ประโยชน์และโทษของการแข็งค่าของเงินบาท
ไม่นานมานี้เราจะเห็นนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนหรือซื้อหุ้นในต่างประเทศคึกคักมากไม่ว่าจะเป็น
คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี
ที่นำบริษัทในเครือ (TCC ASSET) เข้าไปซื้อหุ้น
F&N (FRASER AND NEAVE) จนถือหุ้นถึง
90.32% F&N เป็นบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ โดยเสนอซื้อในราคา
9.55 เหรียญสิงคโปร์ดอลล่าร์ (7.71 เหรียญสหรัฐ)/หุ้น F&N นอกจากจะมีธุรกิจเครื่องดื่มทั้ง ALCOHOL
และ NON ALCOHOL แล้วยังมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสิ่งพิมพ์ซึ่งมีมูลค่ารวม
13,750 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (333,000 ล้านบาท)
ซึ่งถือว่าเป็นดีลใหญ่ที่สุด ของการเทคเวอร์ในสิงคโปร์เลยทีเดียว
ซึ่งการเทคโอเวอร์ครั้งนี้ TCC ASSET ต้องแข่งขันกับคู่แข่งนานาชาติไม่ว่าจะเป็น
OVERSEA UNION ENTERPRISE (OUE) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สัญชาติสิงคโปร์โดยร่วมกับ
KIRIN บริษัทเบียร์จากญี่ปุ่น โดยถ้าประมูลชนะได้ทาง OUE
จะเอาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ KIRIN จะได้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มไป
แต่ในที่สุด TCC ASSET ของเจ้าสัวเจริญเป็นผู้เสนอราคาสูงสุด
และได้ F&N ไปครอง
โดยมีการขึ้นราคารับซื้อแข่งกันอยู่หลายครั้ง
ซึ่งคาดว่าคงนำมาต่อยอดกับธุรกิจในเครือซึ่งมีทั้งอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจโรงงานขวดแก้ว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือได้เป็นอย่างดี
กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (CP)
นำโดยเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เข้าซื้อหุ้นของบริษัทผิดอัน
ประกันภัย 15.60% จาก HSBC ในดีลมูลค่าถึง
9,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (282,000 ล้านบาท)
ที่ราคา 59 ดอลลาร์ฮ่องกง/หุ้น (255 บาท/หุ้น) โดยทางกลุ่ม CP ใช้เงินสดและเงินกู้จาก
CHINA DEVELOPMENT BANK
กลุ่มเซ็นทรัลเข้าซื้อกิจการห้างสรรพสินค้าเก่าแก่
150 ปี ของอิตาลี LA RINASCENTE ด้วยมูลค่า
260 ล้านยูโร (10,000 ล้านบาท) เมื่อ 2
ปีก่อนและล่าสุดได้ไปเทคโอเวอร์ห้างสรรพสินค้า ILLUM ประเทศเดนมาร์คซึ่งมีอายุนานกว่า 12 ปี
ซึ่งอยู่ในกลางกรุงโคเปนเฮเกน ด้วยขนาดพื้นที่ 20,000 ตรม.
โดยซื้อผ่านทางห้าง LA RINASCENTE
กลุ่ม MINT เข้าซื้อ OAKS HOTELS&RESORTS (OAKS) เป็น HOTEL
CHAIN ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศออสเตรเลียโดยผ่านทางบริษัทย่อย
DELICIOUS FOOD HOLDING ที่จดทะเบียนในสิงคโปร์เมื่อปี 2554
นอกจากกลุ่มดังกล่าวแล้วยังมีอีกหลายธุรกิจที่เข้าไปเทคโอเวอร์
กิจการในต่างประเทศหรือซื้อหุ้นบางส่วน เช่น IVL เข้าซื้อธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในประเทศไนจีเรีย
ทวีปแอฟริกา เป็นต้น
นี่คืออานิสงค์ของค่าเงินบาทที่แข็งทำให้นักธุรกิจไทยสนใจที่จะไปเข้าซื้อกิจการทั้งที่มีปัญหาและไม่มีปัญหา โดยใช้เงินบาทในจำนวนที่น้อยลง ลองคิดดูสิครับเมื่อต้นปี 2552
ค่าเงินบาทอยู่ที่ 36 บาทกว่าๆ /ดอลลาร์ 4 ปีผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเกือบ 20%
เจ้าสัวธนินท์ ช่วงนี้เชียร์ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ปล่อยค่าเงินบาทให้เป็นไปตามกลไกตลาด
อย่าไปสู้กับอัตราแลกเปลี่ยน และแนะใช้ประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าทุนในราคาถูกลง
ส่วนผู้บริโภคเอง
อาจได้อานิสงค์จากการแข็งค่าของเงินบาทไม่มากนักเพราะว่าผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ส่วนมากมักจะไม่ลดราคาสินค้า จากประสบการณ์ตรงของผม
ครีมกันแดดยี่ห้อหนึ่งซึ่งเป็นสินค้านำเข้า ผมใช้ต่อเนื่องมานานหลายปี
ตอบค่าเงินบาทเกือบ 40 ล้านบาทกับปัจจุบันที่ต่ำกว่า 29
บาท ผมยังต้องซื้อครีมหลอดนั้นในราคาเดียวกันเลย
ไม่รู้ท่านสุภาพสตรีที่นิยมของแบรนด์เนม ผมอยากทราบจริงๆ ว่ากระเป๋าถือที่ท่านซื้อ
ทางร้านได้ลดราคาลงมาหรือไม่
โดยเฉพาะใบละหลายๆ แสนบาท จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้
ราคาน่าจะปรับลดลงไปอย่างน้อย 30,0000-50,000 บาท
จริงๆ แล้วผมคิดว่า ถ้ารัฐบาลจะฉวยโอกาสที่เงินบาทกำลังแข็งค่ากระตุ้นและส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐ
รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน เร่งนำเข้าเครื่องจักรใหม่ ที่ลดการใช้พลังงานและหรือลดการปล่อยมลภาวะ โดยให้ลดหย่อยภาษีได้ 1.5-2
เท่าของราคาเครื่องจักร และขึ้นอากรขาเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อเอาไปโปะส่วนที่จะลดหย่อนภาษีนำเข้าเครื่องจักร
ก็น่าจะดีนะครับ
ส่วนโทษของการแข็งค่าของเงินบาท คือ
ราคาสินค้าของไทยจะดูแพงขึ้นในสายตาของผู้นำเข้า
และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยอาจจะต้องใช้จ่ายเงินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าห้องพัก ถ้าโรงแรมนั้นๆ
เสนอราคาเป็นเงินบาท หรือค่าใช้บริการต่างๆ
ดังนั้นในภาคเอกชนจะต้องพยายามพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต ให้มีต้นทุนลดลง
โดยคุณภาพของสินค้าและบริการไม่ด้อยลง เพื่อให้สินค้าและบริการ
แข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ยิ่งถ้าสามารถพัฒนาและสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการให้เหนือกว่าคู่แข่งด้วย
ก็จะสามารถต้านกระแสบาทเข็งได้เป็นอย่างดี ในระยะยาว
รัฐบาลควรจะพยายามเปิดตลาดใหม่ในประเทศใหม่ๆ
ที่สินค้าไทยไม่เคยเจาะตลาดเหล่านั้นมาก่อน
ส่วนทางภาคเอกชนควรจะมีการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสนองตอบความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
ซึ่งจะทำให้แข่งขันได้แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นก็ตาม
ถ้าแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทยังมีความต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
เงินทุนจากนักเก็งกำไรก็คงจะไหลเข้ามาอีกค่อนข้างมาก เพราะเขาจะได้กำไร 2
ต่อ คือ
ต่อแรกกำไรจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เพราะว่าตอนนำเงินเข้ามาใช้เงินดอลลาร์แลกได้บาทมาก
แต่พอจะถอนเงินลงทุน เขาจะใช้เงินบาทน้อยกว่าเพื่อแลกเป็นเงินดอลลาร์
และอัตราดอกเบี้ยของไทยเรายังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ หรือญี่ปุ่น
กรณีเป็น YEN CARRY TRADE ส่วนผมเองก็เริ่มสนใจที่จะซื้อคอนโดที่ลอดดอน
หรือย่านแมนชัดต้น ในนิวยอร์ก เพราะว่าใช้เงินบาทน้อยกว่าเมื่อหลายปีที่แล้ว และราคาคอนโดเหล่านั้น
ราคายังฟื้นจากราคาต่ำไม่มากเกินไปนักที่ดินในเมืองที่มีจำกัด
และกฎระเบียบในการสร้างอาคารสูงที่เข้มงวด
น่าจะทำให้ราคาคอนโดเหล่านี้สูงขึ้น
เมื่อเศรษฐกิจของอังกฤษและอเมริกาฟื้นตัว
ท่านผู้อ่านที่มีบุตรหลานกำลังจะไปศึกษาต่อในต่างประเทศอเมริกา
และยุโรปลองเปลี่ยนจากการเช่าอพาร์ตเมนต์ มาเป็นซื้อคอนโดไว้อยู่อาศัยแทน
พอบุตรหลานท่านจบการศึกษาใน 4 ปีข้างหน้า ผมมั่นใจว่า
ท่านน่าจะขายได้กำไร 2 ต่อ คือ ต่อแรกจากราคาที่สูงขึ้น
และต่อที่สองคือกำไรจากค่าเงิน ซึ่งผมคิดว่า ค่าเงินบาทน่าจะอ่อนกว่า 29.50
บาทแน่ๆ เพราะว่าภายใน 1 ปี ข้างหน้า FED
คงจะถอนมาตรการ QE และธนาคารกลางประเทศอื่นๆ
คงจะดำเนินการคล้ายๆ กัน
ติดตามแนวทางการลงทุนของผมได้ที่
TWITTER : http://twitter.com/value_talk
YOUTUBE : http://www.youtube.com/user/wittayu9
หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 หรือหน้า B10
และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Stock Review, Me(Market Evolution), Glow และ Lisa ทุกเดือน
กิติชัย เตชะงามเลิศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น