จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

รัฐควรช่วยคนจนที่ขยัน(ตอนที่ 3)



                        รัฐควรช่วยคนจนที่ขยัน(ตอนที่ 3)


           บทความ 2 ตอนที่แล้ว คงทำให้ผู้อ่านได้เห็นความบกพร่องของระบบการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งผลิตแรงงานออกมาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่ตลาดแรงงานที่ต้องการ รวมทั้งไม่มีการสอนเกี่ยวกับเรื่องวินัยการออมเงินและการจัดการเงินออมที่ดีให้กับเยาวชนของชาติตั้งแต่ชั้นมัธยมต้นซึ่งทำให้เราเห็นว่าคนไทยเราเป็นชาติที่มีหนี้ครัวเรือนสูงใน 2 อันดับแรกของอาเซียน และหนี้ครัวเรือนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ใช้ไปกับการอุปโภคบริโภค มีทั้งการกู้ในระบบและนอกระบบ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงมา กยิ่งทำให้ภาระหนี้พอกพูน การเกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวในที่สุด ซึ่งในบทความตอนที่ 2 ผมได้จนถึงเรื่องระบบภาษีแบบ Negative Income Tax ซึ่งน่าจะมาช่วยแก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี

           ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เรามีรัฐบาลหลายคณะไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ก็ไม่วายที่จะต้องใช้นโยบายประชานิยม เพื่อช่วยสร้างคะแนนนิยมให้กับรัฐบาลของตน  เท่าที่ผมจำได้อย่างเช่นเรื่อง เงินผันของรัฐบาลท่านคึกฤทธิ์ปราโมช ใน พ.ศ. 2518 รัฐบาลตั้งเป้าหมายให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ ทำการผันเงินจากส่วนกลางคือกรุงเทพมหานครออกสู่ต่างจังหวัด เพื่อปล่อยสินเชื่อเพื่อการเกษตรในต่างจังหวัดปีละไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท และจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชนบทหรือการผันงบประมาณ เป็นการใช้มาตรการทางการคลังของรัฐบาล โดยการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาตำบลทั่วประเทศ ยกเว้นเขตกรุงเทพมหานคร ในวงเงินไม่เกิน 2,500 ล้านบาท เพื่อที่จะช่วยประชาชนให้มีงานทำในฤดูแล้ง และช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท แต่ก็ประสบปัญหาคอรัปชั่นระหว่างทางมากมายต้นเงินตกหล่นไปถึงล่าสุดรที่ยากไร้น้อยมากและไม่ทั่วถึง


           รัฐบาลยุคต่อๆมา ก็มีนโยบายประชานิยมที่แตกต่างกัน อย่างเช่นรัฐบาลของคุณทักษิณ ชินวัตร ก็มีนโยบายโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค นโยบายจำนำข้าว กองทุนหมู่บ้าน และกองทุนเอสเอ็มแอล เป็นต้น  และนโยบายจำนำข้าว นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท ที่สร้างความปั่นป่วนให้วงการผู้ประกอบการไม่น้อยของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะว่าทำให้ต้นทุนทางด้านแรงงานสูงขึ้นทันที ซึ่งส่งผลกระทบถึงความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่ไม่ได้เพิ่มค่าแรงขึ้นทีเดียวแบบพรวดพราด รวมทั้ง นโยบายรถคันแรก ที่ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยชะงักงันในเวลาต่อมา ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีเลยทีเดียว โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนรายเล็กๆที่เพิ่มกำลังการผลิตต้องประสบปัญหาขาดทุนหรือเลิกกิจการไปในที่สุด และนโยบายประกันราคาข้าวของพรรคประชาธิปัตย์  ล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาคอรัปชั่น เงินตกเบี้ยบ้ายรายทาง ทำให้ประสิทธิผลของนโยบายบางอย่างที่ดีไม่ได้ดังหวัง และต้องใช้เงินงบประมาณของประเทศเป็นจำนวนมาก

           นโยบายประชานิยมของรัฐบาลปัจจุบัน โดยเลี่ยงบาลี แทนที่จะใช้คำว่า"ประชานิยม"ก็ใช้คำว่า"ประชารัฐ"แทน อย่างเช่น มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โครงการช็อปช่วยชาติ มาตรการนี้เป็นการช่วยประหยัดภาษีให้คนชนชั้นกลางและชั้นบน โดยรัฐมุ่งหวังที่จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อจะต่อยอด GDP ของประเทศ โครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการบัตรคนจน ซึ่งคนที่ไม่ได้จนจริงๆก็พลอยได้รับบัตรนี้ไปด้วย อย่างที่เห็นในโซเชียลมีเดีย เป็นผู้หญิงที่ใส่สร้อยทองคำเส้นเบ้อเร่อ แล้วโชว์บัตรคนจนให้เห็น เป็นต้น เป็นการตบหน้ารัฐอย่างร้ายแรง แสดงให้เห็นถึงฐานข้อมูลของคนจนที่รัฐมีอยู่นี้เชื่อถือไม่ได้  ทำให้เป็นการผลาญงบประมาณของรัฐอย่างไร้ประสิทธิผลอย่างยิ่ง และการเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน เงินขวัญถุงปีใหม่ ค่าเดินทางผู้สูงอายุ เพิ่มเงินข้าราชการบำนาญ ช่วยเกษตรกร กรอบวงเงินงบประมาณกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งถูกอัดฉีดลงสู่รากหญ้าในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง



         ปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นระหว่างทาง และปัญหาการช่วยคนด้อยโอกาสในสังคมให้ถูกคนจะหมดไป ถ้าหันมาใช้ระบบภาษีแบบ  Negative Income Tax(NIT) หลายท่านอาจสงสัยว่า NIT คืออะไร เราลองมาดูรายละเอียดกันครับ NIT เริ่มต้นมาจากหนังสือ "Capitalism and Freedom"ของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง Milton Friedman ที่ออกมาเมื่อปีค.ศ. 1962  ทำให้เป็น NIT เริ่มเป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ NIT เป็นระบบภาษีที่เหมาะสมมากกับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมค่อนข้างมาก เพราะว่าจะช่วยทำให้คนที่ยากจน สามารถมีรายได้สูงขึ้นเพียงพอที่จะเลี้ยงดูตัวเองได้ และอาจจะกลายเป็นคนชั้นกลางได้ในอนาคต มาติดตามบทความหน้า ผมจะเล่าถึงรายละเอียดและขั้นตอนของ NIT ว่าเป็นอย่างไรกันครับ

กิติชัย เตชะงามเลิศ


    5/2/62
ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยกรอกอีเมลของท่าน ในช่องใต้ Follow by Email ทางด้านขวามือ เมื่อมีบทความใหม่ๆ ก็จะมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆกันนะครับ

ลงทุนอะไรดีในช่วงดอกเบี้ยเงินฝาก 1.5 เปอร์เซ็นต์ (ตอนที่ 1)
ลงทุนอะไรดีในช่วงดอกเบี้ยเงินฝาก 1.5 เปอร์เซ็นต์ (ตอนที่ 18)

ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่


      หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"   
              2.วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส




แอสปาย สาธร-ราชพฤกษ์ Aspire Sathorn-Rajpruek ขายดาวน์ 6 ยูนิตสุดสวย เพียง 2 ล้านบาทเท่านั้น 1 ก้าวจาก SKY WALK รถไฟฟ้าบางหว้า และรถไฟฟ้า MRT (เป็นสถานี INTERCHANGE)
        




        ห้องที่จะขายดาวน์(คาดว่าจะแล้วเสร็จ พย. 2561) ขนาด 26 ตรม. แบบ STUDIO ห้องหันไปทางทิศใต้ รับลมตลอดทั้งปี ราคา 2,000,000 บาท
ปัจจุบันโครงการขายที่ราคาเริ่มต้น 2.99 ล้านบาทแล้วครับ


สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอทั้งหมดของ แอสปาย สาธร-ราชพฤกษ์ Aspire Sathorn-Rajpruek ได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/4bocn8qjdrhpfdk/AABGsSAcZwp4zZGj4SUPeXQEa?dl=0

          













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น