จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน ( ตอนที่ 2 )

ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน ( ตอนที่ 2 )

        เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ผมเขียนบทความเรื่อง ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน ( ตอนที่ 1 )”  ซึ่งเป็นชื่อหนังสือเล่มที่ 2 ของผม  แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมเห็นว่า  เรื่องภาษีที่กำลังเป็น Talk of the town  จึงได้เขียนแทรกขึ้นมา  สัปดาห์นี้เรามาต่อในตอนที่ 2 กันครับ
        ในบทความตอนที่ 1 ผมได้พูดถึง MINDSET  ที่ถูกต้องของการออมเงินว่า ควรเป็นอย่างไร รวมทั้งการตัดค่าให้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่างๆ
        ปัจจุบัน คนที่จบปริญญาตรี  จะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำ  15,000 บาท  บางคนจบบางคณะที่เป็นที่ต้องการของแหล่งงาน  หรือจบจากสถาบันที่มีชื่อเสียง พร้อมเกรดที่ดี  อาจจะได้รับเงินเดือนเริ่มต้นที่  20,000 – 25,000 บาท เสียด้วยซ้ำ  ผมขอยกตัวอย่างเป็นตุ๊กตา 2 คนคือ
        1. นาย A ได้เงินเดือนๆละ 15,000 บาท  ปัจจุบันยังอาศัยอยู่กับคุณพ่อคุณแม่
        2. นาย B  ได้เงินเดือนๆละ 25,000 บาท  ปัจจุบันออกมาอยู่เองตามลำพัง
        ถ้านาย A และ  นาย B  อยากจะเป็นว่าที่เศรษฐีเงินล้านในระยะเวลาไม่นาน  หรือเป็นเศรษฐีร้อยล้านตอนอายุ 50 ปี  เขาควรจะจัดการกับค่าใช้จ่ายต่างๆของเขาอย่างไร  เพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายของเขาได้
                                                นาย A                        นาย B
ค่าเช่าบ้าน                                   --------                       3,000
ค่าอาหารมื้อเช้าและเย็น                          --------                       3,000
ค่าอาหารมื้อกลางวัน                              1,500                       1,500
ค่าเดินทาง                                  1,500                       1,500
ค่าโทรศัพท์+ค่าน้ำ+ค่าไฟ                          200                           800
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ                                       2,200                  2,200
ค่าใช้จ่ายรวม                                       5,400                12,000

โดยกำหนดให้
        1. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม มื้อละ 50 บาท  ปัจจุบันข้าวแกงจานละ  30-45  บาท  แล้วแต่สถานที่  ส่วนน้ำดื่ม  เวลาผมไปเที่ยวต่างประเทศ  ผมจะซื้อน้ำดื่มขวดใหญ่  แล้วมาแบ่งใส่ขวดเล็กๆ  ทำให้ประหยัดค่าน้ำดื่ม  เพราะว่าน้ำดื่มบางประเทศขวดเล็กๆ 500cc ตกขวดละ 40-50 บาทเลยทีเดียว  อาจจะดูเหมือนเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว  แต่ถ้าคุณมุ่งมั่นจะเป็นว่าที่เศรษฐีเงินล้านหรือมหาเศรษฐีร้อยล้าน  เรื่องแค่นี้จิ๊บๆครับ อย่าได้แคร์คนนินทา  เอาไว้เรามีเงินล้านก่อนเขา  เขาจะต้องอิจฉาเราครับ
        2. การเดินทาง  ถ้าได้พักที่ใกล้รถไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็น BTS หรือ MRT  และบังเอิญที่ทำงานของคุณอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT  คุณก็สามารถซื้อตั๋ว 45 เที่ยวสำหรับ BTS หรือ ตั๋วเดือนสำหรับ MRT  ถ้าที่บ้านและหรือที่ทำงานคุณไม่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าทั้ง 2ระบบ  คุณควรจะใช้รถเมล์เป็นพาหนะหลัก  เพื่อที่จะให้ค่าเดินทางอยู่ในงบไม่เกิน 1,500 บาทต่อเดือน  ดีที่สุดคือ ควรจะหาที่พักที่ใกล้ที่ทำงานมากที่สุด  ยิ่งเดินไปทำงานได้ยิ่งดี  ทำให้คุณสามารถประหยัดค่าเดินทาง  แล้วเอาค่าเดินทางไปโปะเป็นค่าเช่าบ้านแทน  คุณก็มีเวลาสำหรับชีวิตมากขึ้น  ไม่จำเป็นต้องตื่นแต่เช้าตรู่  หรือเอาเวลาที่คุณประหยัดได้  เพื่อที่จะทำงาน OT  รวมทั้งหา JOB อื่นๆทำในฐานะ  FREE LANCE  ตามความถนัดส่วนตัว  เช่น อาจจะเป็นติวเตอร์สอนเด็กมัธยม  ทำขนมหวานแล้วไปฝากขายตามร้านอาหาร หรือ ขนมเบเกอรี่ต่างๆ  ใครจะไปรู้  คุณอาจจะกลายเป็นติวเตอร์ชื่อดัง  จนมาตั้งสถาบันติวเตอร์ของตัวเอง  หรือขนมหวานที่คุณทำ รสชาติถูกปากคนส่วนใหญ่  จนปากต่อปาก  ยิ่งปัจจุบัน SOCIAL  MEDIA  มีอิทธิพลสูง  คนที่ทานไปแล้วอาจจะโพสท์ลง FACEBOOK  หรือ LINE  ซึ่งเป็น SOCIAL MEDIA ยอดนิยมของคนไทย  ยิ่งคุณใส่ตรายี่ห้อของคุณเองพร้อมเบอร์โทรศัพท์ของคุณ  ลูกค้าที่ไปซื้อขนมของคุณที่ร้านอาหารหรือร้านขนมเบเกอรี่เหล่านี้  อาจจะโทรสั่งจากคุณเองได้อีก   ร้านขนมดังๆหลายร้านก็มีจุดเริ่มต้นแบบนี้นะครับ
        3.ทำความสะอาดห้องและซักรีดเอง  กรณีนาย A  อาจจะสบายหน่อย  เพราะว่าหลายๆบ้าน  งานเหล่านี้คุณแม่ที่แสนดีจะเป็นผู้รับภาระแทนคุณด้วยความเต็มใจ  ค่าน้ำ  ค่าไฟ  ค่าอาหาร ( ยกเว้นมื้อกลางวัน )  รวมทั้งค่าใช่จ่ายจิปาถะหลายอย่าง ทางบ้านเป็นผู้ออกให้  ตอนเช้าตื่นเช้าหน่อย  ตอนเย็นหลังเลิกงานรีบดิ่งกลับบ้าน  คุณแม่ของคุณคงดีใจที่จะได้ทำอาหารมื้อเช้าและมื้อเย็นให้คุณทาน  เผลอๆ จะทำกล่องอาหารมื้อกลางวันให้คุณด้วย  ถ้าคุณร้องขอ  มื้อเย็นก็ได้ทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากับทางบ้านครอบครัวเป็นสุขแน่ๆ  รู้อย่างนี้ นาย A ควรจะรักคุณพ่อคุณแม่ให้มากนะครับ  ส่วนนาย จะต้องจ่ายค่าอาหารทั้ง 3 มื้อเอง  รวมทั้งค่าน้ำ  ค่าไฟ  ค่าโทรศัพท์  และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เอง   อย่างไรก็ตาม ทั้งนาย และ นาย ควรจะควรจะน้อมรับพระราชโอวาทเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง”  เพียงเท่านี้คุณก็ก้าวไปครึ่งทางของการเป็นว่าที่เศรษฐีเงินล้านแล้วครับ  เสียดายเนื้อที่หมดแล้ว  เอาไว้ต่อตอนที่ 3  ในสัปดาห์หน้าครับ  แต่ถ้าท่านอดใจรอไม่ไหว  ลองหาหนังสือ ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน มาอ่านดูกันครับ  ซึ่งข้างในจะมีรายละเอียดมากกว่าในบทความนี้ครับ 

ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน ( ตอนที่ 1) http://kitichai1.blogspot.com/2015/03/1.html



    กิติชัย เตชะงามเลิศ
          25/03/58


ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
 Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
 Twitter : http://twitter.com/value_talk
 Instagram : Gid_Kitichai
 Blog : http://kitichai1.blogspot.com
 You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
 Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
 Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
 Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
 หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B8หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, และ Me(Market Evolution) ทุกเดือน ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที หาอสังหาทั้งถูกและดีเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ได้ที่ http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty 

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ภาษีที่ว่าบานตะไท

ภาษีที่ว่าบานตะไท

จริงๆแล้วสัปดาห์นี้ผมควรจะเขียนเรื่อง ออมน้อยเป็นร้อยล้าน ตอนที่ 2  แต่ทนหงุดหงิดใจเรื่องภาษีของรัฐบาลที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทุกครั้งที่มีกระแสวิจารณ์ ต้องขออนุญาติเขียนเรื่องภาษีในสัปดาห์นี้แล้วจะมาต่อตอนที่ 2 ในสัปดาห์หน้าครับ
ช่วงนี้ท่านผู้อ่านหลายๆท่านคงจะมีความรู้สึกว่า  รัฐบาลมีมาตรการจะเก็บภาษีจากประชาชนในหลายๆด้าน  เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ  ที่นอกจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้รายได้ฝืดเคือง แล้วยังต้องหาสตางค์มาจ่ายภาษีในรูปแบบใหม่ๆ  ที่กำลังจะถูกนำมาใช้  เราลองมาดูกันครับว่า มีภาษีอะไรบ้าง
                1. ภาษีเหล้าและบุหรี่  โดยมีการเรียกเก็บในอัตราที่สูงขึ้น  คงทำให้คอสุรา และนักดูด  คงจะต้องเจียดเงินในกระเป๋ามากขึ้น  ถ้าจะยังสูบบุหรี่และดื่มสุราอยู่อีก  ภาษีตัวนี้ผมขอสนับสนุนเต็มที่เลยครับ เพราะว่าเป็นสินค่าที่ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่แย่ลง  หลายๆท่านที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือตับแข็งก็เนื่องมาจากการบริโภคสินค้าเหล่านี้  ใจจริงผมอยากให้เก็บภาษีสินค้าไม่ว่าจะเป็นขนมและเครื่องดื่มในรูปแบบต่างๆ ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล และเกลือ ในอัตราที่สูงเกินไป  เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้วว่า  การบริโภคน้ำตาลและเกลือในสัดส่วนที่มากเกินกำหนดต่อวัน จะมีผลเสียต่อสูขภาพ
                2. ภาษีมรดก  ซึ่งเรียกเก็บจากผู้รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินที่มีการจดทะเบียน  เช่น  อสังหาริมทรัพย์  รถยนต์  หุ้น ฯลฯ  รวมกันแล้วเกิน  50ล้านบาท  สมมุติว่าเจ้าของมรดกมีทรัพย์สินมูลค่า  140 ล้านบาท เป็นทรัพย์สินที่มีการจดทะเบียนรวมแล้ว  100 ล้านบาท  เป็นทองคำ  20 ล้านบาท  เครื่องเพชร  10 ล้านบาท  และเงินสด  10 ล้านบาท มีบุตร  2 คน  คู่สมรส  และบิดามารดา เสียชีวิตแล้ว  และไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  ดังนั้น  บุตร  2 คน จะได้รับมรดกคนละครึ่ง  เป็นทรัพย์สินที่จดทะเบียน คนละ  50 ล้านบาท  ทองคำคนละ  10 ล้านบาท  เครื่องเพชรและเงินสด  คนละ  5 ล้านบาท (สมมติว่าทุกอย่างสามารถแบ่งกันได้คนละครึ่งพอดี)  ดังนั้น ทายาทโดยธรรมที่เป็นบุตร ทั้ง  2 คน  ไม่ต้องเสียภาษีเลยแม้แต่บาทเดียว  ดังนั้นจะเห็นได้เลยว่ากระทั่งเศรษฐีร้อยล้านบางราย ก็ยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาษีมรดกเลย 
                3. ภาษีรถยนต์ใหม่  ที่จะประกาศใช้ในปี  2559  โดยจากเดิมที่พิจารณาจากขนาดของเครื่องยนต์( cc )  และแรงม้า  แต่โครงสร้างภาษีใหม่จะเน้นไปที่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ ( cu )  ตามมาตรฐานยูโรป  เพื่อการสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งจะทำให้รถรุ่นนี้สามารถเข้าไปตีตลาดในประเทศที่มีมาตรฐานสูงๆ อย่าง  EU  และยังลดมลภาวะภายในประเทศอีกด้วย  ซึ่งมาตรการนี้  คงส่งผลให้รถตามมาตรฐานเก่าๆ ถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น    ขณะที่รถมาตรฐานใหม่จะเสียภาษีต่ำลง  คงส่งผลให้ยอดขายรถยนต์  ปลายไตรมาสที่ 3 จนถึงสิ้นปีดีขึ้น  เนื่องจากคนที่จะซื้อรถอยู่แล้วรีบตัดสินใจเร็วขึ้น 
                4. โครงสร้างภาษีพลังงาน  มีการปรับเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีสรรพสามิต  และเงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง  ในน้ำมันและก๊าซเชื้อเพลิง ทุกชนิด เพื่อให้เกิดสมดุลและเป็นธรรมต่อผู้ใช้  จากเดิมที่เคยทำให้คนหันมาใช้น้ำมันดีเซล ก๊าซ LPG และ NGV มาก โครงสร้างการใช้พลังงานไม่สมดุล
                5. ภาษีที่ดินและทรัพย์สิน  ซึ่งเป็นตัวภาษีที่โดนวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด  จนมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง  เรามาดูกันครับว่าภาษีนี้สร้างภาระจริงหรือไม่  โดยผมจะยึดแนวคิดล่าสุดของกระทรวงการคลัง
                                5.1 ที่ดินเพื่อการเกษตร จะเรียกเก็บที่ 0.05% จากเพดาน 0.25 %  สมมติว่า  ชาวนาชาวสวนที่มีที่ดิน มูลค่า                                  500,000 บาท  จะโดนเก็บเพียง  250 บาท ต่อปี ตกแล้วเดือนละประมาณ 20 บาท  ผมมองไม่ออกเลยว่าภาระ                                              ภาษีแค่นี้จะทำให้ชาวนาเดือดร้อนได้อย่างไร
                                5.2  ที่อยู่อาศัย ราคาต่ำกว่า 1.50 ล้านไม่ต้องเสียภาษี  สมมติว่า  ท่านมีบ้านราคา 3 ล้านบาท  ผมขอ                                                                 แบ่งเป็น  2 กรณี
                                                5.2.1  รัฐบาลคิดตั้งแต่บาทแรก  ท่านต้องเสียภาษี 0.1% ( จากเพดานที่ 0.5% )  ดังนั้น  ภาษีที่                                                         ท่านต้องจ่าย = 3,000 บาท  ตกเดือนละ  250 บาทเท่านั้น  ผมยังดูว่าไม่เป็นภาระอะไรเลย  ลอง                                                     มาดูอีกกรณีครับ
                                                5.2.2  รัฐบาลคิดส่วนที่เกิน 1.50 ล้านบาท (แบบนนี้คนส่วนใหญ่จะรู้สึกมีความเป็นธรรมมากว่า )                                                               ท่าจะเสียภาษีเพียง  1500 บาท  ตกเดือนละ  125 บาท เท่านั้น  ดูแล้วไม่เห็นจำเป็นต้องออกมา                                                      โวยวายอะไรกันเลย
                                5.3  ภาษีเพื่อการพาณิชย์  เรียกเก็บ  0.2% จากเพดาน  2ซึ่งภาษีตัวนี้ก็จะมาเก็บแทนภาษีโรงเรือน  รวมๆ                                  แล้วอาจจะจ่ายเพิ่มอีกหน่อยจากตอนที่เก็บเต็มเพดาน  แต่ผมก็เห็นด้วยกับรัฐบาล
                                5.4  ที่ดินที่ว่างเปล่า  เรียกเก็บ  0.5จากเพดาน  2โดยเฉลี่ยราคาที่ดินในแต่ละปี จะขึ้นไปมากกว่าอัตรา                                             ที่เพดานที่รัฐบาลเรียกเก็บเสียด้วยซ้ำ  ยิ่งทำเลดีๆ ราคาขึ้นไปเป็น  100% ในเวลาไม่กี่ปีเสียด้วยซ้ำ  ภาษีตัวนี้                                             จะเป็นการกระตุ้นให้มีการใช้ที่ดินให้เกิดประโยขน์  จึงเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนครับ
                สรุป กว่าจะเริ่มเก็บจริงก็ปี 2560ครับ ผมชู2มือสนับสนุน  ภาษีต่างๆ ของรัฐบาลชุดนี้อย่างเต็มที่  ผมคิดว่าน่าจะเป็นการอ่อนประชาสัมพันธ์ ของหน่วยงานรัฐ  ถ้ามีการอธิบายให้เข้าใจตามนี้ตั้งแต่แรก  ประชาชนคงจะไม่โวยวาย  และถ้าชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า  รายได้ส่วนนี้ จะนำไปพัฒนาให้ชุมชนต่างๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างไร  ยิ่งชี้แจงละเอียด  ยิ่งจะมีแต่คนสนับสนุนครับ

   

    กิติชัย เตชะงามเลิศ
          18/03/58


ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
 Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
 Twitter : http://twitter.com/value_talk
 Instagram : Gid_Kitichai
 Blog : http://kitichai1.blogspot.com
 You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
 Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
 Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
 Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
 หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B8หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, และ Me(Market Evolution) ทุกเดือน ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที หาอสังหาทั้งถูกและดีเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ได้ที่ http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty                            


วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน ( ตอนที่ 1)

ออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน ( ตอนที่ 1)

            ปัจจุบันถ้าเดินเข้าไปในร้านหนังสือ  จะพบว่าหนังสือเกี่ยวกับการออมเงิน  การลงทุนทั้งหุ้น  อสังหาริมทรัพย์  กองทุนรวม  ยังเป็นประเภทที่ยอดนิยม  ดูจากอันดับหนังสือขายดี  ไม่ว่าจะเป็น  SE-ED  B2S  นายอินทร์  และคิโนะคุนิยะ  ทำให้มีหนังสือแนวนี้ออกมาวางจำหน่ายมากมาย  นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่คนไทยเริ่มตื่นตัวค้นคว้าหาความรู้ทางด้านนี้  ในความคิดของผม  กระทรวงศึกษาน่าจะบรรจุหลักสูตรเรื่องการออมเงินเข้าไปในหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมต้น  เผื่อว่านักเรียนบางคนที่จบ ม. ต้น แล้วไม่ศึกษาต่อ หรืออาจจะไม่ต่อมัธยมปลาย แต่ไปเรียนสาย  อาชีวะ  ปวช.  ปวส.  เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ที่จะกลายเป็นอนาคตของชาติ  มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออมอย่างถูกต้อง
            ผมเคยลองถามคนรู้จักเกี่ยวกับเรื่องการออมเงิน  โดยผมเริ่มจากถามว่า เมื่อเขามีรายได้เข้ามา  แล้วจัดการกับเงินออมก้อนนี้อย่างไร  ประมาณ 50% จะตอบว่า จะใช้ก่อนแล้วที่เหลือก็จะเก็บออม ซึ่งแค่เริ่มต้นก็ผิดแล้ว  MINDSET  ในการออมเงินที่ถูกต้องของการออมเงินก็คือ  ควรจะกันเป็นเงินออมไว้ก่อน แล้วค่อยนำเงินที่เหลือไปใช้  มิฉะนั้นด้วยสิ่งล่อใจ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา  ความยั่วยวนของผลิตภัณฑ์ หรือบริการ  คำชักชวนหรือแนะนำจากเพื่อนๆตัวดี ซึ่งจะทำให้เงินในกระเป๋าของท่านไม่เหลือ  บางท่านยิ่งแล้วใหญ่ ไปกู้หนี้ยืมสิน ไม่ว่าจะเป็น  หนี้ในระบบสถาบันการเงิน  ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่ออเนกประสงค์ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล อัตราจะมหาโหด  คือ  ประมาน 20% บวกลบ  ยิ่งรัฐบาลส่งเสริมเศรษฐกิจ NANO FINANCE  เพื่อปล่อยกู้ให้กับบุคคลทั่วไป เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ  ซึ่งอัตราดอกเบี้ยประเภทนี้ยิ่งแพงขึ้นไปอีก  คือประมาน  28-36%  แต่ก็ยังต่ำกว่าดอกเบี้ยนอกระบบที่คิดดอกเบี้ยถึง 4-5% ต่อเดือน  อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหล่านี้ สูงมากขนาด Warren Buffet นักลงทุนที่มีชื่อเสียงระดับโลก ยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้เพียง 20%  กว่าๆเท่านั้น  แล้วทำไมจะมากู้เงินเพื่อไปใช้จ่ายที่อัตราดอกเบี้ยสูงขนาดนี้  เป็นเรื่องที่เข้าใจยากจริงๆ  เซลล์ท่านหนึ่งที่ผมติดต่อด้วย ทำบัตรเครดิตแล้วเบิกเงินสดล่วงหน้ามา  เพื่อจะพาครอบครัวไปเที่ยวญี่ปุ่น  เพราะว่าทนรบเร้าจากลูกๆไม่ได้  ผมฟังเขาเล่าแล้วอดหดหู่ใจไม่ได้  แทนที่เขาจะสอนลูกให้รู้จักประหยัด  กลับตามใจลูกในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง  ขณะนี้ก็มากลุ้มใจกับหนี้บัตรเครดิต อยากจะปลดหนี้เร็วๆ ไม่รู้จะทำอย่างไร  จนต้องมาปรับทุกข์กับผม  ผมจึงแนะนำไปว่า  เขาควรจะทำตารางค่าใช้จ่ายทุกๆวัน  ทุกๆรายการ  พอสิ้นเดือนนอกจากจะคำนวณรวมค่าใช้จ่ายแล้ว  ควรจะตรวจดูรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ว่ามีอะไรบ้างที่ไม่จำเป็น  ก็ควรเอาปากกาหมึกแดงมา Mark ไว้  แล้วเตือนตัวเองในการใช้จ่ายครั้งต่อๆไป  อย่างเช่นการซื้อกาแฟดื่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ปัจจุบันกาแฟถ้วยหนึ่งราคาตั้งร้อยกว่าบาทเลยทีเดียว  ปีหนึ่งดื่มร้อยกว่าถ้วย ตกแล้วปีหนึ่งถึงเกือบ 15,000 บาท  นี่ยังไม่นับ Cookie  หรือ Cake  ที่ทานไปพร้อมกับการละเลียดกาแฟ  ถ้ารวมเข้าไปแล้วปีหนึ่งๆ แค่ค่าใช้จ่ายไร้สาระนี้ก็เกือบ 30,000 บาท เข้าไปแล้ว  ผมเองตั้งแต่มีร้านกาแฟสาขาชื่อดังจากเมืองนอกเข้ามา  ผมไม่เคยซื้อดื่มเองแม้แต่ครั้งเดียว  ด้วยความรู้สึกว่ากาแฟถ้วยหนึ่งราคาเท่ากับข้างแกง 4 จานเลยทีเดียว  ผมไปเที่ยวสหรัฐเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว  จำได้ว่า เดินเข้าไปในร้านกาแฟยี่ห้อนี้  ผมลองเทียบกับราคากาแฟร้านนี้ในประเทศไทย  ปรากฏว่า ราคาที่เมืองไทยยังแพงกว่าที่สหรัฐเสียอีก ( ถ้าปัจจุบันราคากาแฟนี้ที่สหรัฐยังไม่ได้ขึ้นราคาไปมากกว่าเมื่อ 7-8 ปีที่แล้วมากนักนอกจากกาแฟร้านดังกล่าวแล้ว ร้านอื่นๆก็ไม่ได้เงินจากผมเช่นเดียวกัน  เนื่องจากผมเป็นคนที่ไม่ติดกาแฟ  มีก็ดื่ม ไม่มีก็ไม่ดื่ม  และราคากาแฟก็ถีบตัวขึ้นสูงมาก เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ  แม้กระทั่ง กาแฟรถเข็น  เห็นเดี๋ยวนี้ขายถ้วยละ 35-45 บาทกันแล้ว  ค้ากำไรเกินควร  ว่างๆอยากให้ท่านสรรพากรไปเช็คดูรายได้เหล่าบรรดารถเข็นเหล่านี้  บางรายขายได้วันละมากกว่า 200 ถ้วย ยอดขายปีๆหนึ่งมากกว่า 2 ล้านบาท  แต่พ่อค้าแม่ค้ารถเข็นเหล่านี้ เป็นอภิสิทธิ์ชน  คือมีรายได้อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี  แต่ไม่เคยเสียภาษีเลย  ขณะที่พนักงาน Office หลายรายมีรายได้ต่ำกว่านี้  ถูกสรรพากรถอนขนท่านจบแทบไม่มีเหลือ  จริงๆแล้ว  ถ้าสรรพากรตามเก็บภาษี กับพวกพ่อค้าแม่ค้าทั้งรถเข็น และแผงลอย  จับมาเข้าระบบภาษีให้หมด  ปีๆหนึ่ง น่าจะเก็บภาษีได้ไม่น้อยเลยทีเดียว  นอกจากกลุ่มผู้ค้าเหล่านี้ไม่เสียภาษีแล้ว  ยังครอบครองพื้นที่ 1/3-1/2ของพื้นที่บาทวิถี  ราวกับเป็นเจ้าของทางเดินเท้าเอง  ยิ่งกลุ่มผู้ค้าบริเวณสยามสแควร์  พวนนี้เดือนๆหนึ่งมียอดขายไม่ใช่น้อยเลย  ไม่ต้องเสียภาษี  ค่าที่ก็ไม่ได้จ่ายให้จุฬา  ขับไล่ก็ไม่ไป  เบียดบังทางเดิน จนคนเดินเท้าต้องลงไปเดินบนถนน หรือเดินเบียดเสียดยัดเยียดกัน  นี่แหละ Thailand only
            เนื้อที่หมดแล้ว  อ่านต่อฉบับหน้านะครับ
           

 

    กิติชัย เตชะงามเลิศ
          11/03/58


ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
 Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
 Twitter : http://twitter.com/value_talk
 Instagram : Gid_Kitichai
 Blog : http://kitichai1.blogspot.com
 You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
 Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
 Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
 Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
 หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B8หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, และ Me(Market Evolution) ทุกเดือน ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที หาอสังหาทั้งถูกและดีเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ได้ที่ http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

หุ้นเพิ่มทุน IPO, PP และ RO (ตอนจบ)

หุ้นเพิ่มทุน IPO, PP และ RO (ตอนจบ)


2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้พูดถึงเรื่อง IPO และ PP ไปแล้ว สัปดาห์นี้เรามาคุยกันต่อในเรื่อง RO หรือ RIGHT OFFERING ซึ่งก็คือ การที่บริษัทจดทะเบียนออกหุ้นใหม่เพิ่มทุน หรือขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ในกรณีที่บริษัทต้องการใช้เงินในช่วงระยะ 2 – 3 เดือน การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นเดิมโดยวิธี RO ก็เป็นวิธีที่นิยมทำกัน แต่กรณีที่บริษัทมีโครงการจะใช้เงินอีก 2 – 5 ปีข้างหน้า การออกเป็น WARRANT เพื่อรองรับโครงการในอนาคตดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม เนื่องจากบริษัทยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินทันที การไปรบกวนผู้ถือหุ้นบ่อยๆก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะกระทำ โดย WARRANT ที่ออกจะมีการกำหนดอายุ ราคาที่แปลงสภาพ โดยส่วนใหญ่ WARRANT จะมีอายุ 2 – 5 ปี WARRANT บางตัวอาจจะแปลงสภาพได้ปีละ 4 ครั้ง บางตัวอาจจะปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น การที่มีสิทธิแปลงสภาพได้บ่อย ทำให้ผู้ถือ WARRANT มีโอกาสเลือกมากขึ้นที่จะถือเป็น WARRANT หรือจะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ โดยดูจากภาวะราคาตลาดของตัว WARRANT เอง และราคาหุ้นสามัญซึ่งนักลงทุนหลายรายจะเรียกว่าหุ้นแม่ ว่า WARRANT นั้นๆ IN THE MONEY หรือ OUT OF THE MONEY ผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่คุ้นเคยกับศัพท์ 2 คำนี้ ผมขออนุญาตขยายความให้ฟัง ดังนี้ครับ
1)    IN THE MONEY คือ ภาวะที่ WARRANT ตัวนั้นๆ เมื่อนำไปบวกกับราคาแปลงสภาพ โดยคำนึงถึงสัดส่วนที่ต้องใช้ในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญแล้ว ต้นทุนถูกกว่าราคาตลาด เช่น WARRANT บางตัวอาจจะ 1 WARRANT สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ 2 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 5 บาท หรือเขียนได้ดังนี้ 1W : 2C @ 5 บาท ( W = WARRANT และ C = COMMON STOCK หรือหุ้นสามัญนั่นเอง) ถ้าราคา WARRANT อยู่ที่ราคา 2 บาท และราคาหุ้นสามัญอยู่ที่ราคา 6.50 บาท เรามาคำนวณต้นทุนของการแปลงสภาพครั้งนี้กันครับ สมมติว่า นาย ก ซื้อ WARRANT มา 100 หน่วย ต้นทุนหน่วยละ 2 บาท และต้องการแปลงสภาพทั้งหมดเป็นหุ้นสามัญ ต้นทุนทั้งหมดจะ = (2 บาท x 100 หน่วย) + (100 หน่วย x 2 หุ้น x 5 บาท) = 1,200 บาท ได้เป็นหุ้นสามัญ = 200 หุ้น ดังนั้นหุ้นสามัญที่ได้จากการแปลงสภาพจะมีต้นทุนตกหุ้นละ 6 บาท ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 6.50 บาทต่อหุ้น และราคาวอร์แรนท์ตัวนี้ที่ 2 บาท ถือว่า IN THE MONEY นักลงทุนสามารถซื้อ วอร์แรนท์แล้วทำการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ หรือนักลงทุนที่มีหุ้นสามัญอยู่ ก็อาจจะตัดสินใจขายหุ้นสามัญที่ถืออยู่ แล้วนำเงินมาซื้อวอร์แรนท์แล้วนำไปแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญแทน ก็จะได้กำไร 100 บาทจากการทำเช่นนี้ซึ่งเรียกว่าการทำ ARBITRAGE  อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนึงถึงเรื่องการจ่ายเงินปันผล ซึ่งปกติถ้าเป็นการจ่ายปันผล ราคาหุ้นสามัญอาจจะลดลงหลังตลาดขึ้นเครื่องหมาย XD  แล้วถ้าช่วงที่แปลงสภาพเป็นช่วงที่ใกล้ XD หุ้นสามัญที่ได้จากการแปลงสภาพเข้าตลาดหลัง XD ก็จะทำให้ราคาลดลง ดังนั้นช่วงที่จะแปลงสภาพ อาจจะต้องดูประวัติย้อนหลังของบริษัทดังกล่าว ว่ามีพฤติกรรมการจ่ายปันผลช่วงเดือนไหนของทุกปี และ PAYOUT RATIO และ DIVIDEND YIELD ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อัตราเท่าไหร่ เพื่อที่นักลงทุนจะได้คาดการณ์จำนวนเงินปันผลที่บริษัทจะจ่ายโดยคำนึงถึง RATIO 2 ตัวข้างต้นดังกล่าว และกำไรต่อหุ้นของบริษัทที่คาดว่าจะทำได้
2)    OUT OF THE MONEY คือภาวะที่ WARRANT ตัวนั้นๆเมื่อนำไปบวกกับราคาแปลงสภาพและคำนวณตามสัดส่วนที่ต้องใช้ในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญแล้ว มีต้นทุนสูงกว่าราคาตลาดของหุ้นสามัญตัวนั้นๆ แต่มีหลายๆครั้งที่นักลงทุนจะพบว่า WARRANT นับสิบๆตัวที่ OUT OF THE MONEY แต่ก็ยังมีคนซื้อ สาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการเก็งกำไร โดยเฉพาะ WARRRANT ที่มีราคาต่ำแต่ต้องใช้เงินแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในจำนวนเงินที่มาก ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มเลือกที่จะซื้อ WARRANT เพื่อเก็บเงินสดไว้ลงทุนในบริษัทอื่น หรือสินทรัพย์อื่นๆ ดังนั้นการคำนึงถึงมูลค่าของเวลาโดยเฉพาะ WARRANT ที่มีอายุเหลืออยู่ยิ่งนาน โอกาสที่จะมี OUT OF THE MONEY จะยิ่งสูง โดยเฉพาะนักลงทุนหลายท่านก็อาจจะอาศัย BLACK – SCHOLES MODEL ช่วยประกอบการตัดสินใจลงทุนใน WARRANT ตัวนั้นที่ราคาใดๆ โดยส่วนตัวผมมักจะนิยมลงทุนใน WARRANT ที่ IN THE MONEY มากกว่า

ช่วงนี้ตลาดเริ่มปรับตัว SIDE WAY DOWN รอบที่ผ่านมา การขึ้นของ SET INDEX ถูกผลักดันโดย PTT, BAY, และ SCC รับส่งไม้ผลัดกัน รอบนี้ดูเหมือน BAY จะลงหนักหน่วงกว่าเพื่อน จากขึ้นไปทำ PEAK ที่ 104 บาทแล้วก็ไหลรูดอย่างเดียว ลงมาต่ำกว่า 60 บาทแล้ว ประกอบกับช่วงนี้เริ่มเป็นเทศกาล XD หลังจากบริษัทจดทะเบียนประกาศผลประกอบการปี 2557 ครบหมดแล้ว โดยเทศกาล XD น่าจะส่งผลให้ SET INDEX ลงได้อีกประมาณ 20 จุด อย่างไรก็ตามจากการที่ GDP ปีที่ผ่านมาโตเพียง 0.70 % ส่งออกมกราคมติดลบ 3% กว่าๆ มีการปรับคาดการณ์ GDP และยอดส่งออกจากหน่วยงานต่างๆลดลง ผลประกอบการปี 57 ที่ประกาศออกมา บวกกับตัวเลข GDP และส่งออกที่แย่กว่าคาด คงทำให้นักวิเคราะห์ DOWNGRADE กำไรของบริษัทจดทะเบียนลงอีก เก็บเงินใส่กระเป๋ากันไว้ก่อนนะครับ
หุ้นเพิ่มทุน IPO, PP และ RO (ตอนที่ 2) http://kitichai1.blogspot.com/2015/02/ipo-pp-ro-2.html
หุ้นเพิ่มทุน IPO, PP และ RO ตอนที่ http://kitichai1.blogspot.com/2015/02/ipo-pp-ro-1.html


    กิติชัย เตชะงามเลิศ
          04/03/58


ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
 Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
 Twitter : http://twitter.com/value_talk
 Instagram : Gid_Kitichai
 Blog : http://kitichai1.blogspot.com
 You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
 Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
 Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
 Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
 หรือหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B8หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และนิตยสารคนรวยหุัน, Condo Guide, Glow, และ Me(Market Evolution) ทุกเดือน ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที หาอสังหาทั้งถูกและดีเพื่ออยู่เองหรือเพื่อการลงทุน ได้ที่ http://www.pantipmarket.com/mall/homeproperty