ตูนตบหน้ารัฐหลายฉาด
จากรายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(International Labour
Organization : ILO) http://www.ilo.org/ แสดงให้เห็นว่า
ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทและประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตตัวเมืองในหลายพื้นที่ทั่วโลก(โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและละตินอเมริกา) มีความสามารถในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่แตกต่างกันอย่างมาก
โดยประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบททั่วโลกกว่าร้อยละ 56 ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขมูลฐานที่จำเป็นได้
เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรในเขตตัวเมืองจากทั่วโลกซึ่งเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขราวร้อยละ
22
ทั้งๆที่สัดส่วนประชากรในเขตชนบทสูงกว่าประชากรในเขตตัวเมืองด้วยซ้ำ จากประมาณการณ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศระบุว่า
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังขาดแคลนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขราวๆ 10.3
ล้านคน
แต่แค่เฉพาะในส่วนของเขตชนบททั่วโลกก็ต้องการเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพิ่มขึ้นอีกถึง 7
ล้านคนเลยทีเดียว
ประเทศไทยเราเมื่อพูดถึงการเข้าถึงบริการสาธารณสุข
แม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการเข้าถึงบริการดังกล่าวมีมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังนับว่าขาดแคลนเป็นอย่างมาก
เมื่อวัดดูจากจำนวนบุคลากรทางการแพทย์เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด สัดส่วนการเข้าถึงระบบสาธารณสุขโดยเฉพาะในเขตชนบทยังนับว่าต่ำ
เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า
จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ผลิตขึ้นมาในแต่ละปี ยังนับว่าน้อยมาก ยังนับว่าโชคดีที่จำนวนประชากรไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
โตขึ้นในอัตราที่ต่ำมาก
ถึงกระนั้นก็ตามสัดส่วนการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขของประชากรไทยโดยเฉพาะในเขตชนบทยังนับว่าต่ำ
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า
หน่วยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ผลิตขึ้นมาได้ในแต่ละปี ยังไม่เพียงพอ ทบวงมหาวิทยาลัย
ซึ่งปัจจุบันก็คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ทำให้เปลี่ยนสถานะเป็น
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีผู้บริหารคือ
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา)
ควรจะเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชากรไทยเพิ่มขึ้น
ภาพที่ 1 : งบประมาณ พ.ศ. 2560
ทีนี้ลองมาดูงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับกระทรวงทบวงกรมทั้งหลายว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง(ตามภาพที่
1) ภาพรวมงบประมาณ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
(ที่เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. เมื่อวันที่
23 มิ.ย. 2559) กับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ที่ผ่านวาระ 2 และ 3 ไปเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2559) พบว่า 5 กระทรวงแรกที่ถูกตัดงบประมาณมากที่สุดได้แก่
อันดับ 1 กระทรวงศึกษาธิการ
เสนองบประมาณ 519,292,488,100
บาท ถูกปรับลด 1,642,046,600
บาท อันดับ 2 กระทรวงกลาโหม
เสนองบประมาณ 214,347,402,200
บาท ถูกปรับลด 1,092,485,400
บาท อันดับ 3 กระทรวงสาธารณสุข
เสนองบประมาณ 130,728,527,400
บาท ถูกปรับลด 965,888,000
งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ
หลังจากถูกปรับลดแล้ว จะเหลือเพียง 517,650 ล้านบาท
ส่วนกระทรวงกลาโหม หลังจากถูกปรับลดแล้ว จะเหลือ 213,255 ล้านบาท ในขณะที่งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข
หลังจากถูกปรับลดแล้ว จะเหลือเพียง 129,763 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับกระทรวงกลาโหมมากกว่ากระทรวงสาธารณสุขเป็นอย่างมาก
โดยงบประมาณที่จัดสรรให้กระทรวงกลาโหมมากกว่ากระทรวงสาธารณสุขถึง 64.34% เป็นที่ทราบกันว่างบประมาณแผ่นดินมีจำกัด
ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้เหมาะสม เป็นสิ่งที่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
มิตรภาพระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้านก็อยู่ในระดับที่ดีมาก
แทนที่รัฐจะจัดสรรงบให้กับกระทรวงสาธารณสุขมากกว่ากระทรวงกลาโหม ทั้งๆที่รัฐเองก็ทราบอยู่แล้วว่า การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนไทยยังนับว่าต่ำมาก
จึงไม่เห็นเหตุผลอันใด ที่จะต้องตั้งงบประมาณให้กับกระทรวงกลาโหมมากเช่นนั้น
รัฐควรจัดสรรงบประมาณตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วน แต่ไม่ใช่เพียงการจัดสรรงบประมาณเท่านั้น กระทรวงต่างๆ ก็ต้องมีหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับมา
ทำการใช้จ่ายด้วยความเหมาะสม จึงจะทำให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรไทยในปัจจุบันที่ 68.86 ล้านคน งบประมาณกระทรวงสาธารณสุขต่อคน จะได้เพียง
1,884 บาทเท่านั้น
ทีนี้ลองมาดูเพื่อนบ้านเราอย่างเช่นประเทศสิงคโปร์ เป้าหมายของรัฐบาลสิงคโปร์ปี
2020 จะทำให้โครงการดูแลสุขภาพ
มีคุณภาพและเข้าถึงได้สำหรับพลเมืองทั้งหมด โดยรัฐจะทุ่มงบประมาณถึง
7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ(236,160 ล้านบาท) ทั้งๆที่ประเทศสิงคโปร์มีประชากรเพียง
5.607 ล้านคนเท่านั้น คิดเป็นงบประมาณ
42,119 บาทต่อคน(คิดเป็น
22.36 เท่าของงบประมาณกระทรวงสาธารณสุขต่อหัวของประเทศไทย) เพื่อขยายขอบเขตดูแลผู้สูงอายุ
เพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกว่า 20,000 คนภายในปี 2020 เห็นตัวเลขแบบนี้แล้วก็ไม่แปลกใจนะครับว่า
ทำไมรัฐบาลสิงคโปร์จึงเป็นของพรรคการเมืองปัจจุบันมาหลายสิบปีแล้ว
หรือรัฐบาลสิงคโปร์รักคนสิงคโปร์มากกว่ารัฐบาลไทยที่รักคนไทย
พี่ตูน Bodyslam หรือ
นายอาทิวราห์ คงมาลัย วิ่งระดมเงินบริจาคในโครงการ "ก้าวคนละก้าว"
เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาล 11
แห่ง จากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ไปสิ้นสุดที่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
โดยใช้เวลา 55 วัน
รวมระยะทาง 2191 กิโลเมตร
มียอดบริจาคเบื้องต้น 1,149
ล้านบาท เราจะต้องมีพี่ตูนอีกสักกี่คน
ที่มาวิ่งการกุศลเพื่อรับเงินบริจาคของคนไทยด้วยกัน มาช่วยโรงพยาบาลต่างๆ
เพื่อให้การเข้าถึงบริการสาธารณะของคนไทย โดยเฉพาะในเขตชนบทได้มีอย่างทั่วถึง
กิติชัย เตชะงามเลิศ
18/6/61
ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert
หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
3.วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส
ห้องที่จะขายดาวน์(คาดว่าจะแล้วเสร็จ : กันยายน
2561)
1.ห้อง 2 นอน 1 น้ำ 43.5 ตารางเมตร ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ ไม่โดนบล็อควิว
เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 7,200,000 บาท
2.ห้อง ชั้น 7 ประเภทห้อง
1 นอน 1 น้ำ 28.4
ตารางเมตร ไม่ติดลิฟท์ ไม่โดนบล็อควิว เป็นซิตี้วิว
เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 4,900,000 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น