รัฐใช้งบประมาณอย่างไรให้คุ้มค่า
สรุปตอนที่2
บทความที่แล้ว ผมได้พูดค้างที่เรื่องการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตรในประเทศ เรามาต่อกันเลยครับ
3.2
เร่งส่งเสริมและแนะนำให้คนต่างชาติ
โดยเฉพาะจีนและอินเดียที่มีประชากรมากที่สุดในโลก อันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ
ได้ลิ้มชิมรสผลไม้ไทยทุกๆชนิด เราเห็นความสำเร็จของทุเรียนที่ครองใจชาวจีนมาแล้ว
โดยร่วมกับสมาคมค้าปลีกของทั้งจีนและอินเดีย จัดงานแฟร์ผลไม้ไทย ในการนำผลไม้ไทยไปให้ลองชิมตามห้างสรรพสินค้า
และ Supermarket ใหญ่ๆบ่อยๆ
3.3
พัฒนาพันธุ์พืชให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่มีรสชาติดี
ทนทานต่อศัตรูพืช ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
และแนะนำชักจูงชาวไร่ชาวสวนให้เปลี่ยนไปปลูกพืชที่เป็นที่ต้องการของตลาด
และได้ผลกำไรต่อไร่สูง โดยรัฐอุดหนุนเกษตรกรในช่วงแรกๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน
เมล็ดพันธุ์ และต้นกล้า รวมทั้งแนะนำวิธีการปลูกและดูแลอย่างถูกต้อง ชักจูงให้เกษตรกรมารวมตัวกันเป็นสหกรณ์แล้วรัฐให้ความช่วยเหลือผ่านสหกรณ์อีกทีทั้งทางด้านเมล็ดพันธุ์
วิธีดูแล การตลาด และการเงิน โดยพื้นที่บริเวณเดียวกัน ควรปลูกพืชชนิดเดียวกัน
แล้วนำผลผลิตมารวมกัน เวลาขายจะได้มีอำนาจต่อรองกับผู้รับซื้อ
ในทำนองเดียวกับการซื้อปุ๋ย ถ้ารวมตัวกันซื้อในนามสหกรณ์
ก็จะได้ราคาที่ต่ำกว่าที่เกษตรกรจะต่างคนต่างซื้อ
3.4
ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา
เพื่อดูแลพืชผลการเกษตรหลักๆที่สำคัญ เช่น ตั้งกรมข้าว กรมยางพารา กรมผลไม้
(แยกผลไม้หลักๆเป็นกอง) เพื่อดูแลเรื่องพืชผลนั้นๆแบบครบวงจรและถาวร
ประเทศไทยเราควรจะเดินไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมการเกษตร
เนื่องจากเรามีที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมากมาย
และประชากรไทยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรก็มีจำนวนมาก
เรามาทำให้ประเทศเราเป็นครัวของโลกกันดีกว่าที่เป็นประเทศที่เสมือนรับจ้างผลิต
โดยใช้ LOCAL CONTENT ต่ำมากๆเหมือนธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคส์
หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่อาจจะย้ายฐานการผลิตไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ตัวอย่างที่เห็นเร็วๆนี้ ก็คือ LG SAMSUNG ที่ย้ายฐานการผลิตไปที่เวียตนาม
และไม่รู้ใครจะเป็นรายต่อไป คำถามที่คาใจผมอยู่ตราบจนปัจจุบันนี้คือ ทาง BOI
ไม่ทราบหรือไม่ระแคะระคายเลยเหรอครับ ว่าผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 2
รายนั้นจะมีการย้ายฐานการผลิต หรือถารู้ ทำไมไม่รั้งเขาไว้ สมัยก่อน
ผมเห็นชาวเอเชียใต้ โดยเฉพาะคนอินเดียหอบทีวีจากบ้านเราคนละ 1-2 เครื่องกันแทบทุกคน แต่เดี๋ยวนี้ไม่เห็นแล้ว นอกจากเสียลูกค้ากลุ่มนี้ไป
เรายังจะเห็นตัวเลขส่งออกที่ลดลงไปด้วย ดูท่า KPI ของ BOI นอกจากจะดูที่ปริมาณยอดขอการส่งเสริม
แล้วคงต้องดูที่การรักษาอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ไม่ให้ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆด้วย
ก่อนจบบทความนี้
ผมได้ข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า จะตั้งงบประมาณราวๆแสนล้านบาท เพื่อจะนำสายไฟฟ้า
สายโทรศัพท์ ฯลฯ ลงใต้ดิน จริงๆผมก็เห็นด้วย แต่ไม่รู้จะรีบไปทำไม
ในยามที่งบประมาณมีจำกัด สู้เอาไปสร้างรถไฟฟ้าอีก 1-2 สายไม่ดีกว่าเหรอครับ
ส่วนกทม.ที่จะทำ Sky Walk ทำไมไม่เอางบนี้มาทำ Monorail
เชื่อมระหว่าง BTS ตรงแยกปทุมวัน
ไปจบที่สถานีรถไฟสามย่านเพื่อเชื่อมรถไฟฟ้าสายหลักทั้ง 2 สายเข้าด้วยกัน
การบริหารจัดการงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ผู้บริหารที่ดี เก่ง และฉลาด
ควรจะจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆจากสำคัญ จำเป็น และเร่งด่วน
ไว้เป็นลำดับแรกๆก่อน มิฉนั้น บ้านเมืองเราจะเจริญเติบโต
ทัดเทียมชาติอื่นๆได้อย่างไร
กิติชัย เตชะงามเลิศ
13/4/59
13/4/59
อ่าน -รัฐใช้งบประมาณอย่างไรให้คุ้มค่า ตอนที่ 1 ที่ http://kitichai1.blogspot.com/2016/04/1.html
-รัฐใช้งบประมาณอย่างไรให้คุ้มค่า ตอนที่ 3 ที่http://kitichai1.blogspot.com/2016/04/3.html
-รัฐใช้งบประมาณอย่างไรให้คุ้มค่า สรุปตอนที่1 ที่ http://kitichai1.blogspot.com/2016/04/1_13.html
1.หนังสือ "จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร" เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ
2.หนังสือ "ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน" แนะวิธีออมเงินเพียงเดือนละหลักพัน ก็เป็นเศรษฐี 100 ล้าน ก่อนอายุ 50 ปี!
2.หนังสือ "ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน" แนะวิธีออมเงินเพียงเดือนละหลักพัน ก็เป็นเศรษฐี 100 ล้าน ก่อนอายุ 50 ปี!
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า A10 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
3.นิตยสาร Condo Guide ทุกเดือน
4.นิตยสาร คนรวยหุัน Me(Market Evolution) และ วารสารเภตรา ทุกไตรมาส
5. http://www.amthai.co.uk เดือนละครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น