จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต

ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต

          ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีการเจริญเติบโตล้อไปกับเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยธุรกิจประกันชีวิตจะมีการเติบโตในอัตราที่สูงกว่าประกันภัย ในช่วง 10 ปีธุรกิจประกันชีวิตเติบโตที่ CAGR (Compound Average Growth Rate) = 16% ซึ่งโตเป็นประมาณ 4 เท่าของ GDP ของประเทศ อนึ่ง GDP เป็นค่าเฉลี่ยรวมของภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและบริการ ด้วยอัตราการเติบโตดังกล่าว ทำให้ผมสนใจในธุรกิจประกันชีวิตมา 6-7 ปี แล้ว แต่น่าเสียดายในสมัยนั้นมีบริษัทประกันชีวิตเพียงบริษัทเดียว ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต่อมาก็มีเพิ่มขึ้นมาอีก 1 บริษัท น่าเสียดายสำหรับนักลงทุนที่น่าจะมีบริษัทประกันชีวิตเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ตลาดหลักทรัพย์และ คปภ. น่าจะกระตุ้นบริษัทประกันชีวิตทั้งหลายที่อยู่นอกตลาดให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะทำให้นักลงทุนมีตัวเลือกในการลงทุนมากขึ้น แต่ที่เขียนมาแบบนี้ไม่ใช่ว่าบริษัทประกันชีวิต 2 บริษัทที่อยู่ในตลาดจะไม่ดีนะครับ ผมมองว่าบริษัทประกันชีวิตที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดีถึงดีเยี่ยมทีเดียว ในช่วงที่เกิด Hamburger crisis  ที่อเมริกาแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก ปีนั้นบริษัทประกันชีวิตบริษัทหนึ่งกลับมีกำไรเติบโตถึง 50% ทั้งๆ ที่ในปีนั้น หลายๆ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แย่ลง  หลายบริษัทถึงกับขาดทุนเสียด้วย นั่นแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจแม้แต่ในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำแต่การที่จะมีบริษัทประกันภัยและประกันชีวิตเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้นก็จะทำให้ Sector ประกันภัยและประกันชีวิต เป็นที่สนใจของนักลงทุนเพิ่มขึ้น ถึงแม้ข้อเสียของหุ้นในธุรกิจนี้จะมีสภาพคล่องในการซื้อขายค่อนข้างต่ำ เพราะว่านักลงทุนที่ลงทุนในกลุ่มธุรกิจนี้ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนระยะยาว ทำให้มีหุ้นหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ค่อยมาก แต่ระยะหลังๆ มานี้  ผมสังเกตเห็นมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันมากขึ้น ราคาหุ้นที่เคยถูกๆ ก็มีราคาสูงขึ้น จากการที่นักลงทุนโดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่เน้นคุณค่า (Value Investor) มีมากขึ้น จึงมีการไล่ราคาขึ้นมา ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมเห็นว่า มีราคาสูงขึ้นก็นำมาขาย ทำให้มีมูลค่าการซื้อขายมากขึ้น อย่างไรก็ตามผมก็ยังเห็นว่าราคาที่แม้จะขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีราคาค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน คงเป็นเพราะสภาพคล่องการซื้อขายที่ต่ำเลยโดน Discount จากนักลงทุนส่วนใหญ่ ผมมองว่าธุรกิจประกันชีวิตน่าจะเติบโตเป็น 3-4 เท่าของ GDP ไปอีกนาน จากการที่คนไทยเพียง 32% ที่ถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตเท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับคนญี่ปุ่นที่ทำประกันชีวิตมากกว่า 100% (บางคนทำประกันชีวิตมากกว่า 1 กรมธรรม์) นั่นหมายถึงยังมีช่องว่างในการเติบโตอีกมาก ฐานอายุของคนไทยโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อยๆ มาหลายปีแล้ว ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตน่าจะมีเบี้ยรับเพิ่มขึ้น จากจำนวนคนที่ทำประกันชีวิตมากขึ้น และเบี้ยรับ/คนมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นด้วย การส่งเสริมของรัฐบาลก็มีต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากสมัยก่อนที่ลดหย่อนได้ 50,000 บาทกลายเป็น 100,000 บาท และคนที่ซื้อประกันบำนาญยังสามารถลดหย่อนได้เพิ่มอีกสูงสุดถึง 200,000  บาท ปัจจุบันผมยังรอดูว่าเมื่อไหร่ที่สรรพากรจะยอมให้นำเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนได้เสียที
          ส่วนธุรกิจประกันภัยของไทยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีการเติบโตที่ CAGR = 11% ถึงแม้จะต่ำกว่าประกันชีวิตก็ตาม แต่ยังโตกว่า GPP ถึง 2 เท่ากว่าๆ ซึ่งก็เป็นอีกประเภทธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจเมื่อปี 2554 ตอนน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สร้างความสูญเสียให้กับทรัพย์สินมหาศาล มีผลทำให้บริษัทประกันภัยทุกบริษัทประสบปัญหาขาดทุนบางบริษัทถึงกับเกือบล้มละลาย ถ้าไม่มีการเพิ่มทุน พอมาปี 2555 ทุกบริษัทประกันภัยก็มีการขึ้นเบี้ยประกัน แต่โชคดีปีที่แล้วน้ำไม่ท่วม ทำให้บริษัทประกันภัยหลายๆ บริษัท มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ กอรปกับโครงการรถคันแรกจากปีที่แล้ว ทำให้มีจำนวนรถยนต์ใหม่ที่ทำประกันเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นพวกมือใหม่หัดขับ อุบัติเหตุการเคลมอาจจะมีมากขึ้น Loss Ratio ของบริษัทประกันภัยสูงขึ้น ไม่ทราบว่าสรุปแล้วจะเป็นทุกขลาภสำหรับบริษัทประกันภัยหรือไม่ ค่าสินไหมน้ำท่วมที่ Reinsurer บางรายขอต่อรองที่จะจ่ายให้ไม่เต็ม 100% ซึ่งกำลังเป็นเรื่องคาราคาซังอยู่ ทำให้บริษัทประกันภัยต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น ซึ่งบางบริษัทก็ได้ตั้งสำรองไปบ้างแล้ว ซึ่งเมื่อ Reinsurer ชำระมาเกินกว่าที่บริษัทประกันภัยตั้งไปแล้วก็จะมีการกลับรายการมาเป็นรายรับ ทำให้กำไรดีขึ้น สิ่งที่ผมสนใจที่สุดก็จะมีการกลับรายการมาเป็นรายรับ ทำให้กำไรดีขึ้น สิ่งที่ผมสนใจที่สุดก็จะมีการกลับรายการมาเป็นรายรับ ทำให้กำไรดีขึ้น สิ่งที่ผมสนใจที่สุดก็คือ พรบ. 2 ล้านล้านกับโครงการป้องน้ำท่วม 3.50 แสนล้านบาท เป็นโครงการที่ใหญ่มาก ย่อมต้องมีการทำประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นระหว่างก่อสร้างหรือหลังก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นเค็กก้อนใหม่ที่ใหญ่มากเพิ่มขึ้นมาสำหรับธุรกิจประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยที่มีโอกาสจะได้รับเค็กก้อนนี้ แน่นอนต้องเป็นบริษัทประกันใหญ่ระดับ TOP5 ของประเทศ ยิ่งบริษัทประกันไหนถือหุ้นโดยหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐมากๆ น่าจะมีโอกาสมากกว่าบริษัทอื่นๆ นักลงทุนน่าจะลองศึกษาวิเคราะห์ดูนะครับ
          ส่วนตลาดหุ้นบ้านเรายังรอปัจจัยทางการเมืองในประเทศเป็นหลัก ปัจจัยเรื่องงบประมาณและ QE ของสหรัฐเป็นเรื่องรองครับ ในช่วงนี้ผมยังยืนยันถ้า SET INDEX ลงมา เป็นจังหวะดีในการทยอยเข้ารับเพื่อลงทุนข้ามปีครับ

 กิติชัย เตชะงามเลิศ
                                                                                          30/10/56
หนังสือ "จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร" ยอดขายขื้นอันดับหนื่งตั้งแต่วันแรกจำหน่ายและครองอันดับ 1 ติดต่อกันมานาน

ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่ 
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk 
Youtube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Blog :  http://kitichai1.blogspot.com
Instagram : Gid_Kitichai

หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน
     

สนใจซื้ออสังหาเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ลองเข้า http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty

คอนโดหรูบนถนนอโศกติดสี่แยกอโศก-สุขุมวิท (เดินครึ่งนาที จาก MRT,BTS อโศก) ราคา XX,000/ตรม.


      ขาย คอนโดลาสโคลินาส อยู่ บนถนนอโศกติดสี่แยกอโศก-สุขุมวิท (เดินครึ่งนาที จาก MRT,BTS อโศก) โครงการมีสระว่ายน้ำ ห้องฟิตเนส ห้องล๊อคเกอร์ ซาวน่า สตีม แยกชายหญิง สควอช 1 คอร์ท ห้องสนุกเกอร์ ห้องตีปิงปอง สนามเด็กเล่น ห้องที่จะขายอยู่ชั้น 30 พื้นที่ 192 ตารางเมตร พร้อมที่จอดรถส่วนตัว 1 คัน ในห้องนี้ มี 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ รับแขก ครัว ซักล้าง และห้องคนรับใช้พร้อมห้องน้ำในตัว 1 ห้อง เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สวยมาก ครบถ้วน ขายที่ราคา 19 ล้านบาทถ้วน 

 ดู VDO ที่ผมถ่ายภายในห้อง ที่ http://www.youtube.com/watch?v=fZ5HU0HoyCY

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น