เศรษฐีกับรากหญ้า…คนละชนชั้น?(ตอนจบ)
บทความตอนที่แล้วผมได้นำภาพตารางแสดงปริมาณเงินฝากแยกตามขนาด
ซึ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน มันช่างกว้างเสียเหลือเกิน
เรามีเศรษฐี 43,463 คน
หรือคิดเป็น 0.064%
ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด ซึ่งมีเงินฝากรวมกันแล้วทั้งหมด = 5,483,050 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 42.95%
ของจำนวนเงินฝากทั้งหมด ในขณะที่เรามีชนชั้นรากหญ้า 77.96% ซึ่งมีเงินฝากรวมกันแล้วทั้งหมด
= 2,821,359 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 22.10% ของจำนวนเงินฝากทั้งหมด ที่เหลือเป็นชนชั้นกลาง ซึ่งมีจำนวน1,389,250 คน หรือคิดเป็น 2.04% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด
มีเงินฝากรวมกันทั้งหมด = 4,462,894
ล้านบาท หรือคิดเป็น 34.95% ของจำนวนเงินฝากทั้งหมด
ปัญหาคือเราจะทำอย่างไร เพื่อจะลดช่องว่างดังกล่าวให้แคบลง
แต่ไหนแต่ไรมา ผมไม่เคยศรัทธาการให้ปลา
แต่ผมศรัทธาการสอนให้คนตกปลาเป็น ผมเห็นบริษัทต่างๆไม่ว่าบริษัทใหญ่หรือบริษัทเล็ก
เวลาจะทำ CSR ก็มักจะเอาของไปแจก
อย่างเช่นทุกฤดูหนาวก็จะเอาผ้าห่มไปแจกเป็นต้น ทำกันอย่างนี้ทุกปี ไม่รู้ว่าป่านนี้คนจนมีผ้าห่มกี่สิบผืนแล้ว
แต่คนจนก็ยังคงยากจนอยู่เหมือนเดิม
ทำไมเราไม่สอนวิธีการทำมาหากิน การสร้างรายได้ ให้กับคนเหล่านี้
เพื่อให้เขามีวิชาติดตัว สามารถพึ่งพาตนเองได้ไม่ดีกว่าเหรอ สู้ใช้วิธีการช่วยเหลือสังคมแบบ Social
Enterprise(SE) น่าจะได้ประโยชน์มากกว่าและยั่งยืนกว่า ซึ่งผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ SE ลงในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
สามารถที่จะติดตามอ่านได้ที่ http://kitichai1.blogspot.com/2016/04/se-csr.html
โดยทางภาครัฐกับภาคเอกชนร่วมมือกัน
แล้วให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆของหอการค้าแห่งประเทศไทย
ส่งตัวแทนเข้ามาวางแผนกับภาครัฐในการทำ SE
จัดตั้งสำนักงานพัฒนาแรงงาน
เพื่อให้มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน
ให้รัฐเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแรงงานของคนจนเหล่านี้
จากฐานของผู้มีบัตรคนจน 10 กว่าล้านใบ รัฐสามารถที่จะติดต่อคนเหล่านี้
ให้เข้ามาฝึกและพัฒนาฝีมือแรงงาน เริ่มต้น อาจจะต้องมีแรงกระตุ้น
อย่างเช่นถ้าคนจนคนไหนที่มารับการฝึกพัฒนาฝีมือแรงงาน
ก็จะได้เบี้ยเลี้ยงทุกวันที่มาฝึก
แล้วเมื่อถึงสิ้นคอร์สอบรม ถ้าใครสอบผ่าน ก็จะได้รับโบนัสอีกต่างหาก
พอสำเร็จการอบรมก็จะทำให้คนจนเหล่านี้
มีทางเลือกที่จะไปประกอบอาชีพจากความรู้ที่ได้รับมา หรือไปทำงานกับ SE ต่างๆ โดยกำหนดให้
SE จะต้องรับแรงงานเหล่านี้เข้าทำงาน
และทุกองค์กรของ SE จะต้องมีแรงงานเหล่านี้ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนพนักงานทั้งหมด
และรัฐก็ควรจะให้ฝ่ายเอกชน นำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
มาลดหย่อนภาษีได้ตามสมควร เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนเห็นถึงประโยชน์
ทั้งทางด้านประหยัดภาษีและภาพลักษณ์ขององค์กร ก็จะเป็น win win win ทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน และคนจนทั้งประเทศ ยิ่งถ้าลงไปในระดับหอการค้าของจังหวัดต่างๆได้
ก็จะทำให้การช่วยเหลือคนจนได้ทั่วถึงมากขึ้น
ผมคิดว่าเราจะลดปริมาณคนจนในประเทศได้เป็นอย่างมาก
ซึ่งจะทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนแคบลง
กลับมาที่เรื่องของคนที่มีเงินฝากกันบ้าง จากฐานข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อสิ้นสุดเดือนสิงหาคม
2560 พบว่ามีบัญชีเงินฝากทั้งสิ้น 92,537,617 บัญชี
รวมเป็นเงิน 12,767,304 ล้านบาท
ซึ่งส่วนใหญ่จะฝากอยู่ที่สถาบันการเงินใหญ่ๆ ตัวเลขล่าสุดที่ผมเช็คมา
อัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปี ของธนาคารกรุงเทพ = 1.50% ในขณะที่ถ้าฝากกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แห่งหนึ่ง
อัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปี = 3.50% อัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันเกินเท่าตัวด้วยซ้ำ
ทั้งๆที่สถาบันการเงินทั้ง 2
แห่งก็อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.)เหมือนกัน สมมุติว่ามีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารกรุงเทพ 15
ล้านบาท พอครบปีท่านจะได้ดอกเบี้ย 225,000 บาท
ในขณะที่ฝากเงินกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แห่งนั้น พอครบปีถ้าจะได้ดอกเบี้ย 525,000 บาท จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยแตกต่างกันถึง 300,000
บาทเลยทีเดียว(ยังไม่ได้หักภาษีจากดอกเบี้ยที่ได้รับ) ทั้งๆที่สคฝ.คุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 15
ล้านบาทต่อบัญชีสถาบันการเงิน
เพียงแค่ทำการบ้านหน่อย
ถามอากู๋ว่ารายชื่อสถาบันการเงินที่อยู่ในความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.)
มีอะไรบ้าง แค่นี้ก็จะได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่จำนวนเงินต้นเท่าเดิมและช่วงเวลาฝากก็เท่าเดิม
แต่อย่าลืมนะครับว่า
สคฝ.เตรียมที่จะขยับลดความคุ้มครองเงินฝาก ให้เหลือเพียง 10 ล้านบาท ในวันที่ 11
สิงหาคม 2561 จากปัจจุบันที่คุ้มครองไม่เกิน 15 ล้านบาท และหลังจากวันที่ 11
สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป จะคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียงบัญชีละ 1
ล้านบาทต่อสถาบันการเงิน
พอถึงเวลานั้นก็ย้ายเงินฝาก ไปไว้ที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทั้ง 3
แห่งและบริษัทเงินทุนอีก 2 แห่ง
ซึ่งแน่นอนจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าฝากกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป แต่ไหนแต่ไรผมชอบนินทาคนที่ฝากเงินกับธนาคาร
ว่าเป็นคนสิ้นคิด ช่วยคิดเพิ่มอีกหน่อยก็ดีนะครับ
อ่าน เศรษฐีกับรากหญ้า…คนละชนชั้น?(ตอนที่ 1) ได้ที่ http://kitichai1.blogspot.com/2018/06/1.html
กิติชัย เตชะงามเลิศ
18/6/61
ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert
หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
3.วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส
ณ
วรา เรสซิเดนท์ หลังสวน ขายดาวน์ยูนิตสุดสวย ชั้นเพนท์เฮ้าส์ พร้อมเฟอร์นิเจอร์พรีเมียมครบชุด ซื้อมาในรอบ VVIP เจ้าของขายเอง
ราคาพิเศษ เดิน 3 นาที จาก BTS ชิดลม
ห้องที่จะขายดาวน์(คาดว่าจะเสร็จภายใน กย. ปี
2561) : ห้อง ชั้น 8(ชั้นเพนท์เฮ้าส์ ) พื้นที่ 44.37 ตรม.1 นอน 1 น้ำ หันไปทางทิศเหนือ ชั้นนี้ มีสวนลอยฟ้า สระว่ายน้ำ และฟิตเนส วิวดี พร้อมเฟอร์นิเจอร์พรีเมียมครบชุด ตกแต่งสวยมาก ราคา 10,600,000 บาท
CALL : 081-8118229
LINE : gid_kitichai
Wechat : gid_kitichai
Navara Residence, 1B 1B, penthouse fl., fully furnished, 3 minutes walk from BTS
Chidlom, 44.37 sqm., only 10.60 million baht.
Down payment sales:
The unit is on 8th
fl.(penthouse fl.), 1B1B, fully
furnished, 44.37 sqm., balcony facing
north, only 10.60 million baht.
CALL : 081-8118229
LINE : gid_kitichai
Wechat : gid_kitichai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น