8 สิ่งที่ควรทำช่วงปลายปี ตอนจบ
2 สัปดาห์ที่แล้วผมได้พูดถึงสิ่งที่ควรทำช่วงปลายปีไป
6 ข้อแล้ว สัปดาห์นี้เรามาต่อที่เหลือกันเลยครับ
7). ตรวจสุขภาพประจำปี
โดยเฉพาะท่านที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไปควรจะตรวจทุกๆ ปี และท่านที่มีอายุ
60 ปี ขึ้นไปควรจะตรวจปีละ 2 ครั้ง
ทำให้เราทราบว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมา
ลักษณะการใช้ชีวิตเราเป็นการส่งเสริมหรือทำลายสุขภาพของเราเอง
ถ้าท่านมีกำลังทรัพย์มากหน่อย การตรวจดูว่าร่างกายท่านมีแร่ธาตุ วิตามิน
ฮอร์โมนต่างๆ มากหรือน้อยเกินไป อะไรที่ขาดก็พยายามทานผักผลไม้ที่ให้แร่ธาตุ
วิตามิน ที่ขาด หรืออาจทานอาหารเสริมตัวที่ขาด
และลดหรือหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีแร่ธาตุ วิตามินตัวที่ร่างกายมีมากเกินไป
และตรวจเสริมดูว่าร่างกายเราแพ้อาหารชนิดใด จะได้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทนั้น
มิฉะนั้นจะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นภายในร่างกาย การเกิดขึ้นบ่อยๆ จะเป็นการสะสม
ทำให้เกิดโรคร้ายแรงในภายหลังได้ ยึดหลักง่ายๆคือ รับประทานอย่างไรได้อย่างนั้น ควรรับประทานอาหารในปริมาณพอเหมาะ
เลือกทานอาหารสดใหม่ได้โภชนาการ ทานผักผลไม้ให้ได้หลายสีสัน
ทานปลาและเนื้อสัตว์ต่างๆ ลดการทานน้ําตาลและคาร์โบไฮเดรต
การป้องกันดีกว่าการรักษา ต้นทุนของการป้องกันนั้นถูกกว่าค่ารักษาพยาบาลมาก
ปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลโดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชนสูงมาก
ดังนั้นการที่มีสุขภาพที่แข็งแรงทำให้ท่านประหยัดค่าใช้จ่ายด้านนี้ไปได้มาก
ทำให้ท่านมีเงินเหลือที่จะไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนและเสริมความมั่นคงให้กับชีวิตของท่าน
8). วางแผนทั้งด้านการลงทุนและการใช้ชีวิตในปีหน้าว่าจะดำเนินไปในทางใด
โดยปกติช่วงปลายปีผมจะคิดว่าปีใหม่นี้ผมควรจะกำหนด New Year Resolution ไว้ ซึ่งปีนี้ New Year Resolution ของผมจะให้ความสำคัญทั้งร่างกายและจิตใจ
โดยผมตั้งใจจะทำดังนี้
ก. นอนหลับให้เร็วขึ้น ตั้งใจจะนอนก่อน 22.30
น.เพราะว่าช่วงเวลา 22.00—01.00น.
ร่างกายคนเราจะหลั่ง Melatonin เพื่อไปกระตุ้นต่อมใต้สมองให้ผลิต
Growth Hormone เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
อันมีผลให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
ข.
จะลุกจากเก้าอี้ทำงานเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถทุก 1-2 ชั่วโมง
เพื่อลดอาการ Office Syndrome
ค.
ออกกำลังกายโดยการยกน้ำหนัก เดินเร็ว รำกระบอง ฝึกโยคะ และว่ายน้ำ สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า
3
ครั้ง นอกจากทำให้สุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดอาการเจ็บปวดจากอาการ Office
Syndrome ได้เป็นอย่างดี และการออกกําลังกายสามารถช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนที่กันแก่ชราได้
ง.
เดินสูดอากาศและรับแดดยามเช้าช่วงเวลา 7.00-8.00 น. สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 1
ครั้งที่สวนสาธารณะ เพื่อฟอกปอดและช่วยให้ร่างกายสร้าง Vitamin
D ทำให้กระดูกแข็งแรง ลดโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน
จ.
เลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพ(ดีกว่าต้องมาทานยา) ลดและพยายามเลิกทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ผมเองก็เพิ่งซื้อเครื่องปั่นแรงสูงมาปั่นผักผสมผลไม้ทานทุกมื้อที่อยู่บ้าน
ฉ.
เดินทางท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศบ่อยขึ้น เป็นการให้รางวัลชีวิตที่ดีมาก
สุขภาพจิตก็จะดีตามไปด้วย
เดินทางท่องเที่ยวบางครั้งยังทำให้ผมได้ไอเดียบางอย่างเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนด้วยเช่นกัน
จะเห็นว่าผมเน้นในเรื่องสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
เพราะว่าปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลสูงมาก
ต้นทุนของการดูแลสุขภาพนั้นถูกกว่าค่ารักษาพยาบาลเป็นอย่างมาก
และสุขภาพที่ไม่ดีจะเป็นตัวลดความมั่งคั่งของท่านอย่างมาก อย่าให้การมีอายุยืนกลายเป็นความเสี่ยงของชีวิต
บทความนี้ขอส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ขอให้ท่านผู้อ่านประสบความสำเร็จในการลงทุนมีสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและเฮงๆรวยๆกันถ้วนหน้านะครับ
8 สิ่งที่ควรทำช่วงปลายปี ตอนที่ 2
สัปดาห์ที่แล้วผมได้พูดถึงสิ่งที่ควรทำช่วงปลายปีไป
3
ข้อแล้ว สัปดาห์นี้เรามาต่อที่เหลือกันเลยครับ
4). ทบทวนสิ่งที่เราทำไปตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันว่า
เราได้ทำสิ่งดีๆ หรือสิ่งไม่ดีกับตัวเองครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน สังคมไทย
และโลกอย่างไรบ้าง โดยยึดหลัก เอาใจเขามาใส่ใจเรา
สิ่งใดที่ดีก็จะนำไปปฏิบัติต่อในปีหน้า สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้น
ส่วนในด้านการลงทุน ผมก็มักจะทบทวนดูว่า การลงทุนในปีนั้นๆ ได้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร
หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนไปมีรายการไหน ที่ตัดสินใจถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร
โดยเปรียบเทียบกับ Benchmark โดยหุ้นผมจะใช้ SET
INDEX เป็น Benchmark บวกกับอัตราเงินปันผลซึ่งผมมักจะตีคร่าวๆ
ว่ามีค่าเท่ากับ 3% ซึ่งก็จะคำนึงถึงสภาพตลาดหุ้นและ Sector
ของหุ้นที่ผมลงทุนประกอบด้วย
และจุดมุ่งหมายที่ตัดสินใจลงทุนตั้งแต่แรกว่าคิดอย่างไร และเป็นไปตามที่คิดไหม
ส่วนอสังหาริมทรัพย์ ผมจะดูจากผลตอบแทนที่ได้รับ และความรวดเร็วในการขาย
5). ทบทวนหนี้สิน (ถ้ามี)
ว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากอะไรบ้าง และอัตราดอกเบี้ยสูงต่ำอย่างไร
โดยพยายามที่จะไม่ก่อหนี้เพื่อสินค้าที่เสี่อมมูลค่าได้ง่าย เช่น รถยนต์
โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ปัจจุบันนี้ธุรกิจผ่อนสินค้ารุกไปถึงเครื่องสำอางและทัวร์แล้ว
ผมไม่เข้าใจคนที่ซื้อสินค้าเหล่านี้ด้วยเงินผ่อนคิดอย่างไร
โดยเฉพาะเครื่องสำอางและทัวร์ ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็นกับชีวิตเลย
ซึ่งอัตราดอกเบี้ยประเภทสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ประมาณ 20กว่า%ต่อปี การที่ท่านจะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนในระดับนั้นอย่างต่อเนื่อง
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว ขนาด Warren Buffet นักลงทุนที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ยังทำผลตอบแทนได้ประมาณ 20 กว่า % เท่านั้น
ยกเว้นแต่ท่านมีเงินมากพออยู่แล้ว อยากซื้อมาใช้ หรืออยากไปเที่ยว
อย่างนั้นไม่ว่ากัน ส่วนคนที่เป็นหนี้
ควรจะพยายามลดและล้างหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงที่สุดไปก่อน ส่วนมากมักจะเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต
และสินเชื่อส่วนบุคคล
หลังจากล้างหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงไปหมดแล้วค่อยมาเปรียบเทียบดูว่า
ระหว่างคงหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ
กับมีเงินเหลือนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่คาดหวังผลตอบแทนได้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่
1.50-2 เท่าเป็นต้นไป หรือจะไปล้างหนี้ให้หมดเสียก่อน
แล้วค่อยคิดที่จะลงทุน นั่นคงแล้วแต่ Risk Appetite ของแต่ละท่านและความเชื่อมั่นของทรัพย์สินที่จะลงทุนว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนตามที่คาดหวัง
และควรตั้งสัตย์ปฏิญานตนว่าจะไม่ก่อหนี้สินเพื่อซื้อสินค้าที่เสี่อมมูลค่าได้ง่ายดังกล่าวอีก
ยกเว้นการก่อหนี้เพื่อซื้อสินทรัพย์ที่จะทวีมูลค่าเมื่อเวลาผ่านไป เช่น บ้าน หรือ
คอนโดไว้อาศัยอยู่เองหรือเพื่อปล่อยเช่า
แต่ควรที่จะได้ผลตอบแทนจากการเช่าไม่ต่ำกว่า 5-6% ถ้าอย่างนี้
ผมขอสนับสนุนเต็มที่ครับ เพราะว่าท่านจะประหยัดค่าเช่าบ้าน
และไม่ว่าท่านจะจ่ายค่าเช่าไปกี่สิบปี ท่านก็ไม่มีวันที่จะได้เป็นเจ้าของ
ในขณะที่ถ้าท่านผ่อนบ้านหรือคอนโดกับธนาคาร ภายใน 20-30ปี
แล้วแต่ระยะเวลาที่ท่านกู้ ในที่สุดท่านก็จะได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้น
และราคาก็คงจะมีมูลค่ามากกว่าราคาที่ท่านซื้อไว้
กำไรทั้งได้อยู่อาศัยและมูลค่าที่สูงขึ้น
6).อย่าลืมนำเงินปันผลมาเครดิตภาษี
และตรวจสอบดูว่าสามารถนำค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่นำมาลดหย่อนภาษีได้
เช่นดอกเบี้ยกู้ซื้อที่อยู่อาศัยตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท เงินบริจาคแก่สถานศึกษา ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
เงินบริจาคแก่วัดวาอาราม มูลนิธิ ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้ว และค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
บิดามารดา คนพิการ เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส
ซึ่งมีเงื่อนไขบางประการ ลองศึกษาดูจากคู่มือวิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมครับ
เนื้อที่หมดแล้ว มาอ่านต่ออีก 2
ข้อที่เหลือในสัปดาห์หน้านะครับ
กิติชัย เตชะงามเลิศ
12/1/59
12/1/59
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
หรือ
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B8หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, และ Me(Market Evolution)
ทุกเดือน
ถ้าท่านชอบบทความผม
ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา
แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่
ท่านก็จะทราบทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น