เกษตรกรไทยจะเป็นง่อยก็เพราะรัฐ
ผมมีความเชื่อและศรัทธาในระบบการค้าเสรี
และไม่อยากเห็นการอุดหนุนราคาของผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางด้านอุตสาหกรรม
หรือบริการต่างๆ โดยรัฐ ยกเว้นแต่สินค้าหรือบริการเหล่านั้น ประเทศเรามีโอกาสที่จะได้เปรียบในอนาคตแต่ต้องการส่งเสริมและอุดหนุนควรมีเฉพาะในระยะเริ่มต้น
เพื่อให้อุตสาหกรรมที่ยังอ่อนแอ
สามารถตั้งตัวและมีความแข็งแกร่งและมีความได้เปรียบในการแข่งขันได้ในอนาคต
ขอเริ่มต้นที่ธุรกิจบริการก่อน
เมื่อปีที่แล้ว ผมได้รับเชิญจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งไปร่วมวงเสวนาเกี่ยวกับเรื่องค่าคอมมิชชั่นเสรีของธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์
ในฐานะตัวแทนของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งในวงเสวนาจะประกอบไปด้วย
ตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์(โบรคเกอร์) และรายย่อย ซึ่งผมได้แสดงความเห็นในครั้งนั้นว่าควรจะปล่อยให้ค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายหุ้น
เสรีได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบขั้นบันได
เพราะว่าธุรกิจการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ เริ่มพร้อมกับการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งก็เป็นระยะเวลานานเกือบ 40 ปีแล้ว
ธุรกิจโบรคเกอร์ควรจะยืนหยัดด้วยตนเองได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยตลาดหลักทรัพย์
กลต. มากำหนดอัตราค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำหรือขั้นบันได
แม้ว่าในอดีตเราเคยใช้ค่าคอมเสรีแล้วทำให้มีการแข่งขันสูงก็ตาม ผมเชื่อว่าในที่สุด
การแข่งขันก็จะลดลง แล้วก็เหลือโบรคเกอร์รายที่แข็งแกร่ง ส่วนรายที่อ่อนแอก็จะถูก Takeover
ไป ในที่สุดโบรคเกอร์ของเราก็จะมีความเข้มแข็งเมื่อเทียบกับ
โบรคเกอร์อื่นๆ ในภูมิภาค
พืชผลทางการเกษตร
ที่มีข่าวประท้วงราคาพืชผลตกต่ำบ่อยๆ ก็คือ ข้าว ยางพารา อ้อย เป็นต้น จริงๆ
แล้วรัฐควรจะอุดหนุนและส่งเสริมด้วยวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่การประกันราคาพืชผล
หรือรับจำนำข้าว สิ่งที่รัฐควรจะทำคือให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนา
เมล็ดพันธ์ที่ทำให้มีผลผลิตต่อไร่สูง และมีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ
แมลงร้ายต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช และปรับปรุงผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้น
ให้ความรู้ในการทำเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง
แจกเมล็ดพ้นธุ์พืชที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์แล้ว เมื่อผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูง
เกษตรกรก็ขายพืชผลเหล่านั้นได้ในราคาที่สูงขึ้น
ติดตามแนวโน้มราคาของพืชผลแต่ละชนิด แล้วเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรให้ทั่วถึง
ว่าพืชผลอะไรที่มีแนวโน้มราคาดีเกษตรกรจะได้หันมาปลูกพีชผลเหล่านั้น
พืชผลที่ราคาไม่ดีเกษตรกรจะได้เลี่ยงไม่ปลูก
ลองดูสิครับสมัยก่อนยางพารามีปลูกแต่ทางภาคใต้เท่านั้น
ปัจจุบันที่อีสานและภาคเหนือก็มีการปลูกกันมากมาย
เพราะว่าชาวนาบางส่วนเห็นว่ารายได้จากการทำสวนยาง ได้ผลตอบแทนสูงกว่าการทำนาข้าว
การให้ความรู้กับชาวนาในการทำสวนผักก็ไม่เลวนะครับ เพราะว่ามีรายได้เข้ามาเรื่อยๆ
เพราะว่าปีหนึ่งปลูกได้หลายครั้ง ไม่เหมือนกับการทำนาที่ทำได้เพียงปีละ 1-3
ครั้ง เท่านั้นแล้วแต่ประเภทของที่ดินที่ทำ ยิ่งปัจจุบันนี้
ราคาผักสดค่อนข้างจะแพงมาก หรือการปลูกพืชผลให้ออกผลไม่ตรงตามฤดูกาล เช่น มะนาว
ซึ่งหน้าแล้งจะแพงมาก ลูกละ 5-7 บาทเลยทีเดียว
ถ้าพัฒนาสายพันธุ์ให้มะนาวออกผลช่วงหน้าแล้งได้เกษตรกรเหล่านี้ก็จะได้ผลตอบแทนต่อไร่สูงขึ้น
ผู้บริโภคก็จะซื้อมะนาวได้ในราคาที่ถูกลง นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐใช้เงินไปแล้ว 6.7
แสนล้านบาท และยังตั้งวงเงินรอบใหม่อีก 2.70 แสนล้าน
รวมแล้วรัฐต้องใช้เงินเกือบ 1 ล้านล้านบาท โดยทาง TDRI
คาดการณ์ว่ารัฐจะขาดทุนจากโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท อย่าลืมนะครับข้าวเป็นผลผลิตที่เน่าเสียได้
การเก็บสต๊อกไว้รอขายตอนได้ราคา ทำได้เพียงช่วงเวลาที่จำกัด ปีๆ
หนึ่งชาวนาเสียภาษีที่ดินทำกินแค่ 2-4 บาท/ไร่ เท่านั้น
เงินภาษีที่ผู้เสียภาษีทั้งประเทศนำมาอุดหนุนแบบนี้ดูไม่ค่อยยุติธรรม
ถึงแม้ว่าผมมีความเห็นว่ารัฐควรจะช่วยเหลือเกษตรกรในฐานะผู้ด้อยโอกาส
แต่การช่วยเหลือควรจะเป็นรูปแบบที่ผมกล่าวถึงข้างต้นเสียมากกว่า
ซึ่งจะทำให้ชาวนาเรามีคุณภาพมากขึ้น
เมื่อรัฐอุดหนุนชาวนา
ชาวสวนยางก็อยากจะให้รัฐมาประกันราคายางให้ได้ที่ 100 บาท/กิโลกรัม โดยการปิดถนนประท้วง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผมเห็นว่าไม่ถูกต้อง
ทำให้ประชาชนที่สัญจรในเส้นทางนั้นเดือนร้อน เรามาเปรียบเทียบดูกันนะครับ
ยอดส่งออกข้าวอยู่ที่ปีละ 2 แสนล้านบาทในขณะที่ยอดส่งออกยางอยู่ที่
4 แสนล้านบาท/ปี
รัฐอุดหนุนโครงการรับจำนำข้าวเกือบแสนล้านบาท ส่วนยางพารารัฐใช้เพียงไม่กี่หมื่นล้านบาท
ชาวสวนยางก็จะได้ราคาประกันที่ 100 บาท/กิโลกรัม ที่เขียนมาแบบนี้ไม่ใช่ว่าผมจะเห็นด้วยกับการประกันราคายางนะครับ
ยิ่งมาดูต้นทุนการปลูกข้าวรวมค่าเช่าที่นาตกเพียง 6,000-8,000 บาท/ไร่ เมื่อหักค่าความชื้นแล้ว ที่ราคาประกัน 15,000
บาท ชาวนาจะได้กำไรถึง 4,000-5,000 บาท/ต้น เลยทีเดียว
กลับมาที่ตลาดหุ้นบ้านเรา หลังจาก SET
INDEX ไปทำจุดต่ำสุดที่ 1,260.08 จุด
เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แล้วก็มีการดีดกลับมาจนทะลุ 1,400 จุด เมื่อวันก่อน ผมคาดว่าแนวต้านในรอบนี้น่าจะอยู่แถว 1,425-1,435
จุด
ซึ่งเป็นจุดที่นักลงทุนระยะสั้นอาจจะขายออกไปเสียครึ่งหนึ่งของพอร์ต แต่นักลงทุนระยะกลางและระยะยาว
ยังแนะนำถือครับ เพราะปีหน้าเรามีโอกาสเห็น SET INDEX ที่เกิน
1,600 จุดค่อนข้างแน่
ก่อนจบบทความนี้
อยากให้เกษตรกรทุกท่านทราบว่า ราคาพืชผลการเกษตรขึ้นกับภาวะตลาดโลก
รัฐบาลไม่สามารถจะกำหนดราคาเองได้ มิฉะนั้น ผมกับเพื่อนๆ
จะขอประท้วงรัฐให้มาอุดหนุนราคาหุ้น ให้มีราคาสูงขึ้นบ้างนะครับ
กิติชัย
เตชะงามเลิศ
10/9/56
หนังสือ "จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร" ยอดขายขื้นอันดับหนื่งตั้งแต่วันแรกจำหน่ายและครองอันดับ 1 ติดต่อกันมานาน
ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Youtube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa ทุกเดือน
สนใจซื้ออสังหาเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ลองเข้า http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty
ขายที่ดินในหมู่บ้านวินด์มิลล์
แปลงหัวมุม สวยมาก ด้านหลังติดทะเลสาบ
เฟส2 เลขที่ F143 ซอย NORTH 11 พื้นที่ 333 ตารางวา ม.14 ถ.บางนา-ตราด กม.10.5 ต.บางพลีใหญ่
อ.บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ10540 หน้ากว้าง 30 เมตร ยาว 45 เมตร โดยประมาณครับ
เข้าออกได้
2 ทาง
1.
ถนน บางนา – ตราด กม.ที่ 10.5 ใกล้ถนนวงแหวนรอบนอก
2.
ถนน กิ่งแก้ว ซอย11
และ ซอย21
ราคา
วาละ 35,000
บาท
ด้านหน้า และ
ด้านข้างที่ดินแปลงนี้ติด ถนนโครงการ ด้านหลังติดทะเลสาบ, โครงการมีสนามกอล์ฟ,
สนามเทนนิส, สระว่ายน้ำและสโมสรสมบูรณ์แบบ อยู่ใกล้จุดขึ้นลงทางด่วน ABAC2 ราม2
ม.หัวเฉียว 2 โรงพยาบาล และห่างจากสนามบินหนองงูเห่าเพียง 5 ก.ม.
พร้อมเพื่อนบ้านมีระดับ อาทิเช่น คุณ ธนินทร์ เจียรวนนท์ เป็นต้น
กทม.จะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบาสายบางนา-สุวรรณภูมิ
เชื่อมต่อ BTS บางนา มีระยะทางประมาณ 18.3 กิโลเมตร คาดเริ่มก่อสร้างปี 2558 ระยะเวลา3
ปี ใช้งบประมาณ 25,000 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น