จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

รัฐควรช่วยคนจนที่ขยัน(ตอนที่ 2)


                        รัฐควรช่วยคนจนที่ขยัน(ตอนที่ 2)
  

           บทความที่แล้วผมได้พูดถึงคนที่อยู่ในวัยแรงงาน ที่มีงานทำและไม่ได้ทำงาน และได้เกริ่นถึงแหล่งที่มาของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน ที่นี้เรามาดู ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนกันครับ

           ครัวเรือนทั่วประเทศ ในปี 2560 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 21,437 บาท โดยค่าใช้จ่ายร้อยละ 35.1 เป็นค่าอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งบ้านและเครื่องใช้ภายในบ้านร้อยละ 20.3 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการเดินทางร้อยละ 17.4 ของใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่งห่ม/รองเท้าร้อยละ 5.2 ใช้ในการสื่อสารร้อยละ 3.4 ใช้เพื่อการศึกษา ค่าเวชภัณฑ์/ค่ารักษาพยาบาล
และการบันเทิง/การจัดงานพิธีคือร้อยละ 1.8 1.6 และ 1.2 ตามลำดับ สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมศาสนามีเพียงร้อยละ 1.0 ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวย ดอกเบี้ย สูงถึงร้อยละ 13.0 ตามภาพที่ 1


ภาพที่ 1 : ร้อยละของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน จำแนกตามประเภทค่าใช้จ่ายปี 2560


          หนี้สินของครัวเรือน (ปี 2560) จากครัวเรือนทั่วประเทศประมาณ 21 ล้านครัวเรือน พบว่าเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินประมาณ 10.8 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 50.7 โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 178,994 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือน (ร้อยละ 76.9) ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคร้อยละ 39.0 ใช้ในการซื้อบ้าน/ที่ดินร้อยละ 36.3 และใช้ในการศึกษาร้อยละ 1.6 สำหรับหนี้เพื่อใช้ในการลงทุนและอื่นๆ (ร้อยละ 23.1) พบว่าส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อใช้ทำการเกษตร ร้อยละ 14.0 รองลงมาคือใช้ทำธุรกิจ
ร้อยละ 8.5 และหนี้อื่นๆ อีกร้อยละ 0.6 ตามภาพที่ 2


ภาพที่ 2 : ร้อยละของครัวเรือน จำแนกตามการมีหนี้สิน และจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนโดยจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม ปี 2560

           การก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เกิดจากความที่คนเหล่านั้นไม่มีวินัยในเรื่องการออมเงินและใช้เงิน ถ้าเป็นการก่อหนี้เพื่อการลงทุนหรือซื้อสินทรัพย์ที่ทวีมูลค่า เช่น อสังหาริมทรัพย์ โดยมีข้อแม้ว่าเป็นการลงทุนที่ไม่เกินกำลังของตัวเอง กลับเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน เพราะนอกจากทำให้มีวินัยในเรื่องการออมเงินและใช้เงินแล้ว ตัวสินทรัพย์ดังกล่าวเมื่อเวลาผ่านไปก็จะมีมูลค่าสูงกว่าราคาตอนที่ซื้อมา  ซึ่งทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น




             ครัวเรือนที่มีหนี้สินในระบบ และนอกระบบ (ปี 2560)(ภาพที่ 3) จากครัวเรือนทั่วประเทศที่มีหนี้สิน พบว่าส่วนใหญ่ครัวเรือนเป็นหนี้ในระบบ  โดยครัวเรือนที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียวร้อยละ 90.0 ครัวเรือนที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียวร้อยละ 5.8 ครัวเรือนที่มีหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบมีเพียงร้อยละ 4.2 และพบว่าจํานวนเงินเฉลี่ยที่เป็นหนี้ในระบบสูงกว่านอกระบบถึง 41 เท่า (174,714 บาท และ 4,280 บาทตามลําดับ) โดยลดลงจากปี 2558 ซึ่งหนี้ในระบบสูงกว่าหนี้นอกระบบประมาณ 46 เท่า (153,425 บาท และ 3,346 บาท ตามลําดับ) เป็นหนี้นอกระบบ เผลอแป๊บเดียว ก็ทำให้ตัวดอกเบี้ยท่วมเงินต้นเสียแล้ว หนี้นอกระบบจึงเป็นปีศาจตัวร้ายที่ทำให้คนไทยยากจนลงไปเรื่อยๆ  รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย


ภาพที่ 3 : ร้อยละของครัวเรือนที่มีหนี้สินในระบบและนอกระบบ และจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนทั้งสิ้นปี 2560

         จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เราเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีวินัยในเรื่องการออมเงิน  จริงๆแล้วกระทรวงศึกษาธิการควรจะนำเรื่อง"การออมเงิน" บรรจุเป็นวิชาในหลักสูตรของนักเรียนชั้นมัธยมต้น(หรืออย่างน้อยก็ควรจะเป็นหนังสือนอกเวลา)  เพราะเด็กบางคนหลังจากจบมัธยมศึกษาตอนต้น อาจจะเรียนต่อสายวิชาชีพ ปวช. ปวส. ซึ่งหลักสูตร"การออมเงิน" นี้ จะทำให้เด็กเหล่านี้ซึ่งยังเป็นไม้อ่อนพอดัดได้ จะได้มีความรู้ติดตัว ซึ่งจะทำให้ภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยในอนาคตลดลง รวมทั้งยังจะลดช่องว่างของรายได้ของคนในประเทศได้อีกด้วย

           นอกจากนี้การนำ ระบบภาษีแบบ Negative Income tax(NIT)  มาใช้แทนระบบภาษีแบบเดิม น่าจะเป็นวิธีที่ช่วยขจัดปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย และแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของรายได้  ซึ่งจะช่วยลดปัญหาของสังคมในอนาคตได้เป็นอย่างดี มาติดตามบทความหน้ากันนะครับว่า ระบบภาษีแบบนี้เป็นอย่างไร แล้วจะช่วยประเทศชาติได้อย่างไร


กิติชัย เตชะงามเลิศ


          ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยกรอกอีเมลของท่าน ในช่องใต้ Follow by Email ทางด้านขวามือ เมื่อมีบทความใหม่ๆ ก็จะมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆกันนะครับ



ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่


      หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"   
              2.วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส




แอสปาย สาธร-ราชพฤกษ์ Aspire Sathorn-Rajpruek ขายดาวน์ 6 ยูนิตสุดสวย เพียง 2 ล้านบาทเท่านั้น 1 ก้าวจาก SKY WALK รถไฟฟ้าบางหว้า และรถไฟฟ้า MRT (เป็นสถานี INTERCHANGE)








        
        ห้องที่จะขายดาวน์(คาดว่าจะแล้วเสร็จ พย. 2561) ขนาด 26 ตรม. แบบ STUDIO ห้องหันไปทางทิศใต้ รับลมตลอดทั้งปี ราคา 2,000,000 บาท
ปัจจุบันโครงการขายที่ราคาเริ่มต้น 2.99 ล้านบาทแล้วครับ


สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอทั้งหมดของ แอสปาย สาธร-ราชพฤกษ์ Aspire Sathorn-Rajpruek ได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/4bocn8qjdrhpfdk/AABGsSAcZwp4zZGj4SUPeXQEa?dl=0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น