จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บัตรเครดิตกับดอกเบี้ยที่มหาโหด

                                       บัตรเครดิตกับดอกเบี้ยที่มหาโหด


                                                          
             บัตรเครดิตเป็นสิ่งที่คนสมัยนี้รู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะช่วยอำนวยความสะดวก ในการจับจ่ายใช้สอยทำให้ไม่ต้องพกพาเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมาก เวลาที่จะไปจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าราคาสูงๆ ทำให้ปลอดภัยไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะโดนจี้ปล้น อีกทั้งยังทำให้ยืดเวลาการชำระเงินไปได้อีก  ขึ้นอยู่กับว่าไปใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าหรือบริการวันไหน ถ้าเป็นวันเริ่มต้นของรอบบิลก็อาจจะยืดเวลาการชำระเงินไปได้อีกมากสุดถึง 50 วัน  ซิ่งถ้ารูดบัตรใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนที่สูง  เช่นมีวงเงิน 2 ล้านบาทแล้วนำบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้าหรือบริการมูลค่า 2 ล้านบาท  ในวันแรกของรอบบิล  ในขณะที่ในวันเดียวกันนั้นได้นำเงิน 2 ล้านบาทไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ซึ่งปัจจุบันให้ผลตอบแทนประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์เลือกซื้อจนครบ 50 วันก็จะได้ผลตอบแทน 2,684.93 บาท  โดยคิดผลตอบแทนจากจำนวนวัน 49 วันเพราะการขายกองทุนประเภทนี้จะได้รับเงินค่าขายกองทุนเป็น T บวก คือจะได้รับชำระในวันถัดจากวันที่ขาย  

         แต่ถ้าท่านรูดบัตรเครดิตเพื่อซื้อกองทุนบางประเภท(ปรกติบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนกองทุนรวมจะอนุญาตให้ใช้บัตรเครดิตซื้อกองทุนได้เกือบทุกประเภท ที่เป็นกองทุนที่บริหารจัดการโดยบริษัทจดทะเบียนกองทุนรวมที่เป็นบริษัทลูก หรือเป็นบริษัทที่มีการทำสัญญาต่อกันไว้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตให้ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อกองทุนตราสารหนี้) แล้วระหว่างที่ถือสร้างผลตอบแทนประมาณ 5%  ท่านจะได้รับผลตอบแทนคิดเป็นเงินถึง 13,424.66 บาท  หรือถ้าท่านปกติใช้บริการวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (OD) ของธนาคารอยู่แล้ว โดยเสียดอกเบี้ยที่อัตรา MRR+5% เปอร์เซ็นต์ต่อปี  ซึ่งปัจจุบันนี้อัตรา MRR อยู่ที่ 7.62 เปอร์เซ็นต์(ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate))  นั่นเท่ากับว่าท่านเสียดอกเบี้ยที่อัตรา 12.62%  ซึ่งถ้าท่านนำเงิน 2 ล้านบาทไปลดหนี้ของวงเงินกู้ดังกล่าว จะทำให้ท่าน ประหยัดดอกเบี้ย 50 วัน คิดเป็นจำนวนเงิน 34,575.34 บาท  นับว่าเป็นเงินที่ประหยัดได้มากทีเดียว

              นี่ยังไม่นับคะแนนสะสมที่ได้รับจากการรูดบัตรแต่ละครั้ง  ซึ่งแล้วแต่นโยบายของบัตรเครดิตนั้นนั้นบัตรเครดิตบางใบก็ให้คะแนนทุก 10 บาท บางใบก็ 25 บาทต่อ 1 คะแนน หรือบัตรเครดิตบางราย ก็ให้คะแนนสะสมที่แตกต่างกันตามประเภทบัตรส่วนใหญ่บัตรเครดิตระดับบน จะได้คะแนนสะสมเป็น 2 เท่าของบัตรเครดิตระดับธรรมดา ผู้ใช้บัตรเครดิตเมื่อสะสมคะแนนได้ถึงระดับหนึ่ง  ก็สามารถที่จะใช้คะแนนสะสมไปแลกสินค้าหรือบริการได้ฟรี หรือเป็นส่วนลดในการแลกซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งบัตรเครดิตเกือบทุกรายก็อนุญาตให้ผู้ใช้บัตรของตนสามารถนำคะแนนสะสมไปแลกเป็นไมล์ของสายการบินต่างๆ ผมเองก็นิยมใช้คะแนนสะสมของบัตรเครดิตเอาไว้แลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือบริการตามห้างสรรพสินค้า เมื่อบัตรเครดิตนั้นนั้นอนุญาตให้นำคะแนนสะสมเท่าจำนวนที่ซื้อเพื่อแลกรับส่วนลด 15% ขึ้นไป  รวมทั้งนำคะแนนสะสมไปแลกเป็นไมล์ของสายการบิน เพื่อไว้ใช้แลกเป็นตั๋วเครื่องบินเวลาเดินทางไปต่างประเทศ  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางผมเองก็ประหยัดค่าตั๋วเครื่องบินไปหลายแสนบาทแล้วครับ

        ผลประโยชน์อื่นๆของการซื้อบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ตัวเงินก็ยังมีอีกมากมายขึ้นอยู่กับชนิดของบัตรเครดิตนั้นๆ  บัตรเครดิตบางใบก็ให้สิทธิประโยชน์เช่นตรวจสุขภาพฟรี ณ โรงพยาบาลชั้นนำ ออกกำลังกายฟรีที่ฟิตเนสชื่อดัง  หรือสามารถใช้ Lounge  ในส่วนที่จัดไว้ให้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในสาขาของธนาคารผู้ออกบัตร รวมทั้งให้สิทธิ์ไปใช้ Lounge ของสนามบินต่างๆทั่วโลก ซึ่งจะมีบริการอาหารและเครื่องดื่ม นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และ wifi ฟรี โดยออกเป็นบัตร priority pass แนบมาให้กับผู้ใช้บัตร  บางบัตรยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตรได้ไปใช้บริการ wifi hotspot ต่างๆที่กำหนดไว้ได้ทั่วโลก บัตรเครดิตบางใบก็ให้ส่วนลดในห้างสรรพสินค้ารวมทั้งร้านค้าและสถานบริการต่างๆบางแห่ง  โดยเฉพาะร้านอาหารตามโรงแรมชั้นนำซึ่งมักจะมีโปรโมชั่นไป 2 จ่าย 1 ไป 3 จ่าย 2 หรือไป 4 จ่าย 3 เป็นต้น นอกจากนั้นในเดือนเกิดมีบัตรเครดิตหลายใบที่ให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่นให้ไปใช้บริการที่สถานบริการที่กำหนดไว้ free เป็นต้น

             เราเห็นถึงประโยชน์ของการมีบัตรเครดิตไว้ใช้ซึ่งมีอยู่มากมาย แต่ก็เหมือนกับดาบสองคม ด้านที่ดีก็ดี  ด้านที่ร้ายก็มาก  อยู่ที่ว่าเราจะใช้มันอย่างไร บทความตอนนี้จะมาพูดถึง โทษของการใช้บัตรเครดิตแบบไม่ถูกวิธี หลายท่านใช้บัตรเครดิตโดยการดึงเงินในอนาคตมาใช้ก่อน ซึ่งปกติบัตรเครดิต จะมีให้เลือกจ่ายแบบเต็มจำนวนหรือจ่ายเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินทั้งหมด ซึ่งถ้าเลือกแบบหลัง นั่นหมายถึงว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ย ที่นักลงทุนชื่อดังก้องโลก วอร์เรนบัฟเฟตต์สามารถทำได้  แต่เขาสร้างผลตอบแทนในขณะที่ผู้ใช้บัตรเครดิตที่เลือกจ่ายแบบหลัง สร้างค่าใช้จ่ายให้กับตัวเอง  นี่ไงครับทำไมถึงมีคนรวย ทำไมถึงมีคนจน ก็เพราะวิธีการคิด และวิธีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน

              เรามาดูกันครับ ปัจจุบันบัตรเครดิตทั้งระบบมีจำนวน 19.6 ล้านใบ มียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ 3.33 แสนล้านบาท  มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวม 9,859 ล้านบาท   หรือคิดเป็น 2.96 เปอร์เซ็นต์ ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งหมด(ข้อมูลมาจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560)  โดยจำนวนหนี้เสียส่วนใหญ่มาจากกลุ่ม Generation Y ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยทั้งหมด ไหนๆก็พูดถึงสินเชื่อบัตรเครดิตแล้ว ก็อยากจะพูดถึงสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นกัน ปัจจุบันนี้มีจำนวนบัญชีสินเชื่อทั้งหมด 12.23 ล้านบัญชี มียอดสินเชื่อคงค้าง 3.31 แสนล้านบาท เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 9,844 ล้านบาท ถ้ารวมสินเชื่อ 2 ประเภทเข้าด้วยกัน จะมีสินเชื่อรวม 6.64 แสนล้านบาท เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวม 2 ประเภทเท่ากับ 19,703 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.97 เปอร์เซ็นต์ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 

          ในความรู้สึกของผม มันไม่ใช่ตัวเลขที่สูงมากเลย ดังนั้นจะอ้างว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ต้องมีส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและหรือสินเชื่อส่วนบุคคล เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก  ที่สูงถึง 18% หรือกรณีของบัตรเครดิตประเภท Non Bank ผมขอยกตัวอย่าง KTC ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพี่อดูว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่คิดกับลูกค้า กับต้นทุนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ KTC ต้องชำระแก่ผู้ถือหุ้นกู้ของตน  เป็นอย่างไร โดยมีรายละเอียดหุ้นกู้ดังต่อไปนี้

วันที่ออก 1 มิ.ย. 2560
กำหนดไถ่ถอน       1 มิ.ย. 2565
อายุหุ้นกู้ 5 ปี
อัตราดอกเบี้ย(ปีที่ 1 - 3) =3.00%
อัตราดอกเบี้ย(ปีที่ 4) = 3.25%
อัตราดอกเบี้ย(ปีที่ 5) = 3.50%
กำหนดจ่ายดอกเบี้ย : ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้
คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี = 3.15% เท่านั้น

           ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ที่ 15 %/ปี และยังมีค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอีก 5%/ปี    ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลสูงสุด ก็อยู่ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 13 เปอร์เซ็นต์ต่อปี รวมแล้วมีค่าใช้จ่ายสูงสุดอยู่ที่ 28 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นี่ยังไม่นับรวมค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าติดตามทวงถามหนี้ค้างชำระ ๆลๆ  จะเห็นได้ว่า KTC มีส่วนต่างของดอกเบี้ยในส่วนของบัตรเครดิต เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ 16.85%  และมีส่วนต่างของดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อบุคคล  เมื่อเทียบกับต้นทุน 24.85%  นับว่าเป็นส่วนต่างที่มโหฬารมาก (ทั้งนี้ผมยังไม่ได้คิดถึงเรื่องการที่ผู้ใช้สินเชื่อเหล่านี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือนในขณะที่หุ้นกู้ของ KTC จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน) โดยที่อัตราดอกเบี้ยที่ KTC คิดกับลูกค้าเป็นอัตรานี้มานานแล้ว ถึงแม้ในช่วงหลายปีก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินต่างๆ หรืออัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ของ KTC เอง ก็สูงกว่าระดับปัจจุบันนี้ 

          ช่วงกี่ปีนี้ที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ต้นทุนของ KTC และสถาบันการเงินต่างๆ ลดลงไปพอสมควร แต่ไม่เห็นว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ลงให้กับลูกค้าเลย เท่ากับว่ามาร์จิ้นทางกว้างขึ้นมาพอสมควรเลย สถาบันการเงินอื่นๆก็มีการคิดดอกเบี้ยกับลูกค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ไม่ใช่เฉพาะ KTC เจ้าเดียว ผมแปลกใจมากว่า ทำไมธนาคารแห่งระเทศไทยถึงได้นิ่งเฉย ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนใจไปกับประชาชน ที่ต้องใช้บริการไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล จึงยินยอมให้มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขนาดนั้น ทั้งทั้งที่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย 1 ปีอยู่ที่ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารกับอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต แตกต่างกันถึง 18 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนต่างของดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อบุคคล  เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 26%เลยทีเดียว  จะอ้างว่ามีหนี้เสียอยู่ค่อนข้างมาก แต่ผมคิดว่าเหตุผลแค่นี้ไม่เพียงพอ

             ยิ่งหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ของประเทศไทยเราสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในอาเซียนประเทศไทยกับมาเลเซียเป็นแค่ 2 ประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนสูงถึงขนาดนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆในการใช้สินเชื่อเหล่านี้ ย่อมเป็นการลดภาระให้กับผู้ที่จำเป็นจะต้องใช้สินเชื่อดังกล่าว ในสภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ ซึ่งก็จะทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงได้บ้าง  จริงๆแล้วผมอยากให้ ผู้ว่าธปท. กล้าๆหน่อยครับ กำหนดการชำระเงินขั้นต่ำให้เพิ่มจากปัจจุบันนี้ที่อยู่ที่ 10% ให้เป็น 30% ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บัตรเครดิตที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ โดยหวังที่จะใช้เงินในอนาคตมาจ่ายค่าสินค้าก่อน ต้องคิดมากขึ้น ก็จะเป็นการช่วยลดภาระหนี้ของผู้ใช้บัตรเหล่านี้ลงได้ แล้วก็จะทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงได้แน่ๆครับ

             ถ้าอยากจะรักษาความมั่งคั่งของตัวเองควรจะเลือกที่จะชำระค่าบัตรเครดิตแบบเต็มจำนวนเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางด้านดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆด้วยอัตราที่สูง  สรุปง่ายๆคือไม่นำเงินในอนาคตที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายมาใช้โดยเด็ดขาด เพราะโดยปกติ การใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าหรือบริการ ถ้าเป็นวันเริ่มต้นของรอบบิลก็อาจจะยืดเวลาการชำระเงินไปได้อีกมากสุดถึง 50 วัน  ซึ่งถ้ามั่นใจว่าพอถึงวันครบกำหนดที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต  แล้วมีเงินเพียงพอที่จะชำระเต็มจำนวน ก็ควรจะใช้บัตรเครดิตรูด เพราะนอกจากจะได้ชำระเงินช้าลงโดยที่ไม่เสียดอกเบี้ยแล้วยังได้ Point สะสมเอาไว้แลกของรางวัลได้อีกด้วย แต่ท่องให้ขึ้นใจว่าจะไม่ซื้อสินค้าหรือบริการ ที่มีราคาสูงและเสื่อมมูลค่าในอนาคตโดยไม่จำเป็น  เพราะจะเป็นการบั่นทอนความมั่งคั่งของเรา คนรวยก็อาจจะจนได้ถ้าชอบซื้อแบบสินค้าราคาสูงสูงที่เสื่อมมูลค่า  ส่วนคนไม่รวยก็อาจจะรวยได้ถ้าชอบซื้อสินค้าที่จะทวีมูลค่าและจะไม่ใช้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายสูงมาก ยึดหลักพอเพียงแล้วในที่สุดก็จะเพียงพอครับ

            ลองมาดูผลประกอบการของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ขอยกตัวอย่างเป็น KTC เหมือนเดิม  เพราะเป็นบริษัทเดียวที่ที่ไม่ใช่ธนาคาร และอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจครบทั้ง 2 ประเภทนี้  เมื่อปี 2555 มีกำไรสุทธิ 255 ล้านบาท  ต่อมาปี 2556 มีกำไรสุทธิ 1,037 ล้านบาท  ปี 2557 มีกำไรสุทธิ 1,755 ล้านบาท  ปี 2558  KTC มีกำไรสุทธิ 2,072.61 ล้านบาท  ปี 2559 KTC มีกำไรสุทธิ 2,494.71 ล้านบาท รวม 4 ปีที่ผ่านมา มีกำไรโตขึ้น 878.43%  ถือว่ามีผลประกอบการดีขึ้นมากเลยทีเดียว  ผลงานปีล่าสุดไตรมาส 1 ปี 2560 มีกำไรสุทธิ 732.55 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาส 1 ปี 2559 มีกำไรสุทธิ 635.01 ล้านบาท มีกำไรโตขึ้น 15.36%  ถือว่ามีผลประกอบการ Outperform  ธุรกิจต่างๆที่จดทะเบียนในตลาดทรัพย์ กำไรที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่ามีต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลดลง ในขณะที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยรับในระดับเดิม

         ประเทศไทยเรานี่ก็แปลก เวลาต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นมา พวกพ่อค้าก็จะมาเรียกร้องขอขึ้นราคาสินค้า แต่พอต้นทุนสินค้าลดลง พวกพ่อค้าทั้งหลายกลับสงบปากสงบคำ ไม่เคยคิดที่จะลดราคาสินค้าตามต้นทุนสินค้าที่ลดลง และผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องของรัฐ ก็ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ไม่เคยคิดที่จะห่วงใยประชาชน ผู้ซึ่งที่จะต้องตกเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้าอยู่เรื่อยเรื่อยมา

             ลองมาดูวิธีการคิดดอกเบี้ยของธุรกิจที่ออกบัตรเครดิต ที่คิดกับลูกค้า ว่าเอาเปรียบผู้ใช้บัตรมากแค่ไหน

       1.จำนวนวันที่ผู้ออกบัตรคำนวณเพื่อจะคิดดอกเบี้ยกับผู้ใช้บัตร  โดยคำนวณตั้งแต่วันที่มีการบันทึกรายการจนถึงวันที่กำหนดชำระเงินยกตัวอย่างเช่นผู้ใช้บัตรได้นำบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้า เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559  แต่มีการบันทึกรายการในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559  แล้วมีการครบกำหนดต้องชำระเงินวันที่ 13 มกราคม 2560 ถ้าผู้ใช้บัตรไม่ชำระเต็มจำนวน จำนวนวันที่ผู้ออกบัตรนำมาคำนวณ ในการคิดดอกเบี้ยกับผู้ใช้บัตรเป็นดังนี้ 7+31+12 = 50 วัน  ซึ่งถ้าคิดกันแบบสมเหตุสมผล จำนวนวันที่จะคิดดอกเบี้ยกับผู้ใช้บัตรควรจะเป็น 0  วัน ถ้าคำนวณวันถึงวันที่ 12 มกราคม 2560  จะไปคิดดอกเบี้ยเอาตั้งแต่วันที่บันทึกรายการนั้นไม่ถูกต้อง เพราะวันที่รูดบัตรหรือวันที่บันทึกรายการนั้นจนถึงวันที่ 12 มกราคม 2560 ควรจะเป็นช่วงเวลาที่ปลอดดอกเบี้ย เพราะยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระเงิน แล้วอีกอย่างตัวผู้ออกบัตรเอง ก็ได้รับค่าธรรมเนียมจากร้านค้า ในอัตราที่ประมาณ 2% บวกลบอยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนร้านค้าเหล่านี้ก็แอบมาบวกในราคาค่าสินค้าและบริการที่ผู้ใช้บัตร นำบัตรเครดิตมารูดซื้อ  ดังนั้นจำนวนวันที่ผู้ออกบัตรควรจะเริ่มคำนวณ เพื่อคิดดอกเบี้ยกับผู้ใช้บัตร ควรจะเริ่มคิดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระจนถึงวันที่ผู้ใช้บัตรชำระเงินดังกล่าว

       2. ยอดเงินต้นที่ผู้ออกบัตรนำมาคำนวณเพื่อคิดดอกเบี้ยกับผู้ใช้บัตร โดยปกติผู้ออกบัตร จะคำนวณเงินต้นจากยอดเงินทั้งหมด ที่ผู้ใช้บัตรใช้ไปในระหว่างงวดนั้นๆ โดยไม่นำเงินที่ผู้ใช้บัตรได้ชำระบางส่วนมาหักออกก่อน เช่นผู้ใช้บัตรรูดซื้อสินค้าไปภายในงวดนั้นเป็นเงิน 50,000 บาท มีชำระขั้นต่ำไป 5,000 บาท แทนที่ผู้ออกบัตรจะคิดดอกเบี้ยจาก 50,000-5,000 = 45,000 บาท กลับคิดดอกเบี้ยจากเงินต้น 50,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้บัตรอย่างมาก

              เป็นอย่างนี้มาหลายสิบปีแล้วตั้งแต่เราเริ่มมีบัตรเครดิตใช้ไม่เข้าใจจริงๆว่า ธปท.ไม่ว่าสมัยไหนก็ตาม ล้วนแต่ปล่อยให้ธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเอาเปรียบประชาชนอย่างมากไว้ได้อย่างไร ถ้ายังไม่มีมาตรการใดออกมาก็แสดงว่าธปท.แคร์ธุรกิจเหล่านั้น แต่ไม่ใส่ใจและไม่เห็นใจประชาชนตาดำๆ ที่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล อย่าถึงกับให้ประชาชนต้องมาจุดธูปบนบานให้อาจารย์ป๋วยมาช่วยเลยนะครับ
            
 กิติชัย เตชะงามเลิศ
       31/5/60

  
      ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
 Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
 Twitter : http://twitter.com/value_talk
 Instagram : Gid_Kitichai
 Blog : http://kitichai1.blogspot.com
 You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
 Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
 Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
 Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
     หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
              2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
              3.นิตยสาร Be Link ทุกเดือน
              4.นิตยสาร Me(Market Evolution) วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส

 นอตติ้ง ฮิลล์ ดิ เอ็กซ์คลูซีฟ เจริญกรุง 93 (Notting Hill The Exclusive CharoenKrung 93) 3 ยูนิตราคาพิเศษ ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากเอเชียทีคเพียง 140 เมตร




ห้องที่จะขายดาวน์
1.ห้อง 403 ชั้น ประเภทห้อง B2 : 1 นอน น้ำ ไม่ติดลิฟท์ พื้นที่ใช้สอย 27 ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ วิวสระว่ายน้ำ เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 2,700,000บาท

2.ห้อง 410 ชั้น ประเภทห้อง B4 : 1 นอน น้ำ ไม่ติดลิฟท์ พื้นที่ใช้สอย 32 ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไม่โดนบล็อควิว เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 3,200,000บาท

3.ห้อง 810 ชั้น ประเภทห้อง B4 : 1 นอน น้ำ ไม่ติดลิฟท์ พื้นที่ใช้สอย 32 ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไม่โดนบล็อควิว เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 3,300,000บาท

ชื่อโครงการ
 นอตติ้ง ฮิลล์ ดิ เอ็กซ์คลูซีฟ เจริญกรุง 93 (Notting Hill The Exclusive CharoenKrung 93)
เจ้าของโครงการ
 บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
เนื้อที่ทั้งหมด
 1-1-79 ไร่
จำนวนตึก
 1 อาคาร
จำนวนชั้น
 8 ชั้น
จำนวนห้อง
 132 ยูนิต
ลักษณะห้องและขนาดห้อง
– 1 Bedroom : ขนาดเริ่มต้น 27.00 ตร.ม.
– 2 Bedrooms : 
ขนาดเริ่มต้น 41.00 ตร.ม.
ที่จอดรถทั้งหมด
 รอข้อมูลจากโครงการ




การเดินทาง
 รถประจำทางสาย 1, 75, 15, 547 เพื่อมายังซอยเจริญกรุง 93 ซึ่งป้ายรถเมล์จะตั้งอยู่ปากซอย หรือหากอยากนั่งเรือสัมผัสบรรยากาศแบบชิลๆ ก็สามารถทำได้โดยขึ้นเรือที่ท่าสาทร (จุดเดียวกับสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน) โดยให้ขึ้นลำที่จะเดินทางมายังเอเชียทีค จากนั้นให้เดินทะลุเอเชียทีคมาที่ถนนเจริญกรุง เมื่อข้ามถนนมาก็จะเจอกับซอย โครงการ
ที่ตั้ง
 ซอยเจริญกรุง 93 แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม.10120 (ห่างจาก BTS สะพานตากสิน และจุดขึ้นลงทางด่วนบริเวณถนนจันทร์ กม.)


ปีที่สร้างเสร็จ
 คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2561




ค่าส่วนกลางและกองทุน
 รอข้อมูลจากโครงการ
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
  1. เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ 0.1กม.
  2. โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี่ (Shrewsbury International School) 1 กม.
  3. รร.วัดสุทธิฯ
4.Chatrium Riverside Bangkok 1.3 กม.
5. Four Seasons Residence และ Capella 1.5 กม.
6.โรงแรม รามาดา ริเวอร์ไซด์ และ แม่น้ำ เรสซิเดนท์ 0.6 กม.
สิ่งอำนวยความสะดวก
  • Lobby
  • Mailbox
  • สระว่ายน้ำ
  • ฟิตเนส
  • สวนหย่อม
  • Access Card Control
  • CCTV
  • รปภ. 24 ชม.


    เส้นทางที่สามารถเข้าออกได้จากตัวโครงการ
-เจริญกรุง-เยาวราช
-
เจริญราษฏร์-สาทร
-
เจริญราษฏร์-พระราม 3
-
รัชดาภิเษก-ท่าพระ


            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น