับผิดชอบกับผู้เสียหายอย่างไร โดยล่าสุดได้มีการไปร้องเรียนที่สคบ.
สภาทนายความแห่งประเทศไทย สำนักพิทักษ์สิทธิด้านกฎหมายภาคพลเมือง ปปง. DSI และกองปราบปรามคุ้มครองผู้บริโภค แล้ว
และทางกลุ่มยังจะไปขอความช่วยเหลือจาก ท่านรองผบ.ตร. และ คสช. อีกด้วย
นอกจากนั้นยังกระทบชิ่งไปยังกองทุน Thailand
Prime Property Freehold and Leasehold Real Estate Investment Trust หรือเรียกสั้น ๆ ว่า TPRIME ที่บริหารจัดการโดย
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย หรือ KASSET ซึ่งเป็นกอง
REIT (รีท)
โดยมีทรัพย์สินที่ลงทุนคือ Exchange Tower ณ แยกอโศก และ Mercury Tower แยกชิดลม
ไม่ทราบว่ามีค่าเช่าค้างชำระอยู่หรือไม่
นอกจากนั้นกว่าทางฝ่ายบริหารโครงการ จะเข้าไปปรับปรุงเพื่อจะเปิดให้เช่าใหม่
คงจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งด้วย
จึงส่งผลกระทบไปถึงผู้ที่ถือหน่วยลงทุนกองทุนนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ถึงเวลาแล้วหรือยัง
ที่หน่วยงานรัฐจะต้องออกกฎหมายให้เข้มงวดและรัดกุม โดยเฉพาะกับสถานให้บริการ
ที่มีการชำระค่าบริการล่วงหน้าเป็นระยะเวลานานๆ
อย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมาอีกเลย เพราะนอกจากที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนบุคคล
แล้วยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติด้วยเช่นกัน
ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจต่างชาติแล้วมาสร้างความเสียหายให้กับคนไทย
ควรจะมีบทลงโทษที่หนักหนาสาหัส ไม่ใช่ล้มบนฟูกเหมือนกับที่ผ่านๆมา
สามารถอ่านบทความเรื่องนี้ตอนที่ 1 ได้ที่
TRUE....อีกแล้วเหรอ?(ตอนที่ 1)
หมายเหตุ : กลุ่มทรูที่ผมกำลังกล่าวถึง ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับทรูคอร์ปเลยแม้แต่น้อยนะครับ
สามารถอ่านบทความเรื่องนี้ตอนที่ 1 ได้ที่
TRUE....อีกแล้วเหรอ?(ตอนที่ 1)
หมายเหตุ : กลุ่มทรูที่ผมกำลังกล่าวถึง ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับทรูคอร์ปเลยแม้แต่น้อยนะครับ
กิติชัย เตชะงามเลิศ
16/6/60
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
3.นิตยสาร Be Link ทุกเดือน
4.นิตยสาร Me(Market Evolution) วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส
2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
3.นิตยสาร Be Link ทุกเดือน
4.นิตยสาร Me(Market Evolution) วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส
คอนโด เอดจ์ (Edge) ประสานมิตร ยูนิตที่ได้วิวสวนลอยฟ้าที่สวยที่สุด
สุขุมวิท 23 เดิน
1 นาทีจาก MRT 2 นาทีจาก BTS
ขายดาวน์ถูกสุดใน 3 โลก
ที่ตั้งโครงการ : ซอยสุขุมวิท 23
ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร
ประเภทโครงการ :
คอนโดมิเนียม สูง 35 ชั้น มีสโมสร สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย ร้านค้า มินิมาร์ท เนื้อที่โครงการ : 2 ไร่ 217 ตารางวา
ห้องที่จะขาย
ห้อง 8/271(011315)
ชั้น 12A ประเภทห้อง
1A : 1 นอน 1 น้ำ ฝ้าเพดานสูง 2.9 เมตร Fully Furnished มี เตาไฟฟ้าแบบCeramic
เครื่องดูดควัน แอร์ 2 ตัว ตู้เย็น
Digital TV 43 นิ้ว เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำร้อน
Microwave ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ พื้นที่ใช้สอย : 30 ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศเหนือ วิวสวนสวยมาก ราคา 6,300,000 บาท หรือเช่า 30,000/เดือน
ฟรี 1.ค่าส่วนกลาง 72 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือนเป็นเวลา1ปี สิ้นสุด 28/2/61
2.ค่ากองทุน 500 บาทต่อตารางเมตร
3.ค่าโอน 1%
และค่าใช้จ่ายอื่นๆในการโอน
4.ค่าขอและเงินมัดจำมิเตอร์ไฟฟ้า
รวมทั้งหมดมูลค่าประมาณ 100,000 บาท
ประเภทโครงการ
: คอนโดมิเนียม สูง 35 ชั้น 443 ยูนิต ล็อบบี้
ชั้น G และ Sky Lounge ที่ชั้น 27F
/ 27M ลิฟท์โดยสาร 3 ตัว ลิฟท์บริการ
1 ตัว และอาคารจอดรถ 9 ชั้น(มีลิฟท์ 2
ตัว) ชั้นส่วนกลางที่
27F และชั้นลอย มีสระว่ายน้ำ,
จากุซซี่, ฟิตเนสบนชั้น 27M ที่มองลงมาเห็นสระว่ายน้ำได้ มีการออกแบบที่ดีและสวยงาม ดีไซน์วงโค้งๆเป็นอกลักษณ์ของตึกเลย
ดาดฟ้าลานจอดรถ ทำเป็นพื้นที่นั่งเล่น ดื่ม และปาร์ตี้ได้นะครับ
สำหรับคนชอบสังสรรค์
สำหรับลูกบ้านเท่านั้น จำนวนห้องต่อชั้นสูงสุด 15 ห้อง เนื้อที่โครงการ : 2 ไร่ 217 ตารางวา ค่าส่วนกลาง
72 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ค่ากองทุน 500
บาทต่อตารางเมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น