จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเลือกซื้อหุ้นเข้าพอร์ต


การเลือกซื้อหุ้นเข้าพอร์ต
          สำหรับนักลงทุนที่ไม่ขยันทำการบ้าน การซื้อหุ้นตาม SET50 หรือ SET100 ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์จะประกาศรายชื่อหุ้นที่เข้าสู่ตารางการคำนวณ ปีละ 2 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 1 มกราคม - 30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม -31 ธันวาคม โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อหุ้นดังกล่าวได้จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ (www.set.or.th) ทุกครั้งที่มีการถอดหุ้นเดิมออกจากการคำนวณและการเพิ่มหุ้นใหม่เข้าไปแทน จะมีผลต่อราคาหุ้นดังกล่าว โดยหุ้นที่ถูกถอดออกไปราคาก็จะตกลง  ขณะที่หุ้นใหม่ที่ถูกเลือกเข้าไป ราคาก็จะสูงขึ้น โดยหุ้นใน SET50 จะมีผลกระทบมากกว่า SET100 อาจจะเป็นเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับหุ้นตัวใหญ่ใน SET50 โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันที่บริหารพอร์ตโดยอิงกับ SET50 ก็อาจจะมีการสับเปลี่ยนหุ้นในพอร์ตที่บริหารอยู่ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์ นอกจาก SET50 และ SET100 แล้ว ปัจจุบันยังมีอีก 2 INDEX คือ SETHD (SET HIGH DIVIDEND 30 INDEX) และ FTSE SET INDEX โดย SETHD เริ่มมีตั้งแต่ 30 มิถุนายน 2554 โดยตลาดหลักทรัพย์จะเลือกหุ้นที่จ่ายปันผลดี โดยดูย้อนหลัง 3 ปี ส่วน FTSE SET INDEX ประกอบไปด้วย 6 ดัชนีย่อย คือ
          1.  FTSE LARGE CAP ซึ่งประกอบด้วยหลักทรัพย์ 30 ตัวแรกในกระดานหลักโดยพิจารณาเรื่อง FREE FLOAT และสภาพคล่องในการซื้อขาย
          2.  FTSE SET MID CAP เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ใน 90% แรกของกระดานหลักเรียงตาม MARKET CAP และไม่อยู่ใน FTSE LARGE CAP
          3.  FTSE SET SMALL CAP เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ใน 98% แรกของกระดานหลัก แต่ไม่อยู่ใน 2 ประเภทแรก
          4.  FTSE SET ALL SHARE ประกอบด้วยหลักทรัพย์ทุกตัวใน 3 ประเภทแรก
          5.  FTSE SET MID/SMALL CAP ประกอบด้วยหลักทรัพย์ทุกตัวใน ประเภท 2 และ 3
          6.  FTSE SET FLEDGLING ประกอบด้วยหลักทรัพย์ในกระดานหลักที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะรวมอยู่ใน FTSE SET ALL SHARE INDEX
          ซึ่งทั้ง SETHD และ FTSE SET INDEX (ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างตลาดหลักทรัพย์กับ FTSE ของ UK) จะมีการทบทวนรายชื่อหลักทรัพย์ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม แต่ INDEX ที่เป็นที่นิยมมากสุดคือ SET50 รองลงมาคือ SET100 แต่ SETHD และ FTSE SET ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในหมู่นักลงทุนรายย่อยมากนัก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหุ้นใน 2 ดัชนีหลัง จะมีผลต่อราคาหุ้นน้อยมาก ปัจจุบันหลายๆ บลจ. มีการออกกองทุนประเภท PASSIVE FUND คือกองทุนที่ลงทุนโดยอิงตามดัชนี SET50 หลายกองทุน บริหารโดยหลาย บลจ. ซึ่งกองทุนประเภทนี้จะคิดค่าบริการกองทุนในอัตราที่ต่ำกว่ากองทุนประเภท ACTIVE FUND ซึ่งผู้บริหารกองทุนจะต้องใช้สมองมากหน่อย ในการคัดเลือกหุ้นที่มีผลประกอบการดีมีอนาคตมาใส่ไว้ในพอร์ต ผมสังเกตเห็นทุกปี จะมีกองทุน ACTIVE FUND ที่สร้างผลตอบแทนแย่กว่ากองทุนประเภท PASSIVE FUND แสดงว่าผู้บริหารกองทุน ACTIVE FUND นั้นๆ บริหารแย่กว่า SET INDEX ถ้าเราให้ SET INDEX เป็น BENCHMARK ส่วนกองทุน PASSIVE FUND ควรจะสร้างผลตอบแทนพอๆ กับค่าการเปลี่ยนแปลงของ SET INDEX บวกกับอัตราเงินปันผล (DIVIDEND YIELD) นอกจากนี้แล้วปีนี้เป็นปีแรกที่ทางผู้บริหารบลจ. ทั้งหลายมาจับมือกัน ตกลงกันว่าต่อไปนี้จะไม่ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ไม่มีบรรษัทภิบาลที่ดี ซึ่งผมสนับสนุนอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการโน้มน้าวให้ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาด MAI จะได้ประพฤติตนอยู่ในกรอบปฏิบัติที่ดีไม่สร้างความเสียหาย ให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะรายย่อยที่ชอบลงทุนในหุ้นปั่น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้บริหารของบริษัทเหล่านั้นน่าจะไม่มีบรรษัทภิบาล ผมยังอยากให้ตลาดหลักทรัพย์ เพิ่มดัชนีอีกตัวคือ ดัชนีบรรษัทภิบาล ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น 3 ดัชนีย่อย โดยแบ่งเป็น BIG CAP MIDCAP และ SMALL CAP โดยแต่ละดัชนีย่อยอาจจะมีหุ้นประมาณ 30 บริษัท เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะรายย่อยที่บางครั้งอาจจะหลงลงทุนในหุ้นปั่นหรือหุ้นที่มีบรรษัทภิบาลไม่ดี
          นอกจากดัชนีที่ตลาดหลักทรัพย์สร้างขึ้นมาแล้ว ยังมีดัชนีสากลที่มีนักลงทุนทั่วโลกใช้เป็น BENCHMARK คือ ดัชนี MSCI/MORGAN STANLEY CAPITAL INTERNATIONAL) สำหรับประเทศไทยนั้นมีดัชนี MSCI ที่นำประเทศไทยเข้าไปรวมใช้คำนวณในดัชนีทั้งหมด 29 ดัชนี เช่น ดัชนี MSCI ASIA EX JAPAN เป็นต้น โดย MSCI ได้สร้างดัชนี MSCI THAILAND โดยเลือกหุ้นตามเกณฑ์ของ MSCI เช่น หุ้นตัวที่ถูกเลือกจะต้องมี FREE FLOAT ขั้นต่ำ 15% และเมื่อคูณ MARKET CAP ด้วย ค่า% ของ FREE FLOAT แล้วต้องสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งในประเทศไทย หุ้นที่จะเข้าเกณฑ์ต้องมี MARKET CAP ขั้นต่ำ 250 ล้าน $ เป็นต้น นอกจากนั้นหุ้นไทยก็ยังถูกคัดเลือกไปใส่ไว้ใน MSCI GLOBAL SMALL CAP อีกด้วยโดยหุ้นล่าสุด20 ตัว  คือ  ANAN, BMCL, EA, EASTW, GRAMMY, GUNKUL, JMART, KTC, MALEE, N-PARK, OFM, OISHI, SAMTEL, SPCG, TFD, THRE, UMI, UV, VGI และ WHA โดยจะมีผลวันที่ 1 มิถุนายนนี้ หุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าไปโดยส่วนใหญ่ราคาจะดีดขึ้นหลังจากมีข่าวออก และหุ้นที่ถูกคัดออกก็จะมีราคาตกลง ผมดูรายชื่อหุ้นที่ถูกคัดเข้าไปในรอบนี้แล้ว หลายตัวเป็นหุ้นที่ผมไม่สนใจเลย และบางบริษัทผลประกอบการยังแย่อยู่เลย ยังต้องรอลุ้นว่าผลประกอบการจะดีขึ้นหรือไม่ บางบริษัทผลประกอบการแย่ลงก็มี นักลงทุนทุกท่านใดนี้จะลงทุนในหุ้นตามดัชนี MSCI GLOBAL SMALL CAP นี้ ก็พิจารณาให้ดีด้วย ตาดีได้ตาร้ายเสียนะครับ

ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่
และ BLOG : http://kitichai1.blogspot.com
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10
 และนิตยสารคนรวยหุันCondo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน

                            กิติชัย เตชะงามเลิศ


วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ฤดูผลประกอบการที่นักลงทุนรอคอย


ฤดูผลประกอบการที่นักลงทุนรอคอย


          ปกติบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาด MAI จะต้องส่งงบการเงินให้ตลาดปีละ 4 ครั้ง โดย 3 ไตรมาสแรกจะต้องส่งหลังจากปิดงบ ณ สิ้นไตรมาสภายใน 45 วัน ยกเว้นไตรมาสสุดท้าย ซึ่งบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จะส่งเป็นงบปีโดยตลาดกำหนดให้ส่งภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าบริษัทใดส่งไม่ทันตลาดก็จะขึ้นเครื่องหมาย NP เพื่อแจ้งนักลงทุนให้ทราบว่าตลาดกำลังรอบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ ส่งงบการเงินมาให้ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อจะเผยแพร่งบดังกล่าวให้นักลงทุนทราบ หลังจากนั้นก็จะมีเทศกาล  OPPORTUNITY DAY หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า OPP DAY ซึ่งเป็นงานที่บริษัทจดทะเบียนมาพบกับนักลงทุน มาเล่าเรื่องราวของธุรกิจของตนในไตรมาสที่ผ่านมาแก่นักลงทุน  รวมถึงชี้แจงงบการเงินผลประกอบการและพูดถึงโครงการที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งจะจัดขึ้นที่ตลาดหลักทรัพย์  ความสนใจของนักลงทุนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความนิยมในบริษัทนั้นๆ ถ้าช่วงนั้นบริษัทจดทะเบียนรายใดมีมูลค่าการซื้อขาย/วัน คึกคัก ก็คาดเดาได้เลยว่าวันที่บริษัทนั้นมานำเสนอข้อมูลในเทศกาล OPPDAY จะมีคนเข้าฟังล้นหลาม ถ้าท่านนักลงทุนติดธุระไม่สามารถเข้าร่วมฟังผู้บริหารพูดด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการถ่ายทอดทางอินเตอร์เน็ตในรูป WEBCAST ซึ่งสามารถจะดูสดๆ ได้เสมือนกับการเข้าฟังในห้องประชุมของตลาดเลยทีเดียว  หรือถ้าไม่สะดวกจะรับชมในช่วงขณะนั้น ตลาดหลักทรัพย์ก็ยังทำเป็นวีดีโอให้ชมกันภายหลังอีกด้วย ถือว่าสะดวกมากๆ ซึ่งผมเองก็ใช้วิธีชมทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบ WEBCAST และ VDO แล้วแต่ความสะดวกและถ้าชมสดๆ ในรูป WEBCAST ท่านยังสามารถส่งข้อความถามผู้บริหารได้ในทันที ส่วนคำถามของท่าน อาจจะได้รับการตอบหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหารบริษัทนั้นๆ และเวลามีเพียงพอหรือไม่ ผมขอชมเชยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่กรุณาจัดให้มีงาน OPP DAY พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดสดและอัดเป็น VDO ให้นักลงทุนได้มีโอกาสติดตามและสอบถามข้อมูลจากผู้บริหาร เพื่อเป็นการพิจารณาที่จะตัดสินใจลงทุนในบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้น ถ้าผมจำไม่ผิดงาน OPP DAY เริ่มมีครั้งแรกในสมัยทีท่านกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ และท่านก็เป็นผู้ก่อตั้งห้องสมุดมารวย (มารวย เป็นชื่อของผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคนแรก ที่นักลงทุนสมัยนั้นชื่นชมผลงานและการเอาใจใส่ต่อนักลงทุนเป็นอย่างมาก) เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนทั้งไทยและเทศ ให้นักลงทุนเข้ามาใช้บริการ และถ้าเป็นสมาชิกก็สามารถยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ด้วย เมื่อเวลาผ่านไป จากประสบการณ์ตรงของผม ผู้เข้าไปใช้บริการจะเป็นนิสิตนักศึกษามากกว่าครึ่ง เข้าไปทำรายงานในห้องสมุด บางท่านมาคนเดียวแต่วางของบนโต๊ะและเก้าอี้ไว้เต็มหมดเลย กะว่าคนอื่นไม่ต้องมานั่งด้วย ซ้ำร้ายไปกว่านั้น บางท่านเอาของมาวางเต็มโต๊ะและเก้าอี้แล้วออกไปข้างนอก ผมสังเกตหลายๆ โต๊ะมีแต่ของพะรุงพะรังที่วางไว้ โดยเจ้าของไม่อยู่เป็นเวลานานเกิน 2-3 ชั่วโมงหลายโต๊ะ (อันที่จริงอาจจะนานกว่านั้น เพราะว่าตั้งแต่ผมเข้าไปในห้องสมุดก็เห็นสภาพนั้นอยู่แล้ว หลังจากผมออกจากห้องสมุดเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างมากเบียดเบียนผู้ที่อยากจะใช้บริการ ทำให้มีที่นั่งไม่เพียงพอ แล้วถ้ามีผู้ประสงค์ร้ายเอาระเบิดเวลายัดใส่ในสัมภาระดังกล่าวมาวางไว้ในห้องสมุด ถึงแม้ทางเข้าห้องสมุดจะมี รปภ.และเครื่องตรวจวัตถุก็ตาม แต่หลายครั้งผมก็ไม่เห็น รปภ. ตรงหน้าทางเข้าผมเข้าใจว่าเขาอาจจะเข้าห้องน้ำ แต่ถ้าผู้ประสงค์ร้ายรอจังหวะนั้นเข้ามาอะไรจะเกิดขึ้น ผมเคยไปร้องเรียนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 2 ครั้ง แต่ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น อันที่จริงทางเจ้าหน้าที่ควรจะมีการสอดส่องดูแล ถ้าเห็นโต๊ะไหนมีสัมภาระทิ้งไว้บนโต๊ะนานเกิน 30 นาที ควรจะนำสัมภาระดังกล่าวไปเก็บไว้ รอให้เจ้าของสัมภาระเหล่านั้นมารับไป พร้อมทั้งปรับเขาเหล่านั้น เพื่อจะได้เข็ดหลาบ ไม่ทำพฤติกรรมเยี่ยงนี้อีก ตั้งใจจะเขียนถึงเทศกาลประกาศงบการเงิน  ไม่รู้มาเขียนถึงเรื่องนี้ได้อย่างไร ช่วงประกาศผลประกอบการจะเป็นที่ลุ้นระทึกของนักลงทุนหลายๆ ท่าน โดยเฉพาะนักลงทุนแบบ VI จะได้ตรวจสอบดูว่าผลประกอบการที่บริษัทจดทะเบียนที่ถืออยู่หรือติดตามอยู่ มีผลประกอบการสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตนหรือไม่ ถ้าไม่เพราะเหตุใด ผมเองนอกจากจะดูบรรทัดสุดท้าย (กำไร/หุ้น) แล้วผมก็จะวิเคราะห์งบการเงินที่ประกาศออกมาดูไส้ในว่ากำไร/ขาดทุนเกิดจากอะไร ดูทุกๆ บรรทัดเปรียบเทียบทั้ง YoY และ QoQ ถ้าลักษณะของรายได้หรือกำไรเป็นฤดูกาล (SEASONAL) จะทำให้ตีความหมายผิดๆ รวมทั้งผมจะอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน และความเห็นของผู้สอบบัญชี ประกอบด้วย ถ้าผลประกอบการไม่สอดคล้องกับความคาดหมายของผม จากปัจจัยบางอย่างที่ผมคาดไม่ถึง ผมก็อาจปรับการคาดการณ์ผลประกอบการของไตรมาสถัดไปและผลประกอบการรายปี เพื่อให้การคาดการณ์มีความแม่นยำมากขึ้น ช่วงนี้ผมจะต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ คือ ต้องติดตามและงบการเงินบริษัทที่ผมน่าสนใจ และเฝ้าดูการชี้แจงของผู้บริหารที่มาออกงาน OPP DAY นี้คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมพยายามถือหุ้นไม่เกิน 8 ตัว ผมไม่สามารถจะติดตามข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะช่วงเวลาประกาศงบการเงินได้ทัน และวิเคราะห์เจาะลึกได้อย่างละเอียดลออ ผมเห็นนักลงทุนบางท่านมีหุ้นมากกว่า 30 ตัวในพอร์ตอยู่หลายท่าน ผมจินตนาการไม่ออกเลยว่าช่วงเวลานี้เขาจะต้องทำงานหนักแค่ไหน ถ้าเขาต้องทำแบบที่ผมทำ นั่นคือ สาเหตุที่นักลงทุนหลายท่านเลือกที่จะลงทุนหุ้นน้อยตัว แค่เพิ่มน้ำหนักในหุ้นแต่ละตัวที่ถือให้มากหน่อย การใส่ไข่ไว้หลายตะกร้าเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าใส่ไว้ใน 30 ตะกร้า คุณมีแค่ 2 มือจะถืออย่างไรครับ

ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่
และ BLOG : http://kitichai1.blogspot.com
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10
 และนิตยสารคนรวยหุันCondo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน

                            กิติชัย เตชะงามเลิศ


วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Got interviewed by Dichan magazine(12 pages),#867, April 2013













ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่
FB : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
TWITTER : http://twitter.com/value_talk
YOUTUBE : http://www.youtube.com/user/wittayu9
และ BLOG : http://kitichai1.blogspot.com
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10
 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน


วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อภิมหาดีล CPALL-MAKRO


อภิมหาดีล CPALL-MAKRO



          
       ดีลการเทคโอเวอร์ MAKRO ซึ่งเป็นห้างค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดของไทย โดย CPALL ซึ่งเป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่มีสาขามากที่สุดในประเทศที่ราคา 787 บาท/หุ้น มูลค่าการเทคโอเวอร์ครั้งนี้ถึงล้านบาท ซึ่งเป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเทคโอเวอร์ในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ดีลใหญ่ที่สุดคือการควบรวมของบริษัทลูกของ STT คือ PTTAR กับ PTTCH ซึ่งมีมูลค่า 165,000 ล้านบาท  โดย CPALL จะซื้อหุ้น MAKRO จากบริษัท SHV NETHERLAND B.V. เป็นจำนวน 154,429,500 หุ้น คิดเป็น 64.35% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดของ MAKRO แล้วจะทำ TENDER OFFER หุ้น MAKRO จากผู้ถือหุ้นรายย่อยในราคาเดียวกัน  ถ้ารายย่อยพร้อมใจกันมาขายหุ้น CPALL ต้องเตรียมเงินสดเป็นจำนวน 188,800,000,000 บาท ซึ่งผมเชื่อว่ารายย่อยน่าจะขายเกือบทั้งหมดเพราะว่าก่อนที่จะมีข่าวนี้  ราคาหุ้น MAKRO อื่นอยู่แถว 500 กว่าบาท (ที่ราคา 550 บาท/หุ้น  MAKRO จะมี TRAILING P/E = 37 เท่า โดยปี 2555 MAKRO มีกำไร 3,556 ล้านบาท ทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้ว 2,400 ล้านบาท  PAR = 10 บาท คิดเป็นกำไร/หุ้น = 14.82 บาท เพิ่ม BOOK VALUE/SHARE = 44.40 บาท) ที่ราคา TENDER ORDER ที่ 787 บาท คิดเป็น TRAILING P/E = 53 เท่า  ทำให้ผมค่อนข้างมั่นใจว่าพวกกองทุนทั้งหลายที่ถือหุ้น MAKRO คงจะนำหุ้น MAKRO ใส่พานถวายให้ CPALL รับไว้เต็มๆ เป็นแน่
       ในฐานะคนวงนอก ผมมีความเห็นว่าราคาที่ CPALL จ่ายเพื่อเทคโอเวอร์หุ้น MAKRO แพงเกินไป ถึงแม้เจ้าสัวธนินท์และเซียนหุ้นหลายคนจะมาออกความเห็นว่าไม่แพงก็ตาม ผมเปรียบเทียบดีลนี้กับดีล BIGC เทคโอเวอร์ CARREFOUR ซึ่งมีมูลค่าเพียง 35,500 ล้านบาท โดย BIGC ได้ 42 สาขาของ CARREFOUR ขณะที่ CPALL จะได้ 57 สาขาของ MAKRO และ 5 สาขาของ SIAM FROZEN ถึงแม้ว่าที่ตั้งสาขาของ MAKRO จะเป็นที่ดินที่ซื้อขาดมากกว่าของ CARREFOUR ก็ตาม  และ SYNERGY ที่ได้ของดีล BIGC น่าจะได้ประโยชน์โดยตรงมากกว่า  เพราะลดคู่แข่งไปได้ 1 ราย และเพิ่มสาขาขึ้นมาอีกมากจนสามารถจะต่อกรกับ TESCO LOTUS ซึ่งเป็นเจ้าตลาดได้ดีขึ้น อำนาจการต่อรองกับ SUPPLIER ก็มีมากขึ้น เพราะว่าสินค้าที่ขายในคาร์ฟูร์ กับ BIGC คล้ายๆ กัน VOLUME ของการสั่งซื้อที่มากขึ้น ก็น่าจะทำให้มาร์จินได้ดีขึ้น ขณะที่สินค้าที่ขายใน ร้าน 7-11 กับที่ขายใน MAKRO น่าจะมีสินค้ารายการเดียวกันจำนวนไม่มาก SYNERGY ที่เกิดขึ้นน่าจะน้อยกว่าดีลของ BIGC ยิ่งไปกว่านั้นลูกค้าที่ซื้อของที่ร้าน 7-11 กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าที่ MAKRO แทบจะเป็นคนละกลุ่มกัน  อาจจะมีซ้ำกันบ้างก็ไม่มาก เพราะลูกค้า 7-11 เป็นลูกค้าซื้อปลีกที่ซื้อสินค้าไปอุปโภคบริโภคเอง  ขณะที่ลูกค้า MAKRO จะเป็นพวกซาปั๊วคือซื้อไปขายต่อ  และพวกกลุ่ม HORECA คือกลุ่ม HOTEL RESTAURANT และกลุ่ม CATERING คือกลุ่มที่ซื้อแล้วไปปรุงเป็นอาหารเพื่อขาย  ส่วนการที่เจ้าสัวธนินท์กล่าวว่า จะเริ่มขยายสาขาห้าง MAKRO แบบ AGGRESSIVE กว่าเดิม และจะขยายสาขาไปในประเทศเพื่อนบ้าน  โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) ผมว่าคงไม่ได้เห็นในปีนี้  เพราะว่าการจะขยายสาขาทางผู้บริหารคงต้องมีการวางแผนล่วงหน้าดูทำเลหาซื้อที่ดินก่อสร้างสาขาสำหรับในประเทศอย่างเร็วสุดก็ปีหน้า  ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างเร็วก็น่าจะเป็นภายใน 2 ปีข้างหน้าถึงแม้ว่าหลังควบรวมกันแล้ว จะทำให้กลุ่ม CPALL-MAKRO กลายเป็นกลุ่ม MODERN TRADE ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชียก็ตาม ข้อดีที่ผมคิดว่าจะได้เห็นก็คือต้นทุน LOGISTICS ของทั้งกลุ่มที่จะแชร์กัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง คลังสินค้า ฯลฯ
       ทาง CPALL บอกว่าจะไม่มีการเพิ่มทุน แต่จะใช้กระแสเงินสดภายในกิจการกับเงินกู้สถาบันการเงินในอัตราส่วน 10:90 โดยเงินสถาบันหลักที่ปล่อยกู้ คือ SCB, HSBC, STANDARD CHARTERED , SUMITOMO MITSUI และ UBS โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3% กว่าๆ เป็นเงินกู้ระยะสั้น 1 ปี ผมลองคำนวณเล่นๆ ว่าอัตราดอกเบี้ย = 3.25% เงินกู้ 180,000 ล้านบาท (ตามข่าวที่เปิดเผย) ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับ 1 ปี = 5,850 ล้านบาท MAKRO กำไรปีที่แล้วทั้งปี = 3,556 ล้านบาท สมมุติว่าปี 2556 กำไรโตขึ้น 20% ดังนั้นกำไร = 4,267 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ากำไร MAKRO ไม่พอจ่ายดอกเบี้ยให้กับ CPALL ยังขาดไปถึง 1,583 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นภาระบั่นทอนกำไร CPALL นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการ TAKEOVER ครั้งนี้ รวมทั้งค่าที่ปรึกษาทางการเงินคิดแค่ 1% ก็ปาเข้าไป 1,880 ล้านบาทรวมแล้ว 2 รายการที่พูดถึงก็จะทำให้ CPALL ปี 56 มีผลประกอบการลดลงไปมากทีเดียว  ผมลืมบอกไปว่า เงินกู้ครั้งนี้ 15% อยู่ในสกุลบาท 75% เป็นสกุล US$ และ 10% เป็น CASHFLOW ของ CPALL เอง
       ผมคาดว่าหลัง TAKEOVER MAKRO แล้ว ทางผู้บริหารคงจะนำสาขาต่างๆ ของ MAKRO มารวมกันจัดตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก็จะได้เงินก้อนหนึ่งเข้ามาช่วยลดหนี้ แต่เมื่อเทียบกับยอดเงินกู้ 180,000 ล้านบาท ก็คงจะลดลงมาได้ไม่มากนัก ทางผู้บริโภคจะทำอย่างไรเมื่อหนี้เงินกู้ระยะสั้น 1 ปีครบกำหนด จะมีการ ROLLOVER LOAN หรือออกเป็นหุ้นกู้หรือเพิ่มทุนก็ยังไม่แน่ชัด แต่ถ้าเป็น LOAN หรือหุ้นกู้ระยะยาวขึ้น ดอกเบี้ยน่าจะไม่ใช่แค่ 3.25% เป็นแน่ ยิ่งดอกเบี้ยปีหน้าเป็นขาขึ้นแล้ว ยิ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยคงจะสูงขึ้น แต่เมื่อคำนึงถึงการตั้งกองทุนอสังหา อัตราดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นคงจะ OFFSET กับภาระหนี้ที่จะลดลง ถ้าปี 2557-2558 MAKRO ทำกำไรได้โตปีละ 25% ปี 2557 กำไร MAKRO ที่ทำได้ก็ยังไม่พอจ่ายดอกเบี้ย ต้องรอปี 2558 กำไรที่ทำได้จึงจะมากกว่า ภาระดอกเบี้ยจ่าย ผมขอย้ำนะครับว่าถ้า MAKRO ทำกำไรปี 56,67,58 โต 20,25,25% ตามลำดับ แต่ถ้าทำไม่ถึง ภาระดอกเบี้ยก็จะถูกแบกโดยผู้ถือหุ้น CPALL ซึ่งกำลังจะมี DEBT/EQUITY RATIO = 6 เท่า หลังจากกู้เงินเพื่อดีลนี้ นี่ผมยังไม่ได้พูดถึงการชำระหนี้เริ่มต้นเลยนะครับ ถ้าไม่เพิ่มทุน  เงินต้นคงจะเริ่มผ่อนจ่ายได้ในปี 2558 นั่นหมายความว่า D/E จะอยู่ที่ประมาณ 6 เท่า จนถึงสิ้นปี 2557 เสน่ห์ของหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรสูงและหนี้ต่ำคงหมดไปในปี 2556 และ 2557
       เรามาดูกันนะครับว่าราคา CPALL จะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ หลังประกาศดีลนี้ 2 วันแรก ถูกขายเทกระจาดลงมาทำ LOW ที่ 38.50 บาท โดย 2 วันนั้น ฝรั่ง NET SELL วันละ 2-3 พันล้านบาท ไม่รู้ว่าเป็นการขาย CPALL หรือเปล่า จะลงทุน CPALL ลองขวนขวายหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากๆ หน่อยนะครับ

      CPALL will use its resources to MAKRO, so now on, the expansion of the new branches will be mostly via franchising.In the meaning time,Central group'TOP daily(Familymart) will be more aggressive,and 108 shop will turn to be Lawson shop(The second largest chain in Japan).It seems to be the very tough time for CPALL.After takeover MAKRO, CPALL's stockholders have to wait till 2015 to see the better performance. Are u ready to wait till that time?Let IT,SE-ED & BIGC be your lessons that the retail sector can be negative growth in earning.U can expect the intensive competition among the players in the sector.With the VERY HIGH P/E OF THIS SECTOR,u should seriously selective buy or invest in the other sectors which the same or better growth but lower P/E.

ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่
และ BLOG : http://kitichai1.blogspot.com
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10
 และนิตยสารคนรวยหุันCondo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน

                            กิติชัย เตชะงามเลิศ
ขาย คอนโด วิช สามย่าน เดิน 2 นาที จาก รถไฟใต้ดิน สถานี สามย่าน ราคาต่ำกว่าโครงการสุด ๆ 2 ห้อง(ชั้น19) ราคา 4.2 ล้าน
                
   โครงการนี้มี 25 ชั้น มีจำนวนห้องทั้งหมด ประมาณ 500 ยูนิต, ถนนสี่พระยา บางรัก ห่างจาก สถานี รถไฟใต้ดิน  สามย่าน ประมาณ 100 เมตร ใกล้ อาคารจามจุรีสแควร์ ตลาดสามย่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมอุดมศึกษา สาธิตจุฬา อาคารชาญอิสระ โรงพยาบาลจุฬาฯ สวนลุมพินี ฯลฯ  มีสวนลอยฟ้า สระว่ายน้ำพร้อมสระเด็ก และห้องออกกำลังกาย ที่ชั้น 19    
การเดินทางโดยทางด่วน
ขึ้นลง ทางด่วนสามย่าน หัวลำโพง
ขึ้นลง ทางด่วนเชื้อเพลิง พระรามสี่
ขึ้นลง ทางด่วนสุรวงศ์ สีลม
      การเดินทางโดยรถประจำทาง สายที่ผ่าน คือ 1 , 16 ,36 , 45 , 75, 93 และ 187

   ห้องที่จะขายอยู่ชั้น 19
1.ห้อง  18/112  ชั้น 19   พื้นที่ 36.51 ตรม. ราคา 4,200,000 บาท ชั้นนี้ มีสวนลอยฟ้า     ให้เช่าห้อง 22,000 บาท/เดือน
2.ห้อง  18/113  ชั้น 19   พื้นที่ 36.51 ตรม. ราคา 4,200,000 บาท ชั้นนี้ มีสวนลอยฟ้า     ให้เช่าห้อง 22,000 บาท/เดือน

  โปรโมชั่นพิเศษ  เข้าอยู่ได้เลย ฟรีค่าใช้จ่ายทุกรายการ พร้อมของแถมเพียบ
- ฟรีเงินกองทุนคอนโด มูลค่าเกือบ 20,000 บาท
- ฟรีเงินค่ามิเตอร์น้ำ/ไฟ มูลค่า 3,250 บาท


หมายเหตุ ทุกห้องของผมวิวดี ไม่มีตึกบัง

ดู VDO ที่ผมถ่ายภายในห้อง ที่ http://youtu.be/Y9j1a7pm-xk