จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร

จาก1ล้านเป็น500ล้านผมทำอย่างไร
เล่าประสบการณ์การลงทุนของผมที่นำไปใช้ได้ง่ายๆ

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Co-Working Space และ Co-Living Space (ตอนที่ 1)


                      Co-Working Space และ Co-Living Space (ตอนที่ 1)


           หลายปีที่ผ่านมาเราได้ยินคำว่า Co-Working Space อยู่บ่อยๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ให้บริการกับผู้ที่ต้องการเช่าใช้พื้นที่สำนักงานเล็กๆในใจกลางเมือง ที่ไม่สามารถที่จะสู้ค่าเช่าสำหรับพื้นที่สำนักงานในใจกลางเมืองที่แสนแพงได้ โดย  Co-Working Space เริ่มต้นเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2548 ส่วนมากจะเป็นผู้ที่ทำงานฟรีแลนซ์ หรือ นักวิชาชีพที่ทำงานคนเดียว โดยเฉพาะกลุ่ม Digital Nomad และ Startup ทั้งหลาย  ซึ่งสามารถจะทำงานที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ ขอเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตให้ใช้เท่านั้น ซึ่งความต้องการเช่าเหล่านี้ อาจจะเป็นความต้องการเช่าในระยะสั้นและหรือระยะยาวก็ตาม โดย ผู้เล่นรายใหญ่ใน Asia ก็คือ Naked Hub ซึ่งมีฐานใหญ่อยู่ที่เมือง Shanghai และ URWork ซึ่งมีฐานใหญ่อยู่ที่เมือง Beijing

         จริงๆแล้วความต้องการเหล่านี้มีมาอยู่ตั้งนานแล้ว แต่เพิ่งจะทำเป็นเรื่องเป็นราวก็ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี่เอง แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลก เราจะเห็นได้ว่าในเมืองใหญ่ๆล้วนแล้วแต่มี Co-Working Space ผุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก  ซึ่งแน่นอนต้องมีกรุงเทพเป็นหนึ่งในเมืองที่มี Co-Working Space อยู่ด้วย โดยรายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากหน่อยเช่น Hubba เพราะว่าเป็นรายแรกที่ทำธุรกิจนี้ในเมืองไทย เป็นต้น  ปัจจุบันทั้งร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่และร้านกาแฟหลายแห่ง ก็ได้จัดแบ่งพื้นที่ภายในร้านหรือชั้นบนของร้านมาทำเป็น Co-Working Space ด้วยเช่นกัน โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายวันหรือรายเดือน ปัจจุบันนี้มีการคิดค่าใช้จ่ายแบบครึ่งวันก็มีแล้วในหลายแห่ง  โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตกวันละประมาณ 300 บาท

          การที่ Co-working Space เป็นที่นิยม ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่ผู้คนเหล่านั้นไม่ต้องการบรรยากาศที่ต้องมานั่งทำงานคนเดียว โดยเฉพาะคนที่มาจากต่างถิ่น แล้วย้ายเข้ามาทำงานอยู่ในเมืองใหญ่ อาจจะไม่ค่อยมีเพื่อนหรือญาติพี่น้อง เนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม ดังนั้น Co-working Space สามารถที่จะตอบโจทย์นี้ได้ ทำให้ผู้ที่มาใช้บริการได้มีโอกาสพบปะผู้ที่มาใช้บริการคนอื่นๆด้วย จึงมีโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรืออาจจะถึงขั้นส่งเสริมและ Barter ธุรกิจซึ่งกันและกันได้

         ถัดมาไม่กี่ปีที่ผ่านมา  เราเริ่มได้ยินคำว่า Co-Living Space หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Co-Housing ซึ่งเป็นการดัดแปลงมาจาก Co-Working Space โดยใช้ Concept เดียวกัน  เทรนด์ที่อยู่อาศัยแบบนี้เริ่มกำลังเป็นที่นิยมโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา WeWork ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่ทำธุรกิจ Co-Working Space ก็ได้หันมาจับธุรกิจ Co-Living Space เช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า WeLive  ก็ได้ผลตอบรับที่ดี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ โดย Co-Living Space เป็นที่อยู่อาศัยขนาดเล็กคล้ายๆกับห้องสตูดิโอ เพียงแต่ว่าไม่มีส่วนที่เป็นครัว หรือห้องรับประทานอาหาร และห้องรับแขก โดยส่วนใหญ่จะมีห้องน้ำในตัว หรือถ้ากรณีที่ไม่มีห้องน้ำในตัว ก็จะมีห้องน้ำในพื้นที่ส่วนกลาง โดยเจ้าของธุรกิจก็จะมีการเตรียมพวกสบู่ ยาสระผมไว้ให้ตลอดเวลา โดยแยก ห้องดูทีวี ห้องออกกำลังกาย ห้องครัว พื้นที่รับประทานอาหาร ตลอดไปจนถึงห้องอ่านหนังสือ หรือห้องสมุด มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางให้ใช้ร่วมกัน โดยเจ้าของธุรกิจ Co-Living Space จะเป็นผู้ตระเตรียมพวกสบู่ น้ำยาล้างจาน ฯลฯ เอาไว้ให้ผู้ที่อาศัยอยู่ได้ใช้ร่วมกัน 

         จริงๆแล้วดูไปธุรกิจนี้ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับธุรกิจ Hostel แต่ว่าจับลูกค้าต่างประเภทกัน โดย Hostel จะจับกลุ่มนักท่องเที่ยวระยะสั้น ส่วนธุรกิจ Co-Living Space จะเจาะกลุ่มที่พักระยะยาว Co-Living Space ที่ดูดีหน่อย ก็อาจจะมีสระว่ายน้ำ ฟิตเนส ห้องโยคะ ฯลฯ เอาไว้ให้บริการกับผู้ที่อยู่อาศัย  รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมให้ผู้ที่อยู่อาศัย ได้มีโอกาสได้พบปะกัน ไม่ว่าจะเป็นปาร์ตี้ หรือกิจกรรม DIY การออกกำลังกาย การฝึกโยคะ เป็นต้น

         คนส่วนใหญ่มักจะมองว่า Co-Living Space ทำขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคน Gen Y  ซึ่งเลือกที่จะใช้การเช่าแทนที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ โดยคนกลุ่มนี้นิยมที่จะใช้ Uber แทนที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ หรือใช้บริการ Airbnb ในการไปพักอาศัยเวลาท่องเที่ยว หรือเป็นสมาชิก Netflix แทนที่จะไปซื้อแผ่น DVD มาดู  ในทำนองเดียวกันสำหรับที่อยู่อาศัยประเภทที่กำลังมาแรงของคนกลุ่มนี้ก็คือ Co-Living Space ซึ่งเข้ากับนิสัยของคนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี คือการได้ชอบพบปะผู้คน  นอกจากนั้นธุรกิจ Co-Living Space ยังให้บริการคล้ายๆกับ Service Apartment คือมีการให้บริการซักอบรีดให้ด้วย แต่ให้บริการและมีความถี่ที่น้อยกว่า Service Apartment โดยส่วนใหญ่จะให้บริการเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายไปสำหรับการเข้าไปอยู่ใน Co-Living Space เมื่อเทียบกับการเช่าอาศัยแบบเดิมๆใน Apartment Service Apartment หรือคอนโดที่เจ้าของปล่อยเช่า  เมื่อเทียบบริการและสิ่งที่ได้รับ ทำให้กลุ่ม Gen Y ส่วนหนึ่งยินดีที่จะเลือกที่จะใช้บริการ Co-Living Space



      บทความหน้าเรามาดูกันครับว่า นอกจากกลุ่ม Gen Y ที่สนใจใช้บริการ Co-Living Space แล้ว ยังมีคนกลุ่มไหนอีกที่กำลังมาแรงสำหรับธุรกิจนี้ และธุรกิจอื่นๆที่อาจจะได้ผลกระทบจาก Trend การอยู่อาศัยแบบนี้



กิติชัย เตชะงามเลิศ




    22/6/61



          ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยเอาเม้าส์ไปทางด้านขวามือจะมีแถบแสดงออกมา แล้วเลือกคลิกไอคอนที่เขียนว่าสมัครรับข้อมูล เมื่อผมมีบทความใหม่ ท่านก็จะทราบทันที

ถ้าท่านชอบบทความผม ท่านสามารถสมัครสมาชิกโดยกรอกอีเมลของท่าน ในช่องใต้ Follow by Email ทางด้านขวามือ เมื่อมีบทความใหม่ๆ ก็จะมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ท่านทราบ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดีๆกันนะครับ



ติดตามสาระดีๆทั้งไลฟ์สไตล์และการลงทุนได้ที่


      หรือ 1.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ทุกวันพุธหน้า B6 ในคอลัมน์ "เขียนอย่างที่คิด"   
              2.วารสารเภตรา ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ จุลสารเตชะสาร ของสมาคมเตชะสัมพันธ์ ทุกไตรมาส






ห้องที่จะขายดาวน์(เข้าอยู่ได้เลย)

     ห้อง 2 นอน 1 น้ำ  43.5 ตารางเมตร ไม่ติดลิฟท์และห้องขยะ ไม่โดนบล็อควิว เฟอร์นิเจอร์ครบครัน ตกแต่งสวยมาก ราคา 7,000,000 บาท ดู VDO ที่  https://youtu.be/MFkfks7Q3XM
                https://youtu.be/71DIiM0m4tM

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอทั้งหมดของ อัลทีจูด ดีไฟน์ สามย่าน(Altitude Define Samyan) ได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/yydb77yvmhk1926/AAAOykYkVdsXAVOanCti6x0aa?dl=0

          อาคารชุด 8 ชั้น และชั้นใต้ดิน ลึก 3 ระดับ 59 ห้องชุด ที่จอดรถ  59 คัน คิดเป็น 100 % บนที่ดิน 218 ตารางวา

พื้นที่ส่วนกลาง : สระว่ายน้ำ สวนสาธารณะ ห้องสมุด ซาวน่า และ สปอร์ตคลับ / ฟิตเนส


Altitude Define Samyan, 2 best units(2B1B & 1B1B), only 200 mfrom MRT-Samyan and 600 mfrom BTS-Saladang.



Down payment sales:

        Unit 2B1B, 43.5 SQM., fully furnished with well decoration, only 7,000,000.
                         https://youtu.be/71DIiM0m4tM

There r only 59 units with 100% car park. Expected ready to move in now.

U can download all of Altitude Define Samyans photo & VDO from https://www.dropbox.com/sh/yydb77yvmhk1926/AAAOykYkVdsXAVOanCti6x0aa?dl=0
หรือ https://photos.app.goo.gl/S9Xu3oX6YJj13f4i9






 


                                             จะเป็น Thailand 4.หรือ 0.4





                   การที่ประเทศไทยจะเป็น 4.0 ได้ ก็คงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ลำพังถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สนับสนุนซึ่งกันและกัน โอกาสที่จะเกิดขึ้นคงเป็นไปได้ยาก  เมื่อเร็วๆนี้เพิ่งมีข่าวเกี่ยวกับที่วินมอเตอร์ไซค์พร้อมใจกันไปบุกสำนักงานของ GRAB  ดูแล้วเหมือนกลุ่มมาเฟียของเจ้าพ่อดีๆนี่เอง ผมก็แปลกใจว่าทำไมตำรวจถึงปล่อยให้มีการกระทำที่ผิดกฎหมายแบบนั้นได้  ซึ่งดูแล้วน่าจะมีตัวบงการอยู่ข้างบน มิฉะนั้นการที่จะรวมกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์หลากหลายวิน มาพร้อมกันคงไม่ใช่เรื่องง่าย

                  กลับมาที่การให้บริการของ GRAB  ซึ่งให้บริการในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น  รับส่งคนหรือสิ่งของ ผ่านทางมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลและวินมอเตอร์ไซค์ รถเก๋ง หรือ  รถแท็กซี่ ในรูปแบบแอปพลิเคชั่น ซึ่งก่อนหน้านี้มี UBER เป็นคู่แข่งหลัก  ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ได้มีการควบรวมกิจการระหว่าง GRAB ในประเทศไทยและ UBER ในประเทศไทย โดย UBER ขายกิจการส่วนที่ให้บริการในประเทศไทยให้กับ GRAB เพื่อแลกกับหุ้นบางส่วนของ GRAB ในลักษณะรูปแบบเดียวกับที่ UBER ขายกิจการส่วนที่ให้บริการในประเทศจีนให้กับ Didi Chuxing เพื่อแลกกับหุ้นบางส่วนของ Didi Chuxing ที่ประเทศจีน ซึ่งเป็นดีลที่วินวินด้วยกันทั้งคู่
                   เมื่อ 2 ปีที่ ดีลระหว่าง 2 บริษัทนี้ ทำให้มูลค่ากิจการของบริษัท 
Didi Chuxing ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้เพิ่งเพิ่มทุนไป จากเดิมมีมูลค่ากิจการ 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา(896,000 ล้านบาท) หลังจากที่ UBER ขายกิจการโดยแลกกับหุ้น 20% ของบริษัท Didi Chuxing ทำให้มูลค่าของบริษัท Didi Chuxing เพิ่มขึ้นเป็น 36,000ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา(1.152 ล้านล้านบาท) ซึ่งทำให้ UBER กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Didi Chuxing และบริษัท Didi Chuxing ก็จะลงทุนกลับไปใน UBER คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐเช่นกัน เมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศไทยเมื่อ 2ปีที่แล้ว ที่มีมูลค่าเท่ากับ 406,840 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา(13.02 ล้านล้านบาท) แทบไม่น่าเชื่อเลยนะครับว่า แค่ธุรกิจแอพเรียกรถของประเทศจีนเพียงแอพเดียว จะมีมูลค่ากิจการคิดเป็น 9 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ประเทศไทยเลยทีเดียว กลยุทธ์ของUBER ที่ใช้ในประเทศจีนและประเทศไทย เข้าตามตำราที่ว่า "เมื่อรบชนะไม่ได้ ก็เข้าไปเป็นพวก"

                    เราลองมาดูประวัติของบริษัท Didi Chuxing  กันนะครับ ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อบริษัทว่า Didi Kuaidi ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชาวจีนใช้บริการอยู่ถึง 450 ล้านคน ในมากกว่า 400 เมืองทั่วประเทศจีน โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองปักกิ่ง โดยให้บริการคล้ายๆกับ GRAB ปัจจุบันมีพนักงานอยู่ถึงประมาณ 9,000 คนซึ่ง 40% เป็นสตรี บริษัทนี้เกิดจากการควบรวมกิจการของบริษัท Didi Dache กับบริษัท Kuaidi Dache ซึ่งต่างก็เป็นให้ผู้บริการในการแอพเรียกรถที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ในประเทศจีน และได้รับการสนับสนุนร่วมลงทุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทางอินเตอร์เน็ตของจีน คือบริษัท TENCENT และ ALIBABA ตามลำดับ หลังจากที่ UBER ได้เข้ามาแข่งขันในตลาดประเทศจีน ทำให้ บริษัทนี้ตกลงที่จะควบรวมกิจการกัน เพื่อจะสู้รบปรบมือกับ UBER ซึ่งตอนนั้นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมนี้ได้รับการสนับสนุนทางด้านการลงทุนจาก Tencent Alibaba และ Baidu ต่อมาเดือนธันวาคมเมื่อปี 2560 บริษัท Didi Chuxing ได้มีการระดมทุนอีกรอบทำให้การเป็นบริษัท startup ที่มีมูลค่ามากที่สุดบริษัทหนึ่งของโลก คือมีมูลค่าถึง 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา(1.792 ล้านล้านบาท)  ซึ่งการระดมทุนครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนทั่วโลกมากกว่า 100 ราย

                     เหตุการณ์ป่าเถื่อนที่วินมอเตอร์ไซค์บุกล้อมบริษัท GRAB เมื่อเร็วๆนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก แล้ว Start Up ดีๆที่ไหนอยากจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย  ผมเข้าใจว่าธุรกิจ GRAB ที่ให้บริการอยู่นี้ ยังนับว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายของไทย ซึ่งเป็นกฎหมายที่เขียนไว้มานานแล้ว ผมเห็นว่าทั้งรัฐเองและฝ่าย GRAB เองควรจะต้องปรึกษาหารือกัน เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ถูกกฎหมายโดย  จุดอ่อนของ GRAB ก็คือการที่รถที่มาให้บริการ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นรถสาธารณะ และผู้ขับขี่รถดังกล่าวก็ไม่ได้สอบใบขับขี่สาธารณะ  ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างว่าเป็นการให้บริการที่ผิดกฎหมาย ทั้งจากฝ่ายวินมอเตอร์ไซค์ รถแท็กซี่ และฝ่ายรัฐเอง  ทาง GRAB ควรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆในการจดทะเบียนรถที่นำมาใช้ให้บริการในระบบของตน เป็นรถสาธารณะ และให้ผู้ขับขี่รถดังกล่าวไปสอบใบขับขี่สาธารณะให้เรียบร้อย และยิ่งดีถ้าจะให้อินเซนทีฟกับเจ้าของรถดังกล่าว ฝ่ายรัฐเองก็จะต้องอำนวยความสะดวกให้เจ้าของรถ ที่นำรถดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นรถสาธารณะ และผู้ขับขี่ที่มาสอบใบขับขี่สาธารณะเป็นการเร่งด่วน โดยรัฐอาจจะขีดเส้นตายว่าจะต้องมาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลา 3 หรือ 4 เดือน ช่วงนี้ก็อาจจะอนุโลม GRAB ให้บริการกับประชาชนไปก่อน

                  รัฐอย่าปล่อยให้คนไทยต้องทนกับการเรียกแท็กซี่แล้วแท็กซี่ไม่ยอมไป หรือโดนโขกราคาจากวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยเสียภาษีเงินได้ให้กับรัฐเลย  ในขณะที่เอาเปรียบสังคมโดยการจอดรถไว้ข้างถนน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รถติด  ในขณะที่ผู้ขับขี่ในระบบของ GRAB เมื่อได้รับรายได้จาก GRAB ก็จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วยังต้องมีหน้าที่นำรายได้ดังกล่าวไปรวมกับรายได้อื่นๆที่เป็นรายได้หลัก ในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลประจำปี  ผมจะรอดูว่าเราจะเป็น Thailand 4.0 หรือ Thailand 0.4 กันครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น