จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พลเอกประยุทธ์กับเศรษฐกิจไทย ตอนที่ 2

    

                               พลเอกประยุทธ์กับเศรษฐกิจไทย ตอนที่ 2

 



              ในบทความตอนที่ 1 ผมได้กล่าวถึงอัตราส่วนคนยากจนในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงสมัยนายกทักษิณ ชินวัตร จนถึงนายกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม และผมยังได้กล่าวถึงการเติบโตของรายได้ครัวเรือนไทยและสัดส่วนรายได้ครัวเรือนไทยเมื่อเทียบกับหนี้สินครัวเรือน รวมทั้งสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

 

              ผมขอนำมุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่มีต่อต่อสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปัจจุบัน จากข้อมูลของ ธปท. ที่เผยแพร่ออกมาสะท้อนให้เห็นว่า “หนี้ครัวเรือน” ไตรมาส 2/2563 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงขยับขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลของโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ 83.8% ต่อจีดีพี(สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ในช่วงสมัยทักษิณ อยู่ที่ประมาณ 40% เท่านั้น) และเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสนั้นพบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 9.22 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2/2563 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ คาดว่า สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ของไทย อาจขยับสูงขึ้นไปอยู่ในกรอบประมาณ 88-90% ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2563 (ในขณะที่ปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวของประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านในอาเซียนของเราอยู่ที่ประมาณ 10%ต้นๆเท่านั้น ภาพที่ 6) ซึ่งนับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 18 ปี (ข้อมูล ธปท. ย้อนหลังถึงปี 2546) ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนว่า ภาคครัวเรือนกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไทยกำลังเผชิญ โดยเฉพาะท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะ 1-2 ปี ข้างหน้านี้ โดยหนี้สินครัวเรือนไทยส่วนใหญ่มาจาก หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย หนี้ผ่อนรถยนต์ และผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้งการขาดสภาพคล่อง  ตามภาพที่ 7 และการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนแยกตามประเภทสินเชื่อ และประเภทของสถาบันการเงิน ตามภาพที่ 8

 


    ภาพที่ 6: สัดส่วนหนี้ครัวเรือนปี 2007 และ 2017  ที่มา: EIC

 

 


                   ภาพที่ 7: หนี้ครัวเรือนปี 2562-2563  ที่มาของภาพ: Marketeer

 

 



ภาพที่ 8: การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนแยกตามประเภทสินเชื่อ และประเภทของสถาบันการเงิน  ที่มา: EIC

 

               สาเหตุข้อที่ 3 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความแตกต่างของความมั่งคั่งระหว่างคนรวยและคนจนว่างมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยประชากร 1% ที่รวยที่สุดของประเทศ ครอบครองความมั่งคั่งถึง 66.9% ของความมั่งคั่งทั้งประเทศ ตามภาพที่ 9 ถ้าเปรียบเทียบความไม่สมดุลของความมั่งคั่งทั้งอาเซียน ประเทศไทยถูกจัดเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน โดยมีคะแนนอยู่ที่ 90.2 และจัดเป็นอันดับที่ 4 ของโลกในปี 2018 ตามภาพที่ 10 และ 11 และจากบทรายงานล่าสุดของเครดิตสวิส ประชากรไทยที่อยู่ฐานล่างสุด 10% ครอบครองความมั่งคั่งเพียง 0% ของความมั่งคั่งของประเทศ และประชากรไทยฐานล่างสุดขึ้นมา 50% ครอบครองความมั่งคั่งเพียง 1.7% ของความมั่งคั่งของประเทศ ในขณะที่ ประชากรไทย 10% ที่รวยที่สุดในประเทศ ครอบครองความมั่งคั่งถึง 85.7% และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนถ่างกว้างมากขึ้นเรื่อยๆในสมัยพลเอกประยุทธ์

 

                       


                  ภาพที่ 9: ความมั่งคั่งระหว่างคนรวยและคนจน ที่มา: https://www.aseantoday.com/

 


 


     ภาพที่ 10: Wealth Inequality in 2018, Credit: https://livingasean.com/


    ภาพที่ 11: ความมั่งคั่งระหว่างคนรวยและคนจน ปี 2018, Credit: https://livingasean.com/

 

            


    ภาพที่ 12: GDP ไทย ปี 2009-2021 ที่มา: https://www.statista.com/

 

          สาเหตุข้อที่ 4 การเติบโตของ GDP ประเทศไทยในช่วงสมัยรัฐบาลประยุทธ์ โตต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 3 รัฐบาล  โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

GDP ช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ อยู่ที่ระหว่าง 3.44 ถึง 7.19% 6 ปี (2001-2006) เฉลี่ยอยู่ที่ 5.37%

GDP ช่วงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ อยู่ที่ระหว่าง -0.69 ถึง 7.51% 4 ปี (2008-2011) เฉลี่ยอยู่ที่ 2.35%

GDP ช่วงสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อยู่ที่ระหว่าง 0.84 ถึง 7.24% 4 ปี (2011-2014) เฉลี่ยอยู่ที่ 2.94%

GDP ช่วงสมัยรัฐบาลประยุทธ์ อยู่ที่ระหว่าง -6.66(EXP) ถึง 4.13% 7 ปี (2014-2020) เฉลี่ยอยู่ที่ 1.62%

 


          สาเหตุข้อที่ 5 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ตามภาพที่ 13 เปรียบเทียบสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ และประยุทธ์ (พอดีผมไม่มีข้อมูลสมัยรัฐบาลทักษิณ จึงขอไม่กล่าวถึง)

 

FDI ช่วงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 7,877 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 246,550 ล้านบาท

FDI ช่วงสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 9,071 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 283,922 ล้านบาท

FDI ช่วงสมัยรัฐบาลประยุทธ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 7,279 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 227,832 ล้านบาท

 

          จะสังเกตเห็นได้ว่า FDI สมัยรัฐบาลประยุทธ์ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับรัฐบาลอภิสิทธิ์และยิ่งลักษณ์

 

 

   ภาพที่ 13: FDI ไทย ปี 2005-2019 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

          สาเหตุข้อที่ 6 การเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET INDEX) ตามภาพที่ 14 ในช่วง 4 รัฐบาล มีรายละเอียดดังนี้

 

SET INDEX ช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ (9/2/2001-19/9/2006) อยู่ที่ระหว่าง 327.51-702.56 ขึ้นมาเฉลี่ย 20.51%/ปี

SET INDEX ช่วงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ (17/12/2008-5/8/2011) อยู่ที่ระหว่าง 445.31-1,093.38 ขึ้นมาเฉลี่ย 52.92%/ปี

SET INDEX ช่วงสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (5/8/2011-7/5/2014) อยู่ที่ระหว่าง 1,124.01-1,402.61 ขึ้นมาเฉลี่ย 9.01%/ปี

SET INDEX ช่วงสมัยรัฐบาลประยุทธ์ (24/8/2014-21/10/2020) อยู่ที่ระหว่าง 1,556.97-1,216.43 ลดลงเฉลี่ย 3.55%/ปี

 

           จะเห็นได้ว่า SET INDEX ขึ้นเฉลี่ยสูงสุดในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ขณะที่แย่ที่สุดสมัยรัฐบาลประยุทธ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลเดียวใน 4 รัฐบาลที่ SET INDEX ลดลง

 


    ภาพที่ 14: SET INDEX ปี 2000-2020

 


              จาก 5 สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตยไม่เต็มใบ เศรษฐกิจโดยรวมจะแย่กว่าตอนช่วงที่ประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มที่ และน่าจะเป็นสาเหตุหลักๆที่ประชาชนออกมาชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ลาออก นอกเหนือจากเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม และการสืบทอดอำนาจ 


ติดตามตอนที่ 1 ได้ที่ พลเอกประยุทธ์กับเศรษฐกิจไทย ตอนที่ 1


กิติชัย เตชะงามเลิศ

    22/10/63


  ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยกรอกอีเมลของท่าน ในช่องใต้ Follow by Email ทางด้านขวามือ เมื่อมีบทความใหม่ๆ ก็จะมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆกันนะครับ



ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่

 Instagram : https://www.instagram.com/gid_kitichai/

 

 ณ วรา เรสซิเดนท์ หลังสวน(Freehold) ชั้นเพนท์เฮ้าส์ ถูกสุดใน 3 โลก แต่งแบบหรู เจ้าของขายและให้เช่าเอง เดิน 3 นาที จาก BTS ชิดลม

 

     ห้องที่จะขายและให้เช่า

 

         ห้องชั้น 8(ชั้นเพนท์เฮ้าส์ ) พื้นที่ 43.99 ตรม. 1 นอน 1 น้ำ หันไปทางทิศเหนือ ชั้นนี้ มีสวนลอยฟ้า สระว่ายน้ำ และฟิตเนส วิวดี พร้อมเฟอร์นิเจอร์พรีเมียมครบชุด ตกแต่งสวยมาก มี ผ้าม่าน 2 ชั้น เตาไฟฟ้า เครื่องดูดควัน ตู้เย็น 8.2 Q เครื่องซักผ้าฝาหน้า Digital TV จอโค้ง 45 นิ้ว เครื่องทำน้ำร้อน และ Microwave ราคา 9,900,000 บาท หรือเช่า 27,000 บาท/เดือน

 

โปรโมชั่น: แถมฟรีค่าส่วนกลาง 1 ปี (ถึง มีค. 64) และเงินกองทุนคอนโด และโปรโมชั่นฟรีค่าใช้จ่ายในการโอนทุกอย่าง จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2564

 















เป็นหนึ่งในไม่กี่โครงการที่ซื้อแล้วได้กรรมสิทธิ์ เพราะคอนโดส่วนใหญ่ในย่านนี้จะเป็นลักษณะเซ้งเสียส่วนใหญ่

 

ดู VDO ได้ที่  https://youtu.be/-UfqX_5QOwU

 

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอทั้งหมดของ ณ วรา เรสซิเดนท์ หลังสวน ได้ที่

 

https://photos.app.goo.gl/sjttmd69w2xDZUpf8

 

หรือ https://www.dropbox.com/sh/8fp6fwrp4kiejzp/AABAbXTgEiPBXaYba4sV37Aaa?dl=0

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://thinkofliving.com/2016/02/24/navarang-press-navara/#QIelJ0rQfTXROa15.99

 

ที่อยู่: 25 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แฃวงลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 พิกัด 13.741988, 100.544337

 

    โครงการนี้มี 8 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวมมากกว่า 5,000 ตารางเมตร บนที่ดินขนาด 1 ไร่ 7 ตารางวา มีจำนวนห้องทั้งหมด ประมาณ 97 ยูนิต อยู่ตรงข้ามโรงเรียนมาแตร์เดอี ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แฃวงลุมพินี ปทุมวัน ห่างจาก BTS สถานี ชิดลม ประมาณ 200 เมตร  ภายในโครงการจะมีพื้นที่ส่วนกลางคือ สระว่ายน้ำ  ฟิตเนส  รูฟการ์เด้น  ฯลฯ ใกล้ Central Embassy, Central ชิดลม, Central World, สยามพารากอน, เกสร พลาซ่า, รร.มาร์แตเดอี, รร.นานาชาติมัลเบอร์รี่เฮ้าส์, ม.เว็บสเตอร์ (ประเทศไทย), รพ. BNH, รพ.จุฬาลงกรณ์, และ สวนลุมพินี 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น