จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ยุคคนมีเงินอยู่ยาก ทำไงดี? (ตอนที่ 1 )



                              ยุคคนมีเงินอยู่ยาก ทำไงดี? (ตอนที่ 1 )


            ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่โหดร้ายสำหรับคนที่หวังพึ่งรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ รวมถึง ผลตอบแทนจากตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ของบริษัทต่างๆทั้งที่อยู่ในและนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ พันธบัตรรัฐบาล หรือกระทั่งที่เลี่ยงไปซื้อกองทุนรวมตลาดเงิน หรือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น กลาง หรือยาว ทั้งตราสารหนี้ที่ออกในและนอกประเทศไทย ซึ่งผลตอบแทนของหน่วยลงทุนก็อิงไปกับภาวะดอกเบี้ย ซึ่งอยู่ในอัตราที่ต่ำทั่วโลกมานานหลายปีแล้ว

            ล่าสุดก็มีข่าวครึกโครม ทำให้ผู้ที่ซื้อหุ้นกู้เอกชนบางบริษัทที่เกิดมีปัญหาไม่สามารถที่จะหาเงินมาชำระหุ้นกู้ที่ครบกำหนดได้ทัน ทั้งที่เกิดจากปัญหาทางเทคนิค และหรือสภาพคล่องของกิจการที่ออกหุ้นกู้เหล่านั้นเอง ซึ่งยังส่งผลกระทบไปยังผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนตราสารหนี้ที่ไปลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัทที่มีปัญหา ดูๆแล้วช่างเป็นทุกข์ของคนที่มีเงินออมจริงๆ การลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน ควรจะให้ความสำคัญกับเครดิตเรตติ้งมากกว่าอัตราดอกเบี้ยที่เสนอมา ซึ่งควรจะเป็น INVESTMENT GRADE ที่มี RATING BBB+ ขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยงที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม หลายๆครั้งที่ผมถูกเชิญไปพูดในงานสัมนาต่างๆ หรือการให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ 

           ผมก็มักจะพูดถึงคนที่ฝากเงินธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ ว่าเป็น คนสิ้นคิดคือไม่ยอมจะคิดอะไรเลยที่จะนำเงินออม ที่อุตสาห์เก็บหอมรอมริบมาจากหยาดเหงื่อ ไปพึ่งใบบุญธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำติดดิน โดยไม่พยายามจะเรียนรู้ศึกษาช่องทางในการนำเงินออมไปลงทุนในเครื่องมืออื่นๆเพื่อให้เงินออมนั้นๆช่วยเราทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางหลากหลายมากกว่าในสมัยก่อน การไม่ยอมรับความเสี่ยงอะไรเลย ก็เป็นความเสี่ยงชนิดหนึ่ง คือความเสี่ยงที่เวลาแก่ตัวลงแล้ว ไม่ได้ทำงานแล้ว รายได้จากเงินออมที่เก็บเอาไว้ตั้งแต่สมัยยังทำงานอยู่ จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เพียงพอที่จะดูแลตนเองในยามเฒ่าชรา และยามที่เจ็บไข้ได้ป่วย ทุกคนบนโลกนี้สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนคือ เกิด แก่ เจ็บ ตายคนที่ไม่เคยต้องไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน เพราะว่าสุขภาพแข็งแรง ก็ถือเป็นโชคดีไป ดังคำว่า อโรคยา ปรมาลาภาหรือ ความไม่มีโลภ เป็นลาภอันประเสริฐแต่ก็อาจจะไม่ได้รับรู้ถึงค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชนที่เป็นเกรดพรีเมี่ยม เขาเรียกเก็บมันแพงปานใด ถึงแม้ว่าจะได้ยินคำล่ำลือ แต่คงไม่เท่ากับได้สัมผัสบิลค่ารักษาของตนเองจากโรงพยาบาลเหล่านี้โดยตรง

            ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังครับ ที่จะเรียนรู้และเข้าใจเครื่องมือหรือช่องทางในการลงทุนอื่นๆนอกเหนือจากการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน ที่จริงแล้วบทความก่อนๆ ผมก็เคยแนะนำไว้บ้างแล้ว หรือจะอ่านหนังสือ จากออมน้อยเป็นร้อยล้าน ของผมที่มีข้อมูลอย่างละเอียด และเขียนให้อ่านเข้าใจได้ง่ายๆครับ แต่สำหรับบางท่านยังยืนยันที่จะคงใช้ช่องทางเดิมๆ โดยฝากเงินไว้กับธนาคาร ก็ยังพอจะมีวิธีเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากได้อีกสัก 1-2%/ปี

            หลังจากที่ประเทศไทยเราเกิดภาวะวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ที่ได้ลามเป็นวิกฤตของภูมิภาคเอเชีย ช่วงนั้นไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ก็ติดเชื้อจากเราไปด้วย จำได้ว่าสมัยนั้นก่อนที่จะเกิดวิกฤต เศรษฐกิจดูดีเหลือเกิน มีการเก็งกำไรกันมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยสมัยนั้นเปิดให้ธุรกิจเอกชนไทยสามารถได้เงินจากเมืองนอกที่ต้นทุนถูกๆเข้ามาได้อย่างง่ายดาย ผ่านช่องทาง BIBF (BANGKOK INTERNATIONAL BANKING FACILITIES) ซึ่งเป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำธุรกรรมในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศแล้วนำมาทำธุรกรรมในการกู้ยืมทั้งภายในและภายนอกประเทศไทย ถ้านำมาปล่อยกู้ในประเทศเรียกว่า “Out- In”แต่ถ้านำไปปล่อยกู้ต่อให้ต่างประเทศเรียกว่า“Out –Out” ซึ่งเริ่มใช้กันมาตั้งแต่ปี 2536 ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 90% เป็นธุรกรรมแบบ “Out-In” ทั้งยังเป็นหนี้ระยะสั้นเสียด้วย 

             โดยสมัยนั้นมีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ แต่ประสิทธิภาพในการดูแลจัดการในเรื่องนี้ของรัฐบาลไทยยุคนั้นหย่อนยานมากเกินไป ปล่อยให้มีการนำเงินนอกต้นทุนถูกเหล่านี้ เข้ามาเก็งกำไรกันมากเหลือเกิน เพราะสมัยนั้นอัตราแลกเปลี่ยนบาท/$นั้นคงที่ ทำให้ไม่มีคนคิดหรือกลัวเรื่องนี้ จำได้ว่าสมัยนั้นผมยังอยู่ในวัยรุ่นคะนอง ก็เป็นหนึ่งในนักเก็งกำไรกับเขาด้วยเช่นกัน ช่วงนั้นมีการก่อสร้างคอนโดทั้งในลักษณะที่เป็นที่อยู่อาศัย และสำนักงาน รวมทั้งสนามกอล์ฟออกมามากมาย แต่ถ้าเทียบราคากัน มูลค่าคอนโดในสมัยนั้นยังน้อยกว่าสมัยนี้ เป็นเพราะราคา/ตารางเมตร ถูกกว่ากันมาก สมัยก่อนแพงสุดก็น่าจะเป็นอาคาร ALL SEASON บนถนนวิทยุที่ราคา/ตารางเมตร อยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท เทียบกับคอนโดของแสนสิริที่กำลังขายอยู่ในขณะนี้บริเวณใกล้เคียงกัน ที่ตารางเมตรละประมาณ 400,000 บาท ภายใน 20 ปี ราคาสูงขึ้นเป็น 4 เท่า

            กำลังสนุกเลย แต่เนื้อที่หมดแล้ว มาอ่านต่อตอนต่อไปได้ที่ http://kitichai1.blogspot.com/2017/02/blog-post_15.html


กิติชัย เตชะงามเลิศ
       15/2/60

  
      ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่
 Facebook : https://www.facebook.com/VI.Kitichai
 Twitter : http://twitter.com/value_talk
 Instagram : Gid_Kitichai
 Blog : http://kitichai1.blogspot.com
 You Tube : http://www.youtube.com/user/wittayu9
 Google+ : https://www.google.com/+KitichaiTaechangamlert
 Linkedin : https://www.linkedin.com/in/homeproperty
 Pinterest : http://www.pinterest.com/kitichai/
     หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"
              2.หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหน้า 15 เดือนละครั้ง ในคอลัมน์ “จับช่องลงทุน”
              3.นิตยสาร Tycoon ทุกเดือน
              4.นิตยสาร คนรวยหุัน  Me(Market Evolution) วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส

อัลทีจูด ดีไฟน์(Altitude Define)    ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน เพียง 200 เมตร และ 600 เมตร จาก BTS สถานีศาลาแดง


ห้องที่จะขายดาวน์
1.ห้อง 409 ชั้น 4 ประเภทห้อง B2 : 2 นอน 1 น้ำ ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ พื้นที่ใช้สอย: 43.5 ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่โดนบล็อควิว เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 7,000,000 บาท

2.ห้อง 708 ชั้น 7 ประเภทห้อง A1 : 1 นอน 1 น้ำ ไม่ติดลิฟท์ พื้นที่ใช้สอย : 28.4 ตารางเมตร ระเบียงหันไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่โดนบล็อควิว เป็นซิตี้วิว เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 4,800,000 บาท


  • อาคารชุด 8 ชั้น และชั้นใต้ดิน ลึก 3 ระดับ 59 ห้องชุด บนที่ดิน 218 ตารางวา
  • พื้นที่ใช้สอย 28.4 – 48.3 ตร.ม.
พื้นที่ส่วนกลาง : สระว่ายน้ำ สวนสาธารณะ ห้องสมุด ซาวน่า และ สปอร์ตคลับ / ฟิตเนส

สถานที่สำคัญใกล้เคียง
1. จามจุรีสแควร์ 250 เมตร
2. รร.เตรียมอุดมศึกษา 600 เมตร
3. รร.สาธิตจุฬา 600 เมตร
4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 300 เมตร
5. ย่านธุรกิจสีลม 450 เมตร
6. สวนลุมพินี 600 เมตร

  ยูนิตต่อชั้นสูงสุด 9 ยูนิต
  ที่จอดรถ  59 คัน คิดเป็น 100 %
  คาดว่าจะแล้วเสร็จ : กุมภาพันธ์ 2560
สิ่งอำนวยความสะดวก
  • Lobby
  • สระว่ายน้ำระบบเกลือ + Jacuzzi + Pool Lounge
  • ห้องออกกำลังกาย + Sauna
  • Double Volume Lobby
  • Sky Deck
  • Roof Garden
  • สวนหย่อมรอบโครงการ
  • ลิฟท์โดยสาร 1 ตัว
·        จอดรถ  59 คัน คิดเป็น 100 %
  • ระบบ CCTV / Access Card
รายการวัสดุ

- พื้น Engineering Wood
- กลอนประตู Digital Door Lock High Security Lock
- Kitchen Counter
- Built-in Closet
-Loose Furniture Set
- Double Glass Window (front side only)
- ระบบห้องน้ำ Automation จาก American Standard
- ระบบน้ำร้อน Heat Water System
- เครื่องปรับอากาศ Daikin หรือเทียบเท่า
- อุปกรณ์ไฟฟ้าจาก Siemen ระบบ LED Lighting ทั้งอาคาร รวมถึงการติดตั้งแผง Solar Cell บนดาดฟ้า
- ผนังห้อง Wallpaper
พร้อม Wall Decoration


ดู VDO ที่  https://youtu.be/71DIiM0m4tM



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น