จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

ภาษีที่ดินกับผลกระทบ (ตอนที่ 4)



                                             ภาษีที่ดินกับผลกระทบ (ตอนที่ 4)


            บทความ 3 ตอนที่ผ่านมาผมได้กล่าวถึงภาษีมรดก และภาษีที่ดิน  โดยภาษีที่ดินได้ยกตัวอย่างที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ รวมทั้ง บ้านพักอาศัยไปแล้ว บทความนี้จึงขอพูดถึงภาษีที่ดินที่ใช้เพื่อพาณิชยกรรม ซึ่งมีอัตราเพดานอยู่ที่ 2% แต่ ช่วง 3 ปีแรกจะเรียกเก็บตามตารางในภาพประกอบ

 โดยคิดตามแบบอัตราก้าวหน้า คือทรัพย์สินที่มีมูลค่ายิ่งสูง อัตราภาษีก็จะยิ่งสูงตาม ผมขอยกตัวอย่างให้ดูเพื่อจะได้เห็นภาพได้ชัด สมมติว่า นาย B มีบ้าน 1 หลังในซอยนวมินท์ 53 มีเนื้อที่ 80 ตารางวา มูลค่า 4 ล้านบาท และนาย B ยังมีทาวน์เฮ้าส์ 1 หลังในซอยนวมินท์ 87 มูลค่า 2 ล้านบาทเพื่อปล่อยเช่า โดยมีรายได้จากค่าเช่าเดือนละ 8,000 บาท ตาม พรบ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 บ้านของนาย B ที่ให้อยู่อาศัยเอง ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี แต่บ้านทาวน์เฮ้าส์ที่นาย B ปล่อยเช่า เข้าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 12.5% ของรายได้ หรือคิดเป็น 1.5 เดือน ของค่าเช่า 1 ปี ซึ่งทำให้นาย B จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเงิน 12,000 บาท ดังนั้น นาย B จะได้ผลตอบแทนจากการเช่า = (8,000*12)-12,000 = 84,000 บาท คิดเป็นผลตอบแทนจากการให้เช่า 84,000/2,000,000 = 4.20% ซึ่งผลตอบแทนนี้ยังไม่ได้นำภาษีบุคคลธรรมดาที่นาย B จะต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นๆ เพื่อคำนวณอัตราภาษีเงินได้ ยิ่งถ้าฐานรายได้ของนาย B  ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ก็จะทำให้อัตราภาษียิ่งสูง ดังนั้นผลตอบแทนที่นาย B ที่จะได้รับสุทธิจริงๆ ก็จะต่ำกว่านั้นอีก นี่ยังไม่พูดถึงการที่จะทำ Renovation หลังจากที่ปล่อยให้เช่าหลายๆปี เพื่อให้ทรัพย์สินอยู่ในสภาพที่น่าอยู่ เพื่อดึงดูดให้ผู้เช่ามาเช่าทรัพย์สินดังกล่าว  และถ้าบางปีถูกเช่าไม่ครบ 12 เดือน เนื่องจากหาผู้เช่ามาเช่าไม่ได้ ถึงแม้ว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจะคำนวณอัตราภาษี 12.50% จากค่าเช่าที่เก็บได้จริงก็ตาม แต่ก็จะทำให้ผลตอบแทนจากการให้เช่าปีนั้นยิ่งต่ำลง เนื่องจากมีรายได้ไม่เต็มปี แล้วถ้าเป็นคอนโด เจ้าของยังต้องชำระค่าส่วนกลางให้กับนิติบุคคลอีก ก็จะทำให้ผลตอบแทนจากการเช่ายิ่งต่ำลงไปอีก เพราะว่าส่วนใหญ่เจ้าของห้องจะเป็นผู้ชำระค่าส่วนกลาง
            เรามาดูว่า ถ้าคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ที่จะใช้ในปีหน้า นาย B จะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง คำตอบคือ นาย B ก็จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน สำหรับบ้านที่ใช้พักอาศัย ส่วนทาวน์เฮาส์ที่ปล่อยให้เช่า นาย B จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน โดยนาย B จะต้องเสียตามอัตราพาณิชยกรรม โดยปี 2560-2562 เสียภาษีในอัตรา 0.3% (เนื่องจากมีมูลค่าเพียง 2 ล้านบาท) ดังนั้น นาย B จะต้องเสียภาษีส่วนนี้เป็นเงิน 6,000 บาท/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่นาย B ต้องจ่าย ก็จะประหยัดไปได้ 6,000 บาท /ปี เลยทีเดียว แต่ข้อเสียคือ ไม่ว่านาย B จะมีผู้เช่าหรือไม่ก็ตาม หรือจะมีผู้เช่าเต็มปีหรือไม่ก็ตาม นาย B ยังคงต้องเสียภ๊าที่ดิน 6,000 บาท/ปี  ในช่วง 3 ปีแรก ในขณะที่ถ้าเป็นภาษีโรงเรือน นาย B จะเสียภาษีเพียง 12.50% ของค่าเช่าที่เรียกเก็บได้จริงในปีนั้นๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปี 2563 คงต้องรอประกาศของรัฐบาลในยุคนั้น ว่าจะกำหนดให้อัตราภาษีที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม จะยังคงเป็นอัตราเดียวกับอัตราที่ใช้ใน 3 ปีแรกหรือไม่ หรือจะมีการปรับเพิ่มอัตราภาษี ซึ่งย่อมต้องส่งผลแก่นาย B หรือเจ้าของทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อการพาณิชยกรรมแน่นอน ส่วนบ้านที่นาย B ใช้อาศัยอยู่เนื่องจากมีมูลค่าน้อยกว่า 50 ล้านบาท จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเช่นกัน  แต่ถ้าบ้านที่นาย B ใช้พักอาศัยมีขนาดพื้นที่ 2 ไร่ มูลค่า 25 ล้านบาท นาย B จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ฬนปีนี้ เพราะมีขนาดเกิน 2 ไร่ อยู่ในท้องที่ที่มีชุมชนหนาแน่นปานกลาง ในขณะที่ตามภาษีที่ดินที่จะใช้ในปีหน้า นาย B กลับไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้เลย ส่วนภาษีเงินได้ วิธีคำนวณก็ยังคงเหมือนเดิม นาย B จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในจำนวนเงินเดียวกับแบบปัจจุบัน
            เนื้อที่หมดแล้ว มาตามอ่านผลกระทบของภาษีที่ดินที่จะมีต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และข้อเสนอแนะการจัดเก็บภาษีที่ดิน เพื่อความเป็นธรรมกันในบทความหน้ากันครับ


กิติชัย เตชะงามเลิศ
       5/9/59

ภาษีที่ดินกับผลกระทบ (ตอนที่ 1 ) http://kitichai1.blogspot.com/2016/08/1.html
ภาษีที่ดินกับผลกระทบ (ตอนที่ 2 ) http://kitichai1.blogspot.com/2016/08/2.html
ภาษีที่ดินกับผลกระทบ (ตอนที่ 3 ) http://kitichai1.blogspot.com/2016/09/3.html
 

  
      ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
 Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
 Twitter : http://twitter.com/value_talk
 Instagram : Gid_Kitichai
 Blog : http://kitichai1.blogspot.com
 You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
 Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
 Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
 Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
     หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า A10 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
              2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
              3.นิตยสาร Tycoon ทุกเดือน
              4.นิตยสาร คนรวยหุัน  Me(Market Evolution) วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส
 
คอนโด เอดจ์ (Edge) ประสานมิตร สุขุมวิท 23 เดิน 1 นาทีจาก MRT 2 นาทีจาก BTS


ห้องที่จะขาย
   ห้อง 011315 ชั้น 13 ประเภทห้อง 1A : 1 นอน 1 น้ำ ฝ้าเพดานสูง 2.9 เมตร อุปกรณ์มาตรฐาน Fully Fitted มีครัวและซิงก์ เตาและเครื่องดูดควัน แอร์ ไม่ติดลิฟท์ พื้นที่ใช้สอย : 29.5 ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศเหนือ ราคา 5,900,000 บาท

ที่ตั้งโครงการ : ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร

ประเภทโครงการ : คอนโดมิเนียม สูง 35 ชั้น 443 ยูนิต ล็อบบี้ ชั้น G และ Sky Lounge ที่ชั้น 27F / 27M ลิฟท์โดยสาร 3 ตัว ลิฟท์บริการ 1 ตัว  และอาคารจอดรถ 9 ชั้น(มีลิฟท์ 2 ตัว)  ชั้นส่วนกลางที่ 27F และชั้นลอย มีสระว่ายน้ำ, จากุซซี่, ฟิตเนสบนชั้น 27M ที่มองลงมาเห็นสระว่ายน้ำได้ มีการออกแบบที่ดีและสวยงาม ดีไซน์วงโค้งๆเป็นอกลักษณ์ของตึกเลย  ดาดฟ้าลานจอดรถ ทำเป็นพื้นที่นั่งเล่น ดื่ม และปาร์ตี้ได้นะครับ  สำหรับคนชอบสังสรรค์ สำหรับลูกบ้านเท่านั้น จำนวนห้องต่อชั้นสูงสุด 15 ห้อง เนื้อที่โครงการ : 2 ไร่ 217 ตารางวา คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จ : ต้นปี พ.ศ. 2560 ภายในห้อง ความสูงฝ้าเพดาน 2.9 เมตร อุปกรณ์มาตรฐาน Fully Fitted มีครัวและซิงก์ เตาและเครื่องดูดควัน ค่าส่วนกลาง 72 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ค่ากองทุน 500 บาทต่อตารางเมตร





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น