จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

พฤติกรรมการใช้รถไฟฟ้าของคนกรุงเทพ


พฤติกรรมการใช้รถไฟฟ้าของคนกรุงเทพ
          ผมรู้สึกแปลกใจทุกครั้งเวลาใช้บริการรถไฟใต้ดินบ้านเรา  ซึ่งจะมีประกาศวิธีการใช้บันไดเลื่อนอยู่เสมอๆ ว่า “กรุณาอย่านั่ง ยิ้ม เดินหรือวิ่งบนบันไดเลื่อน”  โดยเฉพาะบางครั้งที่ผมใช้บริการดังกล่าวพร้อมกับเพื่อนชาวต่างชาติซึ่งพอได้ยินคำประกาศใน VERSION ภาษาอังกฤษ เขาแซวผมว่าดูท่าประเทศไทยคงจะเริ่มมีใช้บันไดเลื่อนไม่นานใช่ไหม จึงต้องแนะนำวิธีการใช้ดังกล่าว ตัวผมเองใช้บริการรถไฟฟ้าในหลายๆ ประเทศ ไม่เห็นมีประเทศไหนเขาต้องประกาศแนะนำวิธีการใช้แบบนี้เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งผมชื่นชมวัฒนธรรมอันดีงานในการใช้บันไดเลื่อนของเขา โดยเขาจะยืนชิดไปด้านเดียวกัน แล้วปล่อยให้มีทางโล่งด้านข้างของบันไดเลื่อนสำหรับคนที่รีบ สามารถเดินขึ้นหรือลงได้  การที่ผู้โดยสารมายืนสลับฟันปลาหรือยืนตรงกลางบันได ผมบอกว่าทำให้โลกของคนที่อยู่ข้างหลังคุณต้องหยุดเดินไปด้วย ผมมานั่งคำนวณเล่นๆ นะครับว่า ในหนึ่งวันมีคนใช้บันไดเลื่อนในประเทศ (ไม่เพียงแต่ในสถานีรถไฟฟ้า BTS รถไฟใต้ดิน MRT แต่รวมถึงในห้างสรรพสินค้าและอาคารต่างๆ ) วันหนึ่งน่าจะมีผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่าล้านคนแต่ละคนต้องหยุดยืนบนบันไดเลื่อนคนละ 5 วินาที/ครั้ง  ใน 1 วันใช้บริการเฉลี่ย 4 ครั้ง  หมายถึง 20 วินาที/คน/วัน  สมมติว่ามีคนใช้บันไดเลื่อน 1.50% ของประชากรไทย 68 ล้านคน ก็ประมาณ 1.02 ล้านคน ขอใช้ตัวเลขกลมๆ เป็น 1 ล้านคน นั่นหมายถึงเวลาที่สูญเสียไป 20 ล้านวินาที/วัน  หรือเท่ากับ 5,555 ชั่วโมงทำงานต่อวัน 1 ปีก็จะเท่ากับ 2,027,777 ชั่วโมงทำงาน  นี่คือเวลาที่สูญเสียไปอย่างน่าเสียดาย  ผมเคยดูภาพยนตร์เมริกันเรื่อง “SLIDING DOOR” ซึ่งเนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างเป็น 2 SCENAR10 คือนางเอกขึ้นรถไฟฟ้าทันขบวนแรกกับขึ้นไม่ทันแต่ต้องไปขึ้นขบวนถัดไปแล้วเรื่องราวต่อมาได้สร้างความเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ  ต่อชีวิตของนางเอกทีเดียวครับ (ผมลืมบอกไปว่านางเอกในเรื่องนี้คือคุณ GWYNETH PALTROW ดาราโปรดของผม) ผมอยากให้คนที่ชอบยืนบล็อคทางบันไดเลื่อนได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง บางครั้งเพียงแค่เสี้ยวนาทีที่พลาดรถไฟฟ้าอาจทำให้คนบางคนพลาดเวลานัด  ไปทำงานสายไปเรียนไม่ทันถึงแม้จะไม่กี่นาทีก็ตาม  เพราะว่า BTS และ MRT บางช่วงเวลาความถี่ 5-10 นาที/ขบวน  บางครั้งผมอยากจะแอบถ่าย VDO พฤติกรรมเหล่านี้  โดยเฉพาะผู้โดยสารหลายๆ ท่าน จะยืนบนบันไดเลื่อนเฉยๆ ทั้งๆ ที่จุดที่เขายืนบนบันไดเลื่อนเห็นรถไฟฟ้าจอดรอที่สถานีแล้ว  ค่อยมาวิ่งตาลีตาเหลือกเมื่อพ้นบันไดเลื่อนเพื่อจะให้ทันประตูรถไฟฟ้าที่กำลังจะปิด  ทำไมเขาเหล่านั้นไม่เลือกที่จะเดิน CHILLED CHILLED  บันไดเลื่อนแล้วเดินเข้ารถไฟ  นอกจากนั้นการที่หลายๆ ท่านชอบมายืนตรงช่องทางเดินที่ทางสถานีเข้าทำเครื่องหมายให้เป็นช่องสำหรับให้ผู้โดยสารข้างในเดินออกมาลำบากมาก โดยก้าวออกมาได้ทีละคนๆ ทำให้ทุกๆ คนเสียเวลาไปหมดหรือหลายๆ ครั้งผมพบว่า  ผู้โดยสารยังเดินออกมาไม่หมด บางท่านก็เดินเข้าไปในขบวนรถไฟแล้วและคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะชอบเดินเข้ามาด้านใน  ทำให้อัดแน่นกันตรงบริเวณประตู  แทนที่จะจุผู้โดยสารได้มากขึ้น  โดยเฉพาะในช่วงเวลา RUSH HOUR และบางคนชอบยืนพิงประตู  ซึ่งผมคิดว่าอันตรายมาก เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาผมอ่านจากหนังสือพิมพ์  M2F  ซึ่งลงข่าวว่า ประตูรถไฟฟ้า BTS เปิดเอง  ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้จอดเทียบท่าที่สถานี  โชคดีที่ไม่มีคนตกรถไฟฟ้า  ซึ่งถ้ามีรับรองผู้โดยสารท่านนั้นคงจะดังไปทั่วโลก ผมเชื่อว่าได้ขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรายวันทุกฉบับแน่ๆ อย่าลืมนะครับ BTS เป็นรถไฟลอยฟ้า  ถ้าตกลงมาจะเป็นอย่างไรคงจินตนาการภาพออกนะครับ  สิ่งที่ผมชื่นชม BTS ถึงแม้ช้าไปเป็น 10 ปี ก็คือ การทำกำแพงกั้นระหว่างรางรถไฟฟ้ากับชานชาลาสถานี  ลองคิดดูสิครับ  ถ้าเกิดมีคนสติไม่ดีผลักคนที่ยืนรอรถไฟฟ้าที่ยืนอยู่ข้างหน้าเขาแรงๆ ทำให้คนข้างหน้าล้มลงไปในรางรถไฟฟ้าขณะที่รถไฟฟ้ากำลังวิ่งเข้ามาเทียบท่าที่สถานี  อะไรจะเกิดขึ้นครับ  แต่ตอนนี้ผมเพิ่งเห็น BTS เพิ่งจะเริ่มทำที่สถานีสยามซึ่งเป็นสถานีชุมสายและคึกคักที่สุด หวังว่าจะติดตั้งทุกชานชาลาของทุกสถานีโดยเร็วนะครับ  ถึงแม้อาจจะทำให้ BTS ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ดีกว่าปล่อยให้เกิดอุบัติเหตุคนตกลงไปในรางรถไฟฟ้าเหมือนกับที่สาววัยรุ่นไทยคนหนึ่งที่ไปเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวที่สิงคโปร์ จนต้องตัดขาทิ้งไป ชื่อเสียงที่เสียไปบวกกับความหวาดกลัวของผู้ใช้รถไฟฟ้าอาจจะแพงกว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวถึงแม้ว่าทาง BTS อาจจะทำประกันความรับผิดชอบด้านอุบัติเหตุของผู้โดยสารกับบริษัทประกันภัยไว้ก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ผมแปลกใจมาก ว่าทางกทม. ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามานานเป็น 10 ปี อย่างนี้หวังว่าในส่วนต่อขยายและเส้นทางรถไฟสีอื่นๆ ที่กำลังจะประมูลหรือกำลังก่อสร้าง จะใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น อย่าปล่อยให้วัวหายแล้วค่อยล้อมคอกนะครับ ส่วนเราในฐานะผู้โดยสาร อยากให้รณรงค์เรื่องวัฒนธรรมการใช้รถไฟฟ้าและบันไดเลื่อนผมว่าการเลียนแบบวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเราชอบลอกเลียนแบบวัฒนธรรมชาติอื่นๆมากมาย ทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี ทำไมวัฒนธรรมดีๆ แบบนี้เราไม่เอามาเป็นเยี่ยงอย่างกันบ้างล่ะครับ
          บ่นมาซะนานขอเข้าเรื่องกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 62,500 ล้านบาทซึ่งเป็น IPO ที่ใหญ่ที่สุดประเภทนี้เพื่อจะระดมทุน โดยทาง BTS จะขายหรือโอนรายได้ค่าโดยสารสุทธิที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการดำเนินงานของระบบรถไฟฟ้า BTS สายหลัก ระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ตามอายุสัญญาสัมปทานที่เหลืออยู่ประมาณ 17 ปี ให้กับกองทุนรวมดังกล่าวโดยไม่รวมส่วนต่อขยายจากสะพานตากสินไปตลาดพลูและจากอ่อนนุชไปแบริ่งซึ่งเป็นรายได้ของกทม. โดย BTS ได้รับเพียงค่าจ้างการให้บริการระยะเวลา 30 ปี เท่านั้น ซึ่งทาง บล.ภัทรธนกิจ ซึ่งเป็น LEAD UNDERWRITER ได้จัดงานแนะนำกองทุนดังกล่าว เมื่อเร็วๆนี้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุน สำหรับท่านนักลงทุนที่สนใจลงทุนในอะไรที่มีความเสี่ยงต่ำ รายได้ค่อนข้างแน่นอนนะครับ



ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่ 
https://www.facebook.com/VI.Kitichai , http://twitter.com/value_talk , http://www.youtube.com/user/wittayu9 และ http://kitichai1.blogspot.com

หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10 และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa  ทุกเดือน
     
สนใจซื้ออสังหาเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ลองเข้า http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty

กิติชัย เตชะงามเลิศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น