บทความที่แล้วผมเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค บทความนี้มาดูกันครับว่าผมเลือกใช้ indicator
ตัวไหนบ้างในการช่วยวิเคราะห์ และตัดสินใจในการจับไทม์มิ่งเพื่อซื้อหรือขายหุ้นกันครับ
1. MOVING AVERAGE (MA) หรือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ มีหลายคนที่เริ่มศึกษาเรื่อง TECHNICAL
ANALYSIS ใหม่ๆ มักจะชอบถามว่า ที่มาของ INDICATOR ทั้งหลายนั้น มีสูตรในการคำนวณเพื่อที่จะได้มาอย่างไร ผมเองก็เป็นคนหนึ่งในช่วงเวลาที่เริ่มศึกษาแนวทางนี้
ก็มีความสงสัยดังกล่าวเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะสมัยเรียนหนังสือ
วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ผมชอบกระมัง ทำให้มีความอยากรู้ที่มาที่ไป
แต่พอผ่านไปสักพัก ผมพบว่ามันไม่มีความจำเป็นแม้แต่น้อยที่จะรู้ที่มาของค่า INDICATOR ต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการวิเคราะห์แบบนี้คือ การดูที่ผลลัพธ์
หรือกราฟที่แสดงออกมา แล้วเราตีความว่าอย่างไร การวิเคราะห์ทางเทคนิคนี้
ผมมีความรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่จะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์
เพราะว่ากราฟรูปเดียวกัน นักวิเคราะห์หลายคนอาจจะเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในรูปนั้นแตกต่างกัน
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูกราฟมานาน
และมีความเชี่ยวชาญอาจจะเห็นหลายๆภาพซ้อนกันอยู่ในภาพเดียวกัน
ซึ่งผมจะพูดถึงในโอกาสต่อไป
ภาพที่ 1: MOVING AVERAGE (MA) เครดิตภาพ : cns.bu.edu
แต่ตอนนี้เรากลับมาที่ INDICATOR ตัวแรกก่อน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ผู้ที่เริ่มศึกษาการดูกราฟที่เริ่มต้น จะต้องเรียนรู้ก่อนเป็นตัวแรกๆ MOVING AVERAGE ที่นักลงทุนใช้จะมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น แบบ SIMPLE (ปกติ) WEIGHTED (แบบถ่วงน้ำหนัก) และแบบ EXPONENTIAL(แบบยกกำลัง) ตัวผมเองผมจะใช้แบบ EXPONENTIAL เป็นหลัก เพราะว่ามักจะส่งสัญญาณเร็วกว่า 2 แบบที่เหลือ แต่บางครั้ง สำหรับหุ้นบางตัว ถ้าผมย้อนไปดูอดีตแล้วรู้สึกว่า แบบ EXPONENTIAL ไม่แม่นยำ ผมจะลองใช้แบบ SIMPLE หรือแบบ WEIGHTED ดูเพื่อหาดูว่ารูปแบบใดที่เหมาะกับหุ้นตัวนั้นๆ โดยดูจากความแม่นยำในอดีต โดยนักวิเคราะห์ทางเทคนิค มีความเชื่อเรื่อง “HISTORY WILL REPEAT ITSELF” หรือประวัติศาสตร์มักจะย้อนรอยตัวเอง นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เขามาดูรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นจากกราฟนั่นเอง ทีนี้เทคนิคในการดู MOVING AVERAGE มีอะไรบ้าง ก่อนอื่นเราต้องเลือกจำนวนวันที่จะใช้เสียก่อน ปกติผมจะใช้ MA 5 , 10 , 15 , 25 , 75 และ 200 วัน โดยเส้น 5 วันเป็นตัวแทนของระยะสั้นมากๆ เส้น 10 วันเป็นตัวแทนระยะสั้น ส่วนเส้น 25 วันเป็นตัวแทนระยะระหว่างระยะสั้นและระยะปานกลาง เส้น 75 วันเป็นตัวแทนระยะปานกลาง และ 200 วันเป็นตัวแทนระยะยาว
แต่ตอนนี้เรากลับมาที่ INDICATOR ตัวแรกก่อน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ผู้ที่เริ่มศึกษาการดูกราฟที่เริ่มต้น จะต้องเรียนรู้ก่อนเป็นตัวแรกๆ MOVING AVERAGE ที่นักลงทุนใช้จะมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น แบบ SIMPLE (ปกติ) WEIGHTED (แบบถ่วงน้ำหนัก) และแบบ EXPONENTIAL(แบบยกกำลัง) ตัวผมเองผมจะใช้แบบ EXPONENTIAL เป็นหลัก เพราะว่ามักจะส่งสัญญาณเร็วกว่า 2 แบบที่เหลือ แต่บางครั้ง สำหรับหุ้นบางตัว ถ้าผมย้อนไปดูอดีตแล้วรู้สึกว่า แบบ EXPONENTIAL ไม่แม่นยำ ผมจะลองใช้แบบ SIMPLE หรือแบบ WEIGHTED ดูเพื่อหาดูว่ารูปแบบใดที่เหมาะกับหุ้นตัวนั้นๆ โดยดูจากความแม่นยำในอดีต โดยนักวิเคราะห์ทางเทคนิค มีความเชื่อเรื่อง “HISTORY WILL REPEAT ITSELF” หรือประวัติศาสตร์มักจะย้อนรอยตัวเอง นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เขามาดูรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นจากกราฟนั่นเอง ทีนี้เทคนิคในการดู MOVING AVERAGE มีอะไรบ้าง ก่อนอื่นเราต้องเลือกจำนวนวันที่จะใช้เสียก่อน ปกติผมจะใช้ MA 5 , 10 , 15 , 25 , 75 และ 200 วัน โดยเส้น 5 วันเป็นตัวแทนของระยะสั้นมากๆ เส้น 10 วันเป็นตัวแทนระยะสั้น ส่วนเส้น 25 วันเป็นตัวแทนระยะระหว่างระยะสั้นและระยะปานกลาง เส้น 75 วันเป็นตัวแทนระยะปานกลาง และ 200 วันเป็นตัวแทนระยะยาว
ปกติเวลาที่ราคาหุ้นอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ย
หมายถึงยังดูไม่ค่อยดี ยิ่งถ้าราคาหุ้นอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยทั้ง 5 เส้น
ยิ่งแสดงว่า หุ้นตัวนั้นอยู่ในภาวะ BEARISH หรือภาวะหมี
คืออยู่ในแนวโน้มไม่ดี ในทางตรงกันข้าม
ขณะที่ราคาหุ้นตัวใดอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยทั้ง 5 เล้น
และค่าเฉลี่ยเหล่านั้นเรียงตัวโดยเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นอยู่ข้างบน
แล้วไล่เรียงลำดับลงมาจนถึงเส้นระยะยาวที่สุด ในที่นี้คือ เส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน
ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สั้นที่สุดที่ผมใช้ อยู่บนสุด
ตามมาด้วย 10 ,25 ,75 วัน โดยเส้น 200 วัน อยู่ล่างสุด รูปกราฟแบบนี้แหละเป็นรูปกราฟที่สวย
เพราะว่าหุ้นตัวนั้นอยู่ในภาวะ BULLISH หรือภาวะกระทิง
ยิ่งถ้าราคาหุ้นอยู่เหนือเส้น 5 วันไม่มากยิ่งดี แต่ถ้าราคาหุ้นอยู่เหนือเส้น 5
วันมากๆ แสดงว่าอาจจะอยู่ในภาวะ OVERBOUGHT ในช่วงสั้น คือเป็นภาวะที่มีการซื้อมากเกินไป
อาจจะมีการปรับตัวลงในระยะสั้นได้ เป็นต้น นอกจากนี้ เวลาราคาหุ้นตัดทะลุเส้นค่าเฉลี่ยลงไป
จะทำให้แนวโน้มดูไม่ดี และเส้นค่าเฉลี่ยเส้นนั้นจะเป็นแนวต้าน
เวลาที่หุ้นตัวนั้นมีราคาปรับตัวขึ้นมา
ในทางกลับกัน
ถ้าราคาหุ้นปรับตัวทะลุเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นไป แสดงว่า เริ่มมีแนวโน้มที่ดี
เส้นค่าเฉลี่ยเส้นนั้นก็จะกลายเป็นแนวรับไปโดยอัตโนมัติ และในกรณีเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดทะลุเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวขึ้นไป
หมายถึงแนวโน้มได้เปลี่ยนไปในทางที่ดี และจุดตัดนั้นก็จะเป็นแนวรับที่ดีจุดหนึ่ง
เวลาที่หุ้นตัวนี้มีราคาปรับตัวลงมา ในทางกลับกัน
ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดทะลุเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวลงไป
ก็แสดงว่าหุ้นตัวนี้เริ่มมีแนวโน้มไม่ดีเสียแล้ว
และเมื่อหุ้นตัวนี้มีราคาปรับตัวขึ้นมา จุดตัดนี้ก็จะเป็นแนวต้าน เวลาที่หุ้นกลับขึ้นมา ที่ผมพูดถึง กราฟรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน
เส้นค่าเฉลี่ยทั้ง 5 เส้น ผมก็ดูทั้งรายวัน สัปดาห์ และรายเดือนด้วยเหมือนกัน
เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว บางครั้ง ผมก็ปรับแต่งจากเส้น 5
วันเป็น 7 วัน เส้น 10 วันเป็น 12, 13 หรือ 14 วัน จนกว่าจะเห็นว่าเส้นนั้นแสดงผลได้แม่นยำที่สุด
โดยดูจากช่วงอดีตที่ผ่านมา มาถึงตอนนี้
ท่านผู้อ่านพอจะเข้าใจถึงวิธีการใช้ INDICATOR ตัวนี้กันแล้ว
เรามาดู INDICATOR ตัวถัดไปในบทความหน้ากันครับ
21/1/62
ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยกรอกอีเมลของท่าน ในช่องใต้ Follow by Email ทางด้านขวามือ เมื่อมีบทความใหม่ๆ ก็จะมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆกันนะครับ
ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_Kitichai
Blog : http://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert
หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
2.วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส
ห้องที่จะขายพร้อมผู้เช่า
1.
ห้อง 1 นอน 1 น้ำ ชั้น 24, 59.29 ตารางเมตร เป็นมุมที่สวยของตึก ตกแต่งสวยมาก
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าครบครัน ตกแต่งสวยมาก มี ผ้าม่าน เตาไฟฟ้า
เครื่องดูดควัน แอร์ 2 ตัว ตู้เย็น 7.9
คิว เครื่องซักผ้าฝาหน้า Digital TV 43 นิ้ว
เครื่องทำน้ำร้อน และ Microwave ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ ขายพร้อมผู้เช่า
ราคา 7.40 ล้านบาท ค่าเช่า 32,000 บาท/เดือน ผลตอบแทนจากการเช่า = 5.2%
ดู VDO
@ https://youtu.be/jsI-ENMQZ1I
สามารถดาวน์โหลดรูปภาพห้อง 12/478(2405) ได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/xtizl1r3lg4kkk8/AACCfFXIGSzPIrQsQ0UmGCR_a?dl=0
2.ห้อง 1 นอน 1 น้ำ ชั้น 20, 59.29
ตารางเมตร ตกแต่งสวยมาก วิวสวยมาก
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าครบครัน มี ผ้าม่าน เตาไฟฟ้า เครื่องดูดควัน แอร์ 2
ตัว ตู้เย็น 7.9 คิว
เครื่องซักผ้าฝาหน้า Digital TV 40 นิ้ว เครื่องทำน้ำร้อน
และ Microwave เป็นมุมที่สวยของตึก ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ ขายพร้อมผู้เช่า ราคา 7.20
ล้านบาท ค่าเช่า 32,000 บาท/เดือน ผลตอบแทนจากการเช่า = 5.33%
ดู VDO
@ https://youtu.be/FTxuVzynJjI
สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอห้อง
12/400(2003) ได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/im2mpjoom0dpx1u/AACyWi0Ye6wUImFQLkZHB6jJa?dl=0
3.
ห้อง 2 นอน 2 น้ำ ชั้น 20, 80.71 ตารางเมตร เป็นมุมที่สวยที่สุดของตึก
ตกแต่งสวยมาก วิวสวยมาก เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าครบครัน ตกแต่งสวยมาก มี
ผ้าม่าน เตาไฟฟ้า เครื่องดูดควัน แอร์ - ตัว ตู้เย็น 7.9
คิว เครื่องซักผ้าฝาหน้า Digital TV 40 และ 32
นิ้ว เครื่องทำน้ำร้อน และ Microwave ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ
ขายพร้อมผู้เช่า ราคา 9.70 ล้านบาท ค่าเช่า
42,000 บาท/เดือน
ผลตอบแทนจากการเช่า = 5.2%
ดู VDO
@ https://youtu.be/u1SgBaJfsnI
สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอห้อง
12/413(2017)
ได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/gipvla36vbvj7c3/AACeusA_7HbyKmQcMgpTI26na?dl=0
สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอของ
15 สุขุมวิท
เรสซิเดนซ์ ทั้งหมดได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/a4v6us2c38eptej/AACG1eg2B-xUE5Sl4sTAjrYla?dl=0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น