จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การบินไทย ใครๆก็รัก?


                                             การบินไทย ใครๆก็รัก
?

 

            หลังจากการบินไทยเข้าสู่ศาลล้มละลายกลางแล้ว คงจะต้องมีแผนปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการลดทุนของผู้ถือหุ้นเดิม และมีเม็ดเงินใหม่เข้ามาโปะ เพื่อให้การบินไทยมีสภาพคล่องสำหรับบริหารจัดการธุรกิจได้ต่อไป ประชาชนจะต้องเป็นหูเป็นตากัน อย่าให้รัฐบาลเอาเม็ดเงินภาษีของพวกเราไปโปะในแผนฟื้นฟูกิจการครั้งนี้ ควรจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะต้องนำเงินของตนเข้ามาโปะ เพื่อให้การบินไทยสามารถการดำเนินธุรกิจได้ต่อไป การบินไทยไม่ใช่สมบัติของชาติที่ต้องหวนแหน จะเอาเงินของชาติไปผลาญไม่ได้เป็นอันขาด

 

          สาเหตุที่ผมมีความเห็นดังกล่าวข้างต้นก็เพราะว่า งบการเงินที่ประกาศมากออกมาของการบินไทยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา(ภาพที่ 1) ปรากฏว่าขาดทุน 6 ปี โดยมี 5 ปีที่ขาดทุนในระดับที่มากกว่า 10,000 ล้าน และมี 1 ปีที่ขาดทุน 2 พันกว่าล้าน มีอยู่ปีเดียวคือปี 2559 ที่มีกำไร ซึ่งก็ทำกำไรได้เพียง 15 ล้าน ซึ่ง เป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับผลขาดทุนในแต่ละปี สรุปตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปี 2562  รวม 7 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าการบินไทยมีผลประกอบการเป็นขาดทุนสุทธิรวมแล้วถึง 66,486 ล้านบาท ถ้าไม่ใช่สายการบินแห่งชาติและมีรัฐบาลอุ้มชู คงเจ๊งไปนานแล้ว นี่ขนาดว่าในอดีตกระทรวงการคลังช่วยค้ำประกันหุ้นกู้ด้วย






ภาพที่ 1: ผลประกอบการของบริษัทการบินไทยจำกัด ช่วงระหว่างปี 2556 ถึง 2562

ที่มา: finnomena           

 

             อดีตที่ผ่านมาเราก็ได้เห็นบริษัทที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ต้องเลิกกิจการไปที่มีผลประกอบการขาดทุนจนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้วมีการปรับโครงสร้างหนี้ในขั้นตอนต่อมา ล่าสุดบริษัทการบินไทยจำกัดก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ประสบภาวะดังกล่าว เมื่อเทียบกับสายการบินอื่นๆ จะเห็นได้ว่าผลประกอบการของการบินไทยห่วยแตกจริงๆ ผมขอยกตัวอย่างกรณีผลประกอบการของสายการบิน Delta Airline(ภาพที่ 2) มาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน ปี 2017(2560) เดลต้าแอร์ไลน์กำไร 3.205 พันล้านเหรียญ(99,996 ล้านบาท) ปี 2018(2561) มีกำไร 3.935 พันล้านเหรียญ(122,772 ล้านบาท)  กำไรเพิ่มขึ้น 22.78% ในขณะที่ปี 2019(2562) มีผลกำไร 4.767 พันล้านเหรียญ(148,730 ล้านบาท)  โดยมีผลกำไรเพิ่มขึ้น 21.14%




ภาพที่ 2: ผลประกอบการของ เดลต้าแอร์ไลน์ ช่วงระหว่างปี 2560 ถึง 2562

ที่มา: https://www.macrotrends.net/

 

 

           หรือจะมาดูผลประกอบการของ Singapore Airlines(ภาพที่ 3) ซึ่งเป็นสายการบินของเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วยกัน  และเป็นคู่แข่งของการบินไทย จะเห็นได้ว่าปี 2017(2560) สิงคโปร์แอร์ไลน์กำไร 360.4 ล้านเหรียญสิงคโปร์(8,271 ล้านบาท) ปี 2018(2561) มีกำไร 1,301.60 ล้านเหรียญสิงคโปร์(29,872 ล้านบาท)   และปี 2019(2562) กำไร 682.70 ล้านเหรียญสิงคโปร์(15,668 ล้านบาท) ซึ่งเราจะไม่ดูผลประกอบการของปี 2020 ซึ่งทุกสายการบินทั่วโลกล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาขาดทุน เนื่องมาจากสถานการณ์ระบาดของไวรัส covid-19 


         ผมยังจำได้ว่าเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว การบินไทยกับสิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นคู่แข่งที่พอฟัดพอเหวี่ยงกันได้อย่างดี  หลังจากนั้นเราก็ถูกสิงคโปร์แอร์ไลน์ทิ้งไปยังไม่เห็นฝุ่น สาเหตุสำคัญเกิดจากไม่เคยมีผู้บริหารหรือบอร์ดที่เป็นมืออาชีพจริงๆ เหมือนกับสายการบินแห่งชาติของประเทศอื่น ทั้งยังมีการคอรัปชั่นในองค์กรเกือบทุกระดับ การบริหารจัดการของการบินไทยก็แย่มากเมื่อเทียบกับ Singapore Airlines ที่เป็นคู่แข่งของเรา 




 ภาพที่ 3: ผลประกอบการของ Singapore Airlines ช่วงระหว่างปี 2560 ถึง 2562

ที่มา: Yahoo Finance

 

          ในเมื่อสภาวะที่ธุรกิจสายการบินดำเนินแบบปกติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การบินไทยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่สายการบินที่ประสบปัญหาการขาดทุนจากผลดำเนินการ ในขณะที่สายการบินส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีผลประกอบการที่มีกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำ  เมื่อมาดูสถานการณ์การระบาดของไวรัส covid-19 ซึ่งยังไม่สามารถทำนายได้เลยว่า จะสิ้นสุดลงเมื่อใด สถานการณ์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการเดินทางจะเริ่มฟื้นตัวได้เมื่อไหร่ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วก็ไม่ต่ำกว่า ปีขึ้นไป ที่อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการเดินทางจะกลับเข้ามาอยู่เท่ากับระดับที่ก่อนจะเกิดการระบาดของไวรัส

 

         กระทั่งวอร์เรนบัฟเฟตต์นักลงทุนในตำนาน ยังขายทิ้งหุ้นของบริษัทสายการบินที่ถืออยู่ทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม คงน่าจะเป็นเพราะว่ายังมองไม่เห็นอนาคตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน ดังนั้นรัฐบาลไทยไม่ควรจะต้องนำเงินภาษีของประชาชนมาใส่ในบริษัทการบินไทยอีกต่อไป ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย หาเงินมาใส่ในกิจการเพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้ ทางคณะกรรมการปรับโครงสร้างหนี้ควรจะดูแบบอย่างจากเจแปนแอร์ไลน์ ที่ประสบปัญหาก่อนหน้านี้ว่าเขาบริหารจัดการกันอย่างไรจึ งสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงเวลาเพียงไม่นาน ถ้าธุรกิจดำเนินต่อไปได้ด้วยดี ในที่สุดเจ้าหนี้ก็จะได้รับชำระหนี้ เมื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ


กิติชัย เตชะงามเลิศ

    18/8/63







  ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยกรอกอีเมลของท่าน ในช่องใต้ Follow by Email ทางด้านขวามือ เมื่อมีบทความใหม่ๆ ก็จะมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆกันนะครับ



ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่

 Instagram : https://www.instagram.com/gid_kitichai/

ทีซีกรีน พระราม 9 ห้องมุม ถูกสุดใน 3 โลก แต่งสวย วิวสุดยอด ขายและให้เช่า









      ห้องที่จะขายและให้เช่า 1 นอน 1 น้ำ 37.97 ตารางเมตร ฝ้าเพดานสูง 2.7 เมตร ไม่ติดลิฟท์ ห้องมุมที่สวยที่สุด ของตึก D วิวสวนและคลองสวยมาก แต่งสวย วิวสุดยอด มี ผ้าม่าน 2 ชั้น เครื่องดูดควัน แอร์ 2 ตัว ตู้เย็น เครื่องซักผ้าฝาหน้า Digital TV 40 นิ้ว เครื่องทำน้ำร้อน และ Microwave ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ ราคา 3,200,000 บาท ค่าเช่า 13,000 บาท/เดือน

 

 ดู VDO @ https://youtu.be/qxddWbHMyMo

 

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอทั้งหมดของ TC Green พระราม 9  ได้ที่

 

https://photos.app.goo.gl/BE4Eb33NVNzX2Pqu6

 

หรือ https://www.dropbox.com/sh/emat3nvre55qiy6/AADkaFSXO9scXpwFElDTBw_va?dl=0

 

ที่ตั้งโครงการ : ห่างจาก MRT พระราม 9 ประมาณ 900 เมตร ติดถนน 2 ด้านคือ ถนนพระราม 9 และ ถนนจตุรทิศ(ถนนเลียบทางด่วนขั้นที่ 2 ศรีรัช) แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 พิกัด 13.753889, 100.575369