ทริปสิงคโปร์-สวิส ตอนจบ
บทความที่แล้วผมพูดถึงประเทศสิงคโปร์
จากการที่ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ส่งเสริมและพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยวแบบไม่หยุดยั้ง
มีสร้างมีการสร้างจุดท่องเที่ยวใหม่อยู่เรื่อยๆ
แม้กระทั่งสนามบินแห่งชาติของสิงคโปร์เอง
ก็มีการปรับปรุงขยับขยายเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสนามบิน จน Concept
ของสนามบินที่เราเข้าใจกันเริ่มจะเปลี่ยนไป
กลายเป็นจุดท่องเที่ยวได้อีกแห่งหนึ่ง
และการใช้เวลาในการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองสั้นมาก
เมื่อเทียบกับสนามบินแห่งชาติของเรา
เสร็จจากการเดินทางไปสิงคโปร์ 4 วัน ผมได้เดินทางต่อเนื่องไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีก 21 วัน ก่อนการเดินทางช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่ผมมีธุระค่อนข้างยุ่งเหยิง
ในแต่ละวันยังจะต้องเจียดเวลา มานั่งทำโปรแกรมการท่องเที่ยวของสิงคโปร์และสวิส
โชคดีที่ได้น้องสาวมาช่วยทำแผนการเดินทางให้ อย่างไรก็ตาม 1 เดือนก่อนการเดินทาง คืนที่นอนเร็วที่สุดก็คือตี
2-3 ส่วนตอนเช้าก็ต้องตื่นประมาณ 7-8 โมงเช้า เฉลี่ยได้นอนคืนละประมาณ 5
ชั่วโมงเท่านั้น และไม่ได้ออกกำลังกายเลย
ผมรู้สึกตัวเองได้เลยว่าสุขภาพช่วงนั้นค่อนข้างแย่
ในระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ผมได้เรื่มหวนคิดถึงสุขภาพของตัวเอง
จึงตั้งใจว่าหลังจากกลับจากการเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้
จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของตัวเองใหม่
โดยจะใส่การออกกำลังกายการฝึกโยคะเข้าไปไว้ในตารางชีวิตประจําวัน และจะนอนก่อน 5
ทุ่มรวมทั้งจะลด ละ เลิก ทานอาหารขยะอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยตั้งใจว่าจะต้องออกกำลังกายไม่ต่ำกว่าวันละ
1 ชั่วโมง และสัปดาห์ละ 5 วันเป็นอย่างน้อย โดยจะมีการออกกำลังกายแบบ aerobic และ anaerobic และเนื่องจากพาหนะหลักในการเดินทางของผมก็คือ
ขนส่งมวลชนไม่ว่าจะเป็น BTS MRT หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
ผมได้ตั้งใจแล้วว่า ถ้าวันไหนไม่รีบเร่งและอากาศไม่ร้อนจนเกินไป
ในระยะทางที่ไม่เกิน 2 กิโลเมตร ผมจะใช้วิธีเดินแทนที่จะใช้บริการขนส่งมวลชน
เพราะว่าช่วงที่ผมท่องเที่ยวอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ผมเดินเฉลี่ยวันละประมาณ 15 ถึง 20 กิโลเมตร ทำให้หลังจากกลับมาน้ำหนักตัวผมลดลงไปได้ถึง
3 กิโลกรัม
ทำให้กางเกงหลายตัวที่เคยใส่ไม่ได้ กลับมาใส่ได้เหมือนเดิม
สิ่งสำคัญที่สุดของคนเราก็คือสุขภาพ เพราะว่าถ้าเป็นคนขี้โรค
หรือมีโรคภัยไข้เจ็บที่รักษาหายยาก หรือรักษาไม่ได้
หรือต้องใช้การรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี ค่าใช้จ่ายในการรักษาปัจจุบันนี้แพงมาก และอนาคตก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ค่ารักษาพยาบาลจะเป็นการจะเป็นตัวบั่นทอนความมั่งคั่งของผมในอนาคตเป็นอย่างมาก
ถ้าสุขภาพผมไม่ดี
ถึงแม้ว่าตัวผมเองจะถือหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลไว้ในสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นก็ตาม
แต่คำว่า "อโรคยา ปรมาลาภา" ก็เป็นคำสอนที่เป็นอมตะนิรันดร์กาล
กลับมาพูดถึงสิ่งที่ผมเห็นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศนี้มีคน Homeless ค่อนข้างน้อย
บางเมืองแทบจะไม่มีเลย
ในขณะที่ประเทศอังกฤษที่ผมไปไปเที่ยวมาเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ผมพบเห็นคน Homeless
ค่อนข้างมาก และมีเกือบทุกเมือง
และส่วนใหญ่ชอบนั่งอยู่กับพื้นบริเวณหน้าร้านสะดวกซื้อ Tesco Express ที่แปลกก็คือส่วนใหญ่จะเป็นคนหนุ่มสาว
ส่วนมากจะเป็นเพศชาย แต่ก็มีคนสูงวัยอยู่บ้างประปราย ผมสังเกตเห็นคนอังกฤษที่เดินเข้าออกหลายคน
ก็จะเดินไปถามคนเหล่านี้ว่าต้องการกาแฟหรืออะไรไหม
และก็เห็นคนที่เล่นดนตรีเปิดหมวกอยู่เกือบทุกเมืองที่เป็นเมืองท่องเที่ยว
ในฐานะที่ผมเป็นคอลัมนิสต์
ผมชอบสังเกตราคาหนังสือพิมพ์ของประเทศต่างๆที่ผมไปเที่ยว ปรากฏว่า
ราคาหนังสือพิมพ์ The Straits Times ตกฉบับละ
1.10(ฉบับวันธรรมดา) ถึง 1.20(ฉบับวันเสาร์) ดอลลาร์สิงคโปร์(27-29 บาท) ส่วนราคาหนังสือพิมพ์ที่อังกฤษ
ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับข่าวทั่วไป ราคาเฉลี่ยประมาณ 1 ปอนด์(44 บาท)
ถ้าเกี่ยวกับธุรกิจหรือเศรษฐกิจราคาจะสูงกว่าโดยมีราคาประมาณ 2-4 ปอนด์(88-176
บาท) ที่บ้านเรา หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจจะแพงกว่าหนังสือพิมพ์รายวันเช่นกัน
และสิ่งที่น่าแปลกก็คือ หนังสือพิมพ์ที่ออกวันเสาร์
จะแพงกว่าหนังสือพิมพ์ที่ออกระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ค่อนข้างมาก
โดยแพงกว่าประมาณ 40 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทั้งๆที่เป็นหนังสือพิมพ์หัวเดียวกันก็ตาม ในขณะที่หนังสือพิมพ์ที่สวิสตกเฉลี่ยฉบับละ CHF
4.20(135 บาท)
และสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นได้ชัดอีกอย่างก็คือ
ไม่ว่าจะเป็นชาวอังกฤษหรือชาวสวิส และไม่ว่าจะเป็นเมืองเล็กหรือเมืองใหญ่ก็ตาม
แทบจะไม่ได้เห็นคนก้มดูมือถือในระหว่างที่เดินเลย
และเวลาที่เขาพักผ่อนหย่อนใจในสวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นคู่รักหรือครอบครัว
ถ้าไม่นอนอ่านหนังสือ ก็จะเป็นการคุยกันเสียมากกว่า
ไม่เค่อยห็นมีใครยกมือถือขึ้นมาดูตลอดเวลา เหมือนสังคมก้มหน้าที่บ้านเราเลย และเด็กๆที่โน่นก็จะวิ่งเล่นกันแทนที่จะจับจดอยู่ที่มือถือหรือแท็บเล็ต
เหมือนลูกคนรวยที่บ้านเรามักจะทำกัน
สิ่งหนึ่งที่ผมชอบมากๆก็คือเวลาผมไปเดินในพิพิธภัณฑ์
เกือบทุกครั้งจะเห็นคุณครูพาเด็กนักเรียนมาทัศนศึกษา
แต่ผมไม่ค่อยเห็นสิ่งเหล่านี้ที่บ้านเรา
ถึงเวลาที่เราจะเลิกเป็นสังคมก้มหน้ากันหรือยังครับ
กิติชัย เตชะงามเลิศ
22/6/61
ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที
ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยกรอกอีเมลของท่าน ในช่องใต้ Follow by Email ทางด้านขวามือ เมื่อมีบทความใหม่ๆ ก็จะมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆกันนะครับ
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert
หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
2.วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส
ห้องที่จะขายดาวน์(เข้าอยู่ได้เลย)
ห้อง 2
นอน 1 น้ำ 43.5
ตารางเมตร ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ ไม่โดนบล็อควิว
เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 7,000,000 บาท ดู VDO ที่ https://youtu.be/MFkfks7Q3XM
สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอทั้งหมดของ
อัลทีจูด ดีไฟน์ สามย่าน(Altitude
Define Samyan) ได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/yydb77yvmhk1926/AAAOykYkVdsXAVOanCti6x0aa?dl=0
อาคารชุด 8 ชั้น และชั้นใต้ดิน ลึก 3 ระดับ 59 ห้องชุด ที่จอดรถ 59 คัน คิดเป็น 100 % บนที่ดิน 218 ตารางวา
พื้นที่ส่วนกลาง : สระว่ายน้ำ สวนสาธารณะ
ห้องสมุด ซาวน่า และ สปอร์ตคลับ / ฟิตเนส
Altitude Define Samyan,
2 best units(2B1B & 1B1B), only
200 m. from MRT-Samyan and 600 m. from BTS-Saladang.
Down
payment sales:
Unit
2B1B, 43.5 SQM., fully furnished with
well decoration, only 7,000,000.
Watch VDO @ https://youtu.be/MFkfks7Q3XM
There r only 59 units with 100% car
park. Expected ready to move in now.
U can
download all of Altitude Define Samyan’s photo & VDO from https://www.dropbox.com/sh/yydb77yvmhk1926/AAAOykYkVdsXAVOanCti6x0aa?dl=0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น