จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

การเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาด ( ตอนที่ 1 )

การเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาด ( ตอนที่ 1 )




               ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ตลาดหลักทรัพย์กลายเป็นแหล่งลงทุนของนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาเพื่อหวังผลตอบแทนจากการลงทุน  บ้างก็ประสบความสำเร็จ บ้างก็ล้มเหลว  ตามกฏของ Pareto’s Principle  หรือที่นิยมเรียกว่า  80-20  RULE คือมี 80% ที่ล้มเหลว  20% ที่ประสบความสำเร็จ  แต่ใน 20% ที่ว่าประสบความสำเร็จนั้น มีไม่กี่% ที่ได้ผลตอบแทนต่อปีมากกว่า 15%  แบบต่อเนื่อง  การที่ใครสักคนอยากจะเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ  เขาเหล่านั้นควรจะทำอย่างไรบ้าง
               1. ติดตามข่าวสารข้อมูลเศรษฐกิจของโลก ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของประเทศหลักๆ  โดยเฉพาะสหรัฐ  ว่าเป็นอย่างไร  กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง  โดยปกติ ราคาหุ้นกับอัตราดอกเบี้ยจะสวนทางกัน  คือ เมื่อไหร่ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น หุ้นมักจะลง  แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในขาลง หุ้นมักจะขึ้น  เว้นแต่หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ  แล้วเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น  ดอกเบี้ยพึ่งจะเริ่มขึ้น  แบบนี้หุ้นก็อาจจะขึ้นไปได้อีกสักระยะ  จนกว่าดอกเบี้ยขึ้นใกล้จุดสูงสุด  นั่นหมายความว่า  เศรษฐกิจจะเข้าสู่จุดอิ่มตัว  นักลงทุนที่ชาญฉลาดก็จะขายหุ้นออกไปก่อนสัก 6-9 เดือนล่วงหน้า  ซึ่งเราก็จะเห็นถึงแรงขายที่มากกว่าแรงซื้อ  ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นตกลงอย่างรุนแรง ในทำนองกลับกัน  ช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ  อัตราดอกเบี้ยส่วนมากมักจะเป็นขาลง  ในช่วงที่ดอกเบี้ยเริ่มลงใหม่ๆ  ยังไม่ควรรีบซื้อหุ้น  เพราะว่าหุ้นส่วนใหญ่จะทำ New Low ไปสักระยะใหญ่ๆ  จนเมื่อแน่ใจว่าอัตราดอกเบี้ยใกล้จุด Bottom แล้ว  ตัวเลขทางเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงาน  ยอดซื้อสินค้าคงทนที่สูงขึ้น เป็นต้น  เมื่อนั้นก็เป็นจุดที่จะกลับเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นได้แล้ว  โดยปกติอัตราดอกเบี้ยของไทยจะเป็นไปตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ยิ่งถ้าทำตัวเป็นนักลงทุนระยะยาวเข้าสะสมหุ้นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว  แล้วขายเอาช่วงที่เศรษฐกิจใกล้จุด Peak ผลตอบแทนน่าจะได้หลายร้อยเปอร์เซนต์  ถ้าเลือกซื้อหุ้นได้ถูกตัวแล้ว  นี่คือผลตอบแทนที่งดงามจากการทำการบ้านมาเป็นอย่างดี


               2. เมื่อรู้จังหวะเข้า/ออกจากตลาดแล้ว  ต่อไปก็คือการเลือกหุ้นที่จะลงทุน  มีนักลงทุนหลายคนทีเดียวที่ไม่นิยมทำการบ้าน  แต่ใช้วิธีลอกการบ้าน  โดยดูนักลงทุนที่มีชื่อเสียง(CELEBS)  ว่าลงทุนในหุ้นอะไรบ้าง  ยิ่งในปัจจุบัน  สามารถตรวจสอบได้ง่ายโดยเข้า www.set.or.th หรือ Google ค้นหาข้อมูล ว่า CELEBS เหล่านั้นลงทุนหุ้นตัวไหนอยู่ แล้วก็ลงทุนตาม โดยที่ไม่ศึกษาดูปัจจัยพื้นฐานดูก่อน เพราะว่าบางครั้ง CELEBS ก็มีโอกาสที่จะตัดสินใจลงทุนที่ผิดพลาดได้เช่นกัน แต่เมื่อ CELEB คนนั้นขายหุ้นนั้นๆไปแล้ว เมื่อพบว่าลงทุนผิดพลาดไป แต่กว่านักลงทุนที่ติดตาม CELEBS นั้นจะทราบก็ต่อเมื่อ มีการ UPDATE  การถือหุ้น  บางครั้งผ่านไปกว่า 1 ปีจึงจะทราบ เพราะว่าบริษัทส่วนใหญ่จะ update รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ใน www.set.or.th ปีละครั้ง  ราคาหุ้นอาจจะตกลงไปมากแล้วก็ได้  หรือบางครั้ง CELEBS คนนั้นอาจจะขายแค่บางส่วน  อย่างเช่นเดิมมีหุ้น xyz  อยู่ 200 ล้านหุ้น แล้วขายออกไป 60 ล้านหุ้น  เหลือเพียง 140 ล้านหุ้น  แต่รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ที่จะโชว์ในเวบไซด์ของตลาดหลักทรัพย์จะโชว์เพียงผู้ถือหุ้นที่ถือตั้งแต่ 0.5% ของทุนจดทะเบียนของบริษัทนั้นๆ และเมื่อคำนวนแล้ว  จะต้องถือ 150 ล้านหุ้น  ดังนั้นจึงไม่มีชื่อเขาอยู่  ทำให้นักลงทุนรายย่อยที่ตามๆเขาอยู่ไปลือกันว่า  CELEBS ขายหุ้นทิ้งแล้ว  ทั้งๆที่ CELEB รายนั้นยังถือหุ้นอยู่ 140 ล้านหุ้น แต่ที่ขายออกไปอาจเป็นเพราะว่า

                              ก. ต้องการลดพอร์ตการลงทุน  เนื่องจากมองว่าตลาดหุ้นใกล้จะเข้าสู่ขาลง  จึงลดพอร์ตโดย ขายหุ้นทุกตัวเพียงบางส่วนเพื่อที่จะเก็บสภาพคล่องไว้ซื้อหุ้นตอนช่วงที่ตลาดตกลงมาแล้ว  อาจจะเป็นตัวเดิมหรือตัวอื่น แล้วแต่ราคาและสภาวะตลาดตอนนั้น

                              ข. มีความจำเป็นต้องใช้เงินด้วยเหตุผลบางอย่าง

                              ค. เปลี่ยนแปลงแนวทางการลงทุน  จากที่เคยลงทุนเน้นหนักเพียง 4-5 ตัวกลายเป็นกระจายการ       ลงทุนเป็น 8-10 ตัว นั่นหมายถึง  การที่จะขายหุ้นที่ถืออยู่เดิมออกไปบางส่วน  เพื่อที่จะได้มีเงินเพื่อซื้อหุ้นตัวใหม่ๆ

                              ง. เจอหุ้นที่น่าสนใจมากกว่า  ทั้งๆที่หุ้นตัวเดิมอาจจะมีพื้นฐานเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง  แต่มีหุ้นตัว อื่นที่เฝ้าติดตามมานานมีราคาลดลงจนมี VALUATION ที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบหุ้นตัวอื่นในพอร์ต

               ดังนั้นเพื่อเลี่ยงที่จะผิดพลาดจากการลงทุน  ควรจะยึดหลัก อัตตา หิ อัตตโน นาโถหรือ  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนจะดีที่สุด หรือมิฉะนั้นก็ใช้วิธีลอกการบ้านแบบชาญฉลาดคือ  เมื่อทราบแล้วว่า CELEBS ที่ท่านติดตามอยู่ ลงทุนในหุ้นตัวไหน  ก็ไปศึกษาทำการบ้านต่อว่าปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ มันดีจริงไหม  ถ้าดีจริงค่อยเข้าไปลงทุน  ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว  เมื่อลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนที่ดี  ก็เป็นอะไรที่ท่านจะภูมิใจ  หรือลงทุนแล้วผิดพลาด ก็จะไปโทษใครไม่ได้  เนื่องจากตัวท่านได้ศึกษาวิเคราะห์ด้วยตัวเองอย่างดีแล้ว

              
               มาดูว่าวิธีการเลือกหุ้นของผม ผมทำอย่างไรบ้าง  ก่อนอื่นผมไม่ได้เป็นนักลงทุนแบบ VI เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์  เพราะว่าการลงทุนของผมมีการผสมผสานระหว่างการใช้วิเคราะห์แบบปัจจัยพื้นฐาน ( Fundamental Analysis ) ซึ่งนักลงทุน VI ทั้งหลายจัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน  และการใช้การวิเคราะห์แบบเทคนิค ( Technical Analysis )  หรือการใช้กราฟเป็นเครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์  Timing ของการซื้อหรือขายหุ้นที่สนใจเหล่านี้  ซึ่งผมนิยามตัวผมเองว่าเป็นนักลงทุนแบบ SVI ( Strategies Value Investor ) ไม่ใช่ใบ้หุ้น SVI นะครับ เดี๋ยวเข้าใจผิด  แต่เห็นเด็กรุ่นนี้เขาเรียกนักลงทุนประเภทนี้ว่า Hybrid Investor  จะเรียกชื่ออะไรก็เอาเหอะ  สำคัญจริงๆอยู่ที่แนวทางวิธีการวิเคราะห์ของนักลงทุนแต่ละท่าน  

              โดยการเลือกหุ้นที่จะลงทุนของผมส่วนใหญ่ จะเริ่มจากการ วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก่อน  เมื่อเลือกได้แล้ว ค่อยเอาการวิเคราะห์ทางเทคนิค  โดยใช้กราฟมาดูว่า ณ ราคาตลาดในช่วงนั้นๆ มีความเหมาะสมอย่างไร  สมมติว่า ผมคัดหุ้นออกมาได้ตัวหนึ่ง  โดยมีราคาเหมาะสมที่ 10 บาท  แต่ปัจจุบันราคาตลาดอยู่ที่ 7 บาท  ถ้าเป็นนักลงทุนแบบ VI บางท่านอาจจะเข้าซื้อทีเดียวเลย  เพราะเห็นว่ามีส่วนต่างจากราคาที่เหมาะสมถึง 3 บาท  หรือ 30%  แล้ว  แต่ผมต้องขอดูกราฟประกอบการตัดสินใจเสียก่อน  ถ้ากราฟแสดงให้เห็นแล้วว่า  หุ้นตัวนี้ยังอยู่ในขาลง แล้วยังมีโอกาสลงต่อได้อีก  ผมก็จะไม่รีบร้อนที่จะซื้อ  หรืออาจจะแหย่เข้าไปนิดหน่อย  แล้วค่อยๆทยอยรับซื้อเรื่อยๆในช่วงที่หุ้นมีราคาลดลง  แล้วก็ติดตามดูกราฟประกอบไปเรื่อยๆ  ว่าแนวรับที่แข็งแกร่งของหุ้นตัวนี้อยู่ที่เท่าไหร่  

              สมมติว่า ดูกราฟแล้ว ราคาที่ 6.30 บาท เป็นแนวรับที่แข็งแกร่งมาก  ผมอาจจะเทหมดหน้าตัก ซื้อตรงแถวๆ 6.30-6.50 บาทเลยทีเดียว  แต่ถ้าผมมองว่าภาวะตลาดหุ้นโดยรวมยังอยู่ในขาลง และ ยังมีโอกาสลงไปได้อีกมาทีเดียว  ผมก็อาจจะซื้อไม่หมด 100% ของจำนวนที่ตั้งใจจะซื้อ  และก็อาจจะไม่ได้เริ่มซื้อตั้งแต่ช่วงที่หุ้นตัวนี้อยู่ที่ 7 บาทเสียด้วยซ้ำ  ผมอาจจะเริ่มมารับซื้อในช่วงราคา 6.30-6.50  เพียง 30-50 % ของจำนวนหุ้นที่ตั้งใจจะซื้อเท่านั้น  เพราะว่าช่วงตลาดขาลงหุ้นดีหรือหุ้นเลวจะลงกันหมดทุกตัว  แต่หุ้นดีๆอาจะลงน้อยหน่อย  ขณะที่หุ้นเลวๆ อาจจะลงมากหน่อย  แล้วเก็บ 50-70% ของเงินที่เหลือไว้ทยอยรับ ช่วงที่หุ้นดังกล่าวลงมาอีก  เพราะว่าจากประสบการณ์การลงทุนกว่า 20 ปีของผม บอกว่าหุ้นที่ว่าถูกแล้วจะมีถูกกว่า แนวรับที่แข็งแกร่งพร้อมจะทะลุลงต่อได้อีก  ดังนั้นจึงมีสุภาษิต 2 บทที่ผมเขียนตัวใหญ่ๆเตือนใจไว้ ที่บอร์ดหน้าโต๊ะทำงานของผมว่า น้ำเชี่ยว  อย่าเอาเรือไปขวาง”  และอย่าไปรับมีดที่กำลังตกลงมา ให้ทำตัวเป็นมูลนิธิ ปอเต็กตึ้ง  หรือ มูลนิธิร่วมกตัญญู  คือคอยเก็บศพลูกเดียว  หมายถึงเวลาที่นักลงทุนในตลาดบาดเจ็บสาหัส แล้วก็เป็นช่วงที่เหยี่ยวตัวนี้จะถลาลม  จ้องจิกเหยื่อเบื้องล่าง



              แต่การที่คุณจะมีสภาพคล่องเหลือใช้ในช่วงนั้นหรือเปล่า  ก็อยู่กับวิธีการลงทุนและประสบการณ์ในการลงทุนด้วย  เพราะว่า ถ้าคุณมีสภาพคล่องเหลือน้อย หรือไม่มีเลย  เพราะว่าคุณเป็นนักลงทุนสไตล์ลงทุน 100% ตลอดเวลา  เวลาตลาดหุ้นขาลง  คุณก็จะไม่มีกระสุนเหลืออยู่เลย  ลองคิดดูสิครับ  ช่วงที่ SET INDEX อยู่ที่ 924.70  ในเดือนพฤศจิกายน 2550  แล้วไหลลงมาตลอดจนไปต่ำสุดที่ 380.05 จุด เมื่อเดือน พฤศจิกายนเช่นกัน แต่เป็นปี 2551 แค่เพียงปีเดียว ตลาดหุ้นไทยตกลงถึง 544.65 จุด หรือคิดเป็น 58.90% เลยทีเดียว  ลงแบบอำมหิตจริงๆ  เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วง Hamburger Crisis เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจที่สหรัฐอเมริกา  แล้วลามไปทั่วโลก  

              ถ้าช่วงนั้นมีสภาพคล่องเหลืออยู่มาก คงมีความสุขมากเหมือน ที่ท่าน Warren Buffet ปรมาจารย์ของเหล่า VI  ที่บอกว่า เหมือนกับได้ไปเต้นรำในงานรื่นเริงอะไรทำนองนั้น  แต่ถ้าช่วงนั้นท่านไม่มีสภาพคล่องเหลือยู่เลย  เพราะลงทุน 100% ตลอดเวลา หรือมีสภาพคล่องเหลือน้อย ท่านก็จะมีเงินที่จะไปช้อนซื้อหุ้นดีๆ ที่ตกลงตามสภาวะตลาดช่วงนั้นได้ไม่มาก  การบริหารสภาพคล่องและการกำหนดสัดส่วนสภาพคล่องในภาวการณ์ต่างๆ เป็นอะไรที่แนะนำกันยากจริงๆ  เพราะว่าต้องใช้ศาสตร์ และศิลป์ รวมทั้งประสบการณ์การลงทุนยาวนาน  มาบริหารจัดการ ตัวผมเองถึงแม้จะมีประสบการณ์การลงทุนมายาวนาน  ในบางวิกฤติ ผมก็มีสภาพคล่องเหลือไม่มากเช่นกัน ในช่วงตลาดลงมาใกล้ Bottom นี่แหละครับ สอดคล้องกับคำพังเพยที่ว่า กิ้งกือเดินตกท่อ” 

          การกำหนดสัดส่วนสภาพคล่อง และการบริหารสภาพคล่องดังกล่าวอย่างไร  ในช่วงตลาดหุ้นเป็นขาลง ตกหนักๆ แล้วไม่มีสภาพคล่องเหลืออยู่ จะทำอย่างไรดี  ปกติผมจะใช้กลยุทธ Switching คือ สลับเปลี่ยนหุ้น  โดยปกติถึงแม้ตลาดหุ้นขาลง  ไม่ได้หมายความว่า หุ้นทุกตัวจะลงสัดส่วนเท่ากัน  และบางช่วงเวลา หุ้นบางตัวกลับมีราคาขึ้นมาได้  ในขณะที่หุ้นหลายๆตัวมีราคาปรับตัวลง  ดังนั้นผมจึงฉวยจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการ Switch หุ้น  ช่วงเวลาดังกล่าวคือช่วงที่หุ้นที่ผมสนใจลงทุนอยู่  มีราคาลงมาถึงจุดที่เหมาะสม คือ มีราคาถูกกว่าปัจจัยพื้นฐานมากๆ  หรือที่ชาว VI ชอบใช้กันว่า มี Margin of safety สูงๆ  ผมก็จะเปรียบเทียบหุ้นในพอร์ตของผมที่ถือยู่ว่า ถ้าหุ้นบางตัวในพอร์ตผม ณ ตอนนั้นมี Margin of safety ที่น้อยกว่าหุ้นที่ผมสนใจอีกตัวในตลาด  ผมก็จะไม่ลังเลเลยที่จะขายหุ้นบางตัวที่ถืออยู่ในพอร์ต  แล้วเอาเงินที่ได้จากการขายหุ้น กลับเข้าไปซื้อหุ้นที่เล็งเอาไว้ทันที  การ Switch แบบนี้ถ้าผมวิเคราะห์และตัดสินใจถูกต้อง  ผลลัพธ์ควรจะออกมาในรูปแบบที่ว่าหุ้นตัวที่ผมขายออกไปจะลงต่อในเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่าหุ้นที่ผมซื้อเข้ามา  และเมื่อตลาดหุ้นกลับมาเป็นขาขึ้น  หุ้นบางตัวที่ซื้อมาใหม่ควรจะมีการดีดตัวของราคาในระยะยาว เป็นสัดส่วนที่มากกว่าตัวที่ขายไป  

             ดังนั้นเท่ากับว่าเป็นการลดการขาดทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นยังเป็นขาลงอยู่  และเป็นการสร้างกำไรที่มากกว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นฟื้นตัว เปลี่ยนจากขาลงกลับเป็นขาขึ้น  ผลกำไรที่ได้จะมากกว่าค่าขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้น กรณีขายหุ้นตัวเก่าไป แต่อย่าลืมนะครับ การดำรงสภาพคล่องที่มากเกินไป ทำให้ช่วงตลาดหุ้นขาขึ้นท่านก็อาจจะสร้างกำไรได้ไม่มากเท่าที่ควร  เนื่องจากการดำรงสภาพคล่องดังกล่าว ทำให้ท่านมีเงินที่จะนำไปลงทุนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น  ผมถึงบอกว่า  การกำหนดขนาดของสภาพคล่องเป็นเรื่องที่ยากจริงๆ  แต่ยากเพียงไหนก็ยังพอมีวิธีจัดการอยู่บ้าง  แต่วิธีที่ผมจะกล่าวถึงต่อไปนี้ อาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนของท่านอยู่บ้างเช่นกัน  กล่าวคือ การเปิดบัญชี Margin หรือ ศัพท์ทางการเรียกบัญชีประเภทนี้ว่า บัญชี Credit Balance 

              โดยปกติผมจะไม่ค่อยแนะนำนักลงทุนให้เปิดบัญชีประเภทนี้ เพราะมีความเสี่ยง  โดยเฉพาะตลาดหุ้นขาลง  เนื่องจากบัญชีประเภทที่มีการให้สินเชื่อจากโบรคเกอร์ โดยเราจะต้องนำเงินไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันตอนเปิดบัญชี  แล้วเราก็สามารถที่จะซื้อหรือขายหุ้นโดยใช้สินเชื่อจากโบรคเกอร์กรณีที่เราซื้อเกินหลักประกันที่เราฝากไว้ จะซื้อได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า หุ้นที่เราสนใจซื้อ ทางโบรคเกอร์ที่เราเป็นลูกค้าอยู่ปล่อยกู้ให้ที่อัตรา Margin เท่าไหร่ มีตั้งแต่ 50 %  60%  70%  80% จนถึง 100% และไม่สามารถซื้อได้ในบัญชี Margin ซึ่งหุ้นที่ห้ามซื้อส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่มีลักษณะความเสี่ยงสูงมากๆ หรือ สภาพคล่องในการซื้อขายน้อยมากๆ  หรือเป็นหุ้นที่ติดบัญชี Cash Balance คือ ต้องซื้อในบัญชีเงินสดเท่านั้น เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ให้

1. Margin 50% นั่นหมายความว่า ท่านต้องใช้หลักประกัน 50 % โบรคเกอร์ที่ท่านกู้ 50%
2. Margin 60% นั่นหมายความว่า ท่านต้องใช้หลักประกัน 60 % โบรคเกอร์ที่ท่านกู้ 40%
3. Margin 70% นั่นหมายความว่า ท่านต้องใช้หลักประกัน 70 % โบรคเกอร์ที่ท่านกู้ 30%
4. Margin 80% นั่นหมายความว่า ท่านต้องใช้หลักประกัน 80 % โบรคเกอร์ที่ท่านกู้ 20%
5. Margin 100% นั่นหมายความว่า ท่านต้องใช้หลักประกัน 100 % โบรคเกอร์ไม่ให้ท่านกู้ และไม่ได้ห้ามท่านในบัญชี Margin  
               ข้อสังเกตที่ผมได้พบคือ ไม่เคยเห็นหุ้นที่ เป็น Margin 90 % เลย ทางโบรคเกอร์คงเห็นว่า ไม่ค่อยแตกต่างกัน เพราะว่ามี 80% และ 100% แล้ว ถ้ามีโบรคเกอร์ก็ปล่อยกู้แค่ 10% เท่านั้นโดยที่นักลงทุนต้องใช้หลักประกันถึง 90%



               ในบัญชี Margin ทุก เดือน ทางโบรคเกอร์ก็จะมีการคำนวณดอกเบี้ยจ่าย กรณีที่เราใช้เงินกู้รวมยอดตอนสิ้นเดือน  ส่วนวันไหนที่เราไม่ได้ใช้เงินกู้แต่ก็ยังมีหลักประกันเหลืออยู่ ทางโบรคเกอร์ก็จะให้ดอกเบี้ยเรา คล้ายๆกับเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก  โดยอัตราดอกเบี้ยวเงินฝากนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1.50-1.75 % และดอกเบี้ยเงินกู้จะอยู่ในช่วง 5%กว่า จนถึง เกือบ 10 %  ขึ้นอยู่กับปริมาณซื้อขายของเราในแต่ละเดือน เมื่อเทียบกับขนาดพอร์ตการลงทุน  โดยสัดส่วนปริมาณซื้อขายมากที่มากก็จะได้อัตราดอกเบี้ยกู้ที่ต่ำกว่าพอร์ตที่มีการซื้อขายน้อย  อย่างไรก็ตามยังขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโบรคเกอร์ด้วยครับ  


กิติชัย เตชะงามเลิศ

    9/9/61

ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยกรอกอีเมลของท่าน ในช่องใต้ Follow by Email ทางด้านขวามือ เมื่อมีบทความใหม่ๆ ก็จะมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆกันนะครับ


ลงทุนอะไรดีในช่วงดอกเบี้ยเงินฝาก 1.5 เปอร์เซ็นต์ (ตอนที่ 18)


ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่


      หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"   
              2.วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส

TC Green พระราม 9  ยูนิตที่สวยที่สุด ทั้งวิวสวนและการตกแต่ง ขายและให้เช่า


      ห้องที่จะขายพร้อมผู้เช่า 1 นอน 1 น้ำ 37.97 ตารางเมตร ฝ้าเพดานสูง 2.7 เมตร ไม่ติดลิฟท์ เป็นมุมที่สวยที่สุดของตึก D วิวสวนและคลองสวยมาก ไม่โดนบล็อควิว เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าครบครัน ตกแต่งสวยมาก มี ผ้าม่าน 2 ชั้น เตาไฟฟ้า เครื่องดูดควัน แอร์ 2 ตัว ตู้เย็น เครื่องซักผ้าฝาหน้า Digital TV 40 นิ้ว เครื่องทำน้ำร้อน และ Microwave ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ ราคา 3,300,000 บาท และให้เช่า ค่าเช่า 16,000 บาท/เดือน





สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอทั้งหมดของ TC Green พระราม 9  ได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/emat3nvre55qiy6/AADkaFSXO9scXpwFElDTBw_va?dl=0


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น