จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ภาษีที่ดินกับผลกระทบ (ตอนที่ 2 )


                                                      ภาษีที่ดินกับผลกระทบ (ตอนที่ 2 )

            บทความที่แล้ว ผมกล่าวถึงความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย และอันดับความเหลื่อมล้ำของประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของความพยายามที่จะปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีในรัฐบาลยุคต่างๆ จนมาสำเร็จในรัฐบาลชุดปัจจุบันด้วยภาษีมรดก บทความนี้จะพูดถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งผมขอเรียกสั้นๆว่าภาษีที่ดิน ซึ่งหลังจากประกาศออกมา ก็โดนเสียงคัดค้านจากผู้ถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆเป็นจำนวนมาก แต่ในที่สุดรัฐบาลชุดนี้ก็ผลักดันจนสำเร็จ อันที่จริงทั้งภาษีมรดกและภาษีที่ดิน ได้มีแนวคิดนี้มาในรัฐบาลหลายสมัยแล้ว แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งส่วนใหญ่กลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อฐานเสียง และความนิยมของพรรคการเมืองของตน จึงทำให้จนแล้วจนรอด ไม่สามารถคลอดภาษี 2 ตัวนี้ออกมาได้ แท้งเสียก่อนทุกครั้งไป ข้อดีของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็ดีตรงนี้แหละ
            กลับมาที่ภาษีที่ดินที่ประเทศไปแล้ว แน่นอนต้องส่งผลกระทบกับผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์ทุกคน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามูลค่าที่ถือครอง และการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองอย่างไร โดยอัตราการจัดเก็บภาษีตามรูปประกอบ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า อัตราที่จัดเก็บที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอัตราเพดานที่ต่ำสุดคือ 0.2 % แต่เริ่มต้นจะเรียกเก็บในอัตราที่ต่ำมากคือ มูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีในขณะที่มูลค่า 50-100ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตรา 0.05% และมากกว่า 100 ล้านเสียภาษีในอัตรา 0.1 % ผมลองยกตัวอย่างให้ดู ถ้าท่านมีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมมูลค่า 100 ล้านบาท ในปี 2560 ซึ่งเป็นปีเริ่มแรกที่เสียภาษีที่ดินเริ่มมีผลใช้บังคับ ท่านจะต้องเสียภาษีที่ดินละประมาณ 25,000 บาทเท่านั้น ส่วนบ้านพักอาศัยที่เป็นบ้านหลังหลักที่ใช้อยู่อาศัยโดยดูจากชื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้านไหน บ้านนั้นจะเป็นหลัก ในกรณีที่มีบ้านหลายหลังอยู่ในครอบครอง ถ้าบ้านหลักมีมูลค่าไม่มากกว่า 50 ล้านบาท (โดยคำนวณตามราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและห้องชุดตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน) ถ้าท่านเป็นมหาเศรษฐี มีบ้านมูลค่า 100 ล้านบาท ท่านจะต้องเสียภาษี 25,000 บาท ในอัตราเดียวกับที่อยู่เพื่อการเกษตรกรรม ตกเฉลี่ยเดือนละประมาณ 2,000 บาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับค่าส่วนกลางในกรณีที่เป็นคอนโด ถ้ามีมูลค่า 100 ล้านบาท ค่าส่วนกลางน่าจะตกประมาณ 30,000 บาทบวกลบต่อเดือน เมื่อเปรียบเทียบเงินภาษีกับค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายต่อเดือนแล้ว ก็คงไม่เป็นภาระให้กับท่านที่เป็นมหาเศรษฐีมากมายนัก ส่วนบ้านพักหลังถัดไป ก็จะต้องเสียภาษีในเกณฑ์ที่สูงขึ้นตามตาราง สมมติว่าท่านมีบ้านพักอีก 3 หลังซึ่งรวมแล้วมีมูลค่าเท่ากับ 30 ล้านบาท ท่านจะต้องเสียภาษีต่อปีเท่ากับ 29,000 บาท เฉลี่ยตกเดือนละไม่ถึง 2,500 บาท ซึ่งไม่มากมาย การที่รัฐเรียกเก็บในช่วงแรกๆในอัตราที่ต่ำ เพราะว่าไม่ต้องการให้ประชาชนรับภาระมากเกินไป และต้องการสร้างความคุ้นเคยให้กับประชาชนในด้านภาษีที่ดินซึ่งเป็นประเภทภาษีรูปแบบใหม่ ที่ประเทศไทยไม่เคยจัดเก็บ ผมมีข้อเสนอแนะให้ท่านที่มีบ้านหลายหลัง ให้รีบย้ายชื่อไปใส่ในทะเบียนบ้านที่มีมูลค่ามากที่สุด เพื่อประโยชน์ในทางภาษีภายในปีนี้ แล้วมาอ่านผลกระทบของภาษีที่ดินที่มีต่อผู้ประกอบการ นักลงทุน และนักเก็งกำไรอสังหาอย่างไรในบทความหน้ากันครับ
กิติชัย เตชะงามเลิศ
       10/8/59

ภาษีที่ดินกับผลกระทบ (ตอนที่ 1 ) http://kitichai1.blogspot.com/2016/08/1.html
 

  
      ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
 Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
 Twitter : http://twitter.com/value_talk
 Instagram : Gid_Kitichai
 Blog : http://kitichai1.blogspot.com
 You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
 Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
 Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
 Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
     หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า A10 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
              2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
              3.นิตยสาร Tycoon ทุกเดือน
              4.นิตยสาร คนรวยหุัน  Me(Market Evolution) วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส

 นอตติ้งฮิลล์ ดิเอ็กซ์คลูซีฟ เจริญกรุง 93 (Notting Hill
 The Exclusive CharoenKrung 93)  
ห่างจากเอเชียทีคเพียง 140 เมตร










ห้องที่จะขายดาวน์
1.ห้อง 403 ชั้น 4 ประเภทห้อง B2 : 1 นอน 1 น้ำ ไม่ติดลิฟท์ พื้นที่ใช้สอย : 27 
ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ วิวสระว่ายน้ำ เฟอร์นิเจอร์ครบครัน
 ตกแต่งสวยมาก ราคา 2,600,000 บาท

2.ห้อง 410 ชั้น 4 ประเภทห้อง B4 : 1 นอน 1 น้ำ ไม่ติดลิฟท์ พื้นที่ใช้สอย : 32
ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไม่โดนบล็อควิว เฟอร์นิเจอร์ครบครัน 
ตกแต่งสวยมาก ราคา 3,100,000 บาท

3.ห้อง 810 ชั้น 8 ประเภทห้อง B4 : 1 นอน 1 น้ำ ไม่ติดลิฟท์ พื้นที่ใช้สอย : 32 
ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไม่โดนบล็อควิว เฟอร์นิเจอร์ครบครัน
 ตกแต่งสวยมาก ราคา 3,200,000 บาท

ชื่อโครงการ
 นอตติ้ง ฮิลล์ ดิ เอ็กซ์คลูซีฟ เจริญกรุง 93 (Notting Hill The Exclusive
 CharoenKrung 93)
เจ้าของโครงการ
 บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
เนื้อที่ทั้งหมด
 1-1-79 ไร่
จำนวนตึก
 1 อาคาร
จำนวนชั้น
 8 ชั้น
จำนวนห้อง
 132 ยูนิต
ลักษณะห้องและขนาดห้อง
– 1 Bedroom : ขนาดเริ่มต้น 27.00 ตร.ม.
– 2 Bedrooms :
ขนาดเริ่มต้น 41.00 ตร.ม.
ที่จอดรถทั้งหมด
 รอข้อมูลจากโครงการ




การเดินทาง
 รถประจำทางสาย 1, 75, 15, 547 เพื่อมายังซอยเจริญกรุง 93 ซึ่งป้ายรถเมล์
จะตั้งอยู่ปากซอย หรือหากอยากนั่งเรือสัมผัสบรรยากาศแบบชิลๆ ก็สามารถทำได้โดยขึ้น
เรือที่ท่าสาทร (จุดเดียวกับสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน) โดยให้ขึ้นลำที่จะเดินทางมายัง
เอเชียทีค จากนั้นให้เดินทะลุเอเชียทีคมาที่ถนนเจริญกรุง เมื่อข้ามถนนมาก็จะเจอกับซอย 
โครงการ
 ที่ตั้ง
 ซอยเจริญกรุง 93 แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม.10120 (ห่างจาก  
BTS สะพานตากสิน และจุดขึ้นลงทางด่วนบริเวณถนนจันทร์ 2 กม.)


ปีที่สร้างเสร็จ
 คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2561




ค่าส่วนกลางและกองทุน
 รอข้อมูลจากโครงการ
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
1.   เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ 0.1กม.
2.   โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี่ (Shrewsbury International
 School) 1 กม.
3.   รร.วัดสุทธิฯ
4.Chatrium Riverside Bangkok 1.3 กม.
5. Four Seasons Residence และ Capella 1.5 กม.
6.โรงแรม รามาดา ริเวอร์ไซด์ และ แม่น้ำ เรสซิเดนท์ 0.6 กม.
สิ่งอำนวยความสะดวก
  • Lobby
  • Mailbox
  • สระว่ายน้ำ
  • ฟิตเนส
  • สวนหย่อม
  • Access Card Control
  • CCTV
  • รปภ. 24 ชม.


    เส้นทางที่สามารถเข้าออกได้จากตัวโครงการ
-เจริญกรุง-เยาวราช
-
เจริญราษฏร์-สาทร
-
เจริญราษฏร์-พระราม 3
-
รัชดาภิเษก-ท่าพระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น